กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

เครื่องสีข้าวสำเร็จรูปพร้อมใช้งาน

Instant rice mill machine

@คณะบริหารธุรกิจ

#Cluster 2024
#Digital Technology
เครื่องสีข้าวสำเร็จรูปพร้อมใช้งาน

รายละเอียด

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการปลูกข้าวเป็นเวลานานและเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ปลูกข้าวรายใหญ่และเป็นหนึ่งในผู้
ส่งออกข้าวอันดับต้นๆของโลก จากการศึกษาความต้องการของเกษตรกรระบุว่าเครื่องสีข้าวควรมีคุณสมบัติพิเศษเช่นขนาดเล็ก
และราคาไม่แพง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยผสมระหว่างเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและผลิตเครื่องสี
ข้าวส าเร็จรูปพร้อมใช้งาน เพื่อทดลองใช้เครื่องสีข้าวส าเร็จรูปพร้อมใช้งาน และราคาถูกส าหรับลูกค้า และเพื่อส ารวจความพึง
พอใจของลูกค้าทีมีต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7 P’s ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จ านวน 400 ราย เครื่องมือที่ใช้
ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และ แบบสอบถาม ที่ผ่านการ ประเมินคุณภาพด้านค่าความตรง และ ค่าความเชื่อมั่น จาก
ผู้ทรงคุณวุฒิ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง และ โดยวิศวกร สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แต่สถิติเชิงพรรณา ประกอบด้วยการแจง
ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบได้แก่ การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย t-test 
และ F-test การวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ของปัจจัยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่มีผล
ต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาด 8p’s 
 ผลการวิจัยพบว่า 1) เครื่องสีข้าวส าเร็จรูปพร้อมใช้งาน ส าหรับลูกค้าที่ผลิตขึ้น ประกอบด้วยการค านึงถึง นวัตกรรม 
4 ด้านได้แก่ ด้านโครงสร้างของผลิตภัณฑ์ ด้านการใช้งานของผลิตภัณฑ์ ด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และ ด้านคุณค่าของ
ผลิตภัณฑ์ 2) ผลการทดลองใช้ ข้าวที่ใช้ทดลองได้แก่ ข้าวพันธุ์เหลืองปะทิว และข้าวพันธุ์ดอกขาม จังหวัดชุมพร พบว่า เครื่อง
สีข้าวส าเร็จรูปพร้อมใช้งาน มีขนาดความกว้าง 20 เซ็นติเมตร ความยาว 50 เซ็นติเมตร และความสูง 27 เซ็นติเมตร มีลักษณะ
และส่วนประกอบ 15 ชิ้นส่วน ได้แก่ 1)โครงเครื่อง ฮอปเปอร์ใส่ข้าวเปลือก 2) ฮอปเปอร์ใส่ข้าวเปลือก 3) แผ่นกั้นปิด-เปิดช่อง
ข้าวเปลือก 4) ก้านดึงปิด-เปิดช่องข้าวเปลือก 5) ช่องทางออกร ากับแกลบ 6) ช่องทางออกข้าว 7) ตัวปรับความขาวข้าว 8) 
มอเตอร์ 24 โวลต์9) คัปปลิ้งยาง 10) ชุดปรับความเร็วรอบ 11) ถาดรองรับร ากับแกลบ 12) ถาดรองรับข้าว 13) ฝาปิดคอป
เปอร์ใส่ข้าวเปลือก 14) สวิตช์ปิด-เปิดเครื่อง และ 15) เคสปิดตัวโครงเครื่อง ผลการทดสอบทางสถิติดังนี้ (1) ทดสอบข้าวพันธุ์
เหลืองปะทิว ความเร็วรอบสกรูขัดขาวข้าว 3500 rpm, ความชื้นของข้าวเปลือก 12.33%, ข้าวเต็มเม็ด 70%, ข้าวหัก 30%, 
ความสามารถในการท างาน 26 kg/hr, และค่าไฟฟ้า 1.65 baht/hr (2) ทดสอบข้าวพันธุ์ดอกขาม ความเร็วรอบสกรูขัดขาว
ข้าว 3500 rpm, ความชื้นของ_3)ค่าใช้จ่ายในการสร้างเครื่องสีข้าว 15,000 baht จุดคุ้มทุนอยู่ที่ 3,583 กิโลกรัมต่อปีและ
สามารถคืนทุนได้ในเวลา 7 เดือน และ 3) ผลการส ารวจความพึงพอใจของลูกค้า พบว่า ลูกค้ามีความพึงพอใจในระดับมาก 
และ 4) ผลการทดสอบสมุติฐานพบว่าเครื่องสีข้าวส าเร็จรูปพร้อมใช้งานที่สร้างขึ้นโดยค านึงถึงองค์ประกอบทั้ง 4ด้าน ได้แก่ด้าน
โครงสร้างของผลิตภัณฑ์ ด้านการใช้งานของผลิตภัณฑ์ ด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และ ด้านคุณค่าของผลิตภัณฑ์ ส่งผลต่อ 
ความพึงพอใจของลูกค้าใน ในด้านปัจจัยส่วนประสมการตลาด 7 p’s อย่างมีนัยสำคัญ 

วัตถุประสงค์

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการปลูกข้าวเป็นเวลานานและเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ปลูกข้าวรายใหญ่และ
เป็นหนึ่งในผู้ส่งออกข้าวอันดับต้นๆของโลก จากการศึกษาความต้องการของเกษตรกรระบุว่าเครื่องโรงสีข้าว
ควรมีคุณสมบัติพิเศษเช่น ขนาดเล็กใช้มือถือและราคาไม่แพง ความอ่อนแอของเครื่องสีข้าวเคลื่อนที่เป็นที่เห็น
ได้ทั่วไปคือข้าวที่มากับข้าวปลายและข้าวหัก การผลิตจะได้รับข้าวน้อยกว่าโรงงานใหญ่ โรงสีขนาดใหญ่ใช้หิน
แข็งขนาดเล็ก ในขณะที่โรงงานขนาดเล็กมักใช้โลหะทรงกระบอก 6 ด้าน
 ปัจจุบันเกษตรกรต้องจ่ายราคาข้าวเปลือกให้มีราคาแพงมาก ปัจจุบันราคา 20 บาทต่อกิโลกรัม 
จากนั้นเกษตรกรมีความต้องการเครื่องโรงสีข้าวที่เรียกว่าโรงงานครัวเรือน ราคาไม่ควรเกิน 16,000 บาท หากมี
การจัดตั้งโรงสีข้าวในชุมชนต้องใช้เงินอย่างน้อย 200,000 บาท จำเป็นต้องมีโรงสีข้าวเพื่อใช้ในครัวเรือน จาก
การสัมภาษณ์ (Sawmong, 2016) ความต้องการของเกษตรกร เครื่องโรงสีข้าวนี้ควรมีคุณสมบัติพิเศษเช่นมี
ช่องเก็บข้าวร าสามช่องแยกกัน ความอ่อนแอของเครื่องข้าวเคลื่อนที่เป็นที่เห็นได้ทั่วไปคือข้าวที่มากับข้าวปลาย
และข้าวหัก การผลิตจะได้รับข้าวน้อยกว่าโรงงานใหญ่ โรงสีขนาดใหญ่ใช้หินแข็งขนาดเล็ก ในขณะที่โรงงาน
ขนาดเล็กมักใช้โลหะทรงกระบอก 6 ด้าน
 จังหวัดชุมพรภูมิประเทศเหมาะส าหรับปลูกข้าวหลายชนิดและข้าวอินทรีย์เช่น ข้าวพันธุ์เหลืองปะทิว
และข้าวไร่พันธุ์ดอกขาม จังหวัดชุมพร โดยมีพื้นที่ปลูกข้าว ซึ่งมีเนื้อที่มากกว่า 3,413 ไร่ (ส านักงานเศรษฐกิจ
การเกษตร 2562) ดังนั้นจึงมีความต้องการขนาดใหญ่ส าหรับโรงสีข้าว ด้วยเหตุนี้งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาเครื่องสีข้าวเคลื่อนที่ ขนาดเล็ก และมีราคาที่เกษตรกรสามารถซื้อเพื่อใช้ในครัวเรือนและเพื่อการค้า
ในบางโอกาส เครื่องสีข้าวที่ได้จากการผลิต จะเป็นนวัตกรรมที่มุ่งเน้น นวัตกรรม 4 ด้านได้แก่ การใช้งาน 
โครงสร้าง คุณค่า และ ด้านคุณภาพ (Armstrong, 2018) 
 นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องสีข้าวส าเร็จรูปพร้อมใช้งานส าหรับชาวนาเกษตรอินทรีย์ ชึ่งได้รับการ
ทดสอบเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของการผลิตข้าว ตัวอย่างเช่นเปอร์เซ็นต์ของข้าวหักสิ่งสกปรกที่เกิดจาก
กระแสไฟฟ้าและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการตลาดของธุรกิจและตอบสนองความต้องการของ
ผู้บริโภคในด้านความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาด7P’s (Kotler and Keller 2012) ซึ่งประกอบด้วย 
ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ราคา (Price) การส่งเสรืมการตลาด (Promotion) ช่องทางการจัดจ าหน่าย 
(Place) พนักงาน (People) กระบวนการ(Process) สิ่งบ่งชี้ทางกายภาพ (Phiysical evident)
 ดังนั้นผู้วิจัยจึงคิดค้นและมีแนวความคิดที่จะผลิตเครื่องสีข้าวส าเร็จรูปพร้อมใช้งานจึงเป็นทางเลือก
หนึ่งของเกษตรกรและผู้รักสุขภาพที่จะช่วยในการแปรรูปข้าวเปลือกมาเป็นข้าวสารที่หุงรับประทานเองในบ้าน 
จะได้ข้าวที่มีสารอาหารครบถ้วน ปราศจากสารเคมี ในปัจจุบันเครื่องสีข้าวส าเร็จรูปพร้อมใช้งานในประเทศไทย
ยังไม่ค่อยแพร่หลายมากนัก ส่วนมากจะเป็นเครื่องสีข้าวที่มีขนาดใหญ่และมีเสียงดัง ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้
ด าเนินการออกแบบและสร้างเครื่องสีข้าวส าเร็จรูปพร้อมใช้งาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการท างาน สีข้าว
ได้อย่างรวดเร็ว เหมือนเครื่องทำกาแฟในบ้านที่มีขนาดเล็ก จัดเก็บง่าย

ผู้จัดทำ

สุดาพร สาวม่วง

#อาจารย์

สมาชิก

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด