กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

การวิเคราะห์ระดับการสั่นสะเทือนพื้นหลังเพื่อลดสัญญาณรบกวนของระบบการสอบเทียบและการเลือกที่ตั้งสำหรับการติดตั้งเครื่องวัดแผ่นดินไหว: กรณีศึกษาที่สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ(คลอง5, ปทุมธานี)

The analysis of seismic background noise level for noise reduction of calibration system and site selection for seismometer installation: A case study at the National Institute of Metrology (Klong 5, Pathum Thani)

@วิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต

#KLLC 2024
#Industry 4.0
การวิเคราะห์ระดับการสั่นสะเทือนพื้นหลังเพื่อลดสัญญาณรบกวนของระบบการสอบเทียบและการเลือกที่ตั้งสำหรับการติดตั้งเครื่องวัดแผ่นดินไหว: กรณีศึกษาที่สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ(คลอง5, ปทุมธานี)

รายละเอียด

      การเลือกสถานที่ที่เหมาะสมในการติดตั้งเครือข่ายแผ่นดินไหว พิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ประกอบด้วยลักษณะภูมิประเทศ ความสามารถในการระบุตำแหน่งเหตุการณ์ รวมถึงการพิจารณาผลกระทบจากสัญญาณรบกวนต่อการสอบเทียบ ซึ่งปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการเลือกสถานที่เพื่อติดตั้งเครือข่ายแผ่นดินไหว คือ 
      ประการแรกลักษณะภูมิประเทศ การพิจารณาลักษณะทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ ลักษณะของพื้นดิน เพื่อประมาณความเสี่ยงของแผ่นดินไหวและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการทำงานของเครือข่าย 
      ประการที่สองความสามารถในระบุตำแหน่งเหตุการณ์การประเมินความสามารถของเครือข่ายในการระบุตำแหน่งของแผ่นดินไหวอย่างแม่นยำในพื้นที่นั้น ซึ่งอาจจะขึ้นอยู่กับพื้นที่ต่าง ๆ 
      ประการที่สามผลกระทบจากสัญญาณรบกวนต่อการสอบเทียบ การพิจารณาผลกระทบจากสัญญาณรบกวนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ เช่น สัญญาณรบกวนจากแผ่นดินไหว หรือสัญญาณรบกวนที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของเครือข่าย
     ในการเลือกสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งเครือข่ายแผ่นดินไหว ควรพิจารณาปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวถึงข้างต้นเพื่อให้การตรวจจับและบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวมีประสิทธิภาพสูงสุดและมีความแม่นยำที่สูงในพื้นที่ที่ต้องการ โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและการทำความเข้าใจลึกซึ้งเกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศและสภาพแวดล้อมในพื้นที่นั้นๆ และการประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากสัญญาณรบกวนต่าง ๆ ในการเลือกที่ตั้งสถานที่การติดตั้งเครื่องวัดแผ่นดินไหว

วัตถุประสงค์

    แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติเกิดการสั่นสะเทือนหรือการเขย่าของพื้นผิวโลก เนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความร้อน ที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่างฉับพลัน เพื่อปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว ส่วนใหญ่จะอยู่ตรงบริเวณ ขอบของแผ่นเปลือกโลก แนวรอยเลื่อนต่าง ๆ โดยแผ่นดินไหว ก่อให้เกิดความเสียหายและภัยพิบัติต่อบ้านเมือง สิ่งมีชีวิต แต่สามารถเกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้ ซึ้งความรุงแรงอาจจะเกินน้อยกว่าปรากฏการณ์ธรรมชาติ
	การสอบเทียบเครื่องมือวัดเป็นกระบวนการที่ทำขึ้น เพื่อตรวจสอบและประเมินความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของเครื่องมือวัด โดยเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้จากเครื่องมือที่ต้องการสอบเทียบกับเครื่องมาตรฐานหรือมาตรวัดที่มีความแม่นยำและน่าเชื่อถือตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ เพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องมือที่ใช้ในการวัดมีความแม่นยำและเชื่อถือได้ในการใช้งาน 
หลักของการสอบเทียบเครื่องมือวัดมักเป็นการค้นหาค่าความคลาดเคลื่อนของเครื่องมือวัดเมื่อเทียบกับมาตรฐาน ซึ่งการสอบเทียบสามารถทำได้โดยใช้เครื่องมาตรฐานที่ผ่านการสอบเทียบแล้วเป็นที่ยอมรับ โดยมักใช้เครื่องมาตรฐานที่มีความแม่นยำสูงเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำสูงที่สุด
    การเลือกที่ตั้งสำหรับเครื่องวัดแผ่นดินไหนมีความสำคัญในการตรวจจับแผ่นดินไหวและบันทึกรูปคลื่นเหตุการณ์ โดยควรคำนึงถึงลักษณะสัญญาณ เพื่อลดสัญญาณรบกวนจากการบันทึกข้อมูล การเลือกที่ตั้งนี้ มีผลต่อประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่ใช้ และการรวบรวมข้อมูล ควรสำรวจบริเวณใกล้เคียงเพื่อหาแหล่งกำเนิดเสียงแผ่นดินไหวที่ลดสัญญาณรบกวน การเลือกสถานีควรพิจารณาลักษณะทางกายภาพของพื้นที่เพื่อให้ตรงตามเกณฑ์ที่ต้องการ เมื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์สามารถตัดสินใจได้โดยมีข้อมูลรอบด้าน  
    เป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ การวิเคราะห์ระดับการสั่นสะเทือนพื้นหลังเพื่อลดสัญญาณรบกวนของระบบการสอบเทียบและการเลือกที่ตั้งเครื่องวัดแผ่นดินไหวอย่างแม่นยำ ดังนั้น การเลือกที่ตั้งที่ดีสำหรับการตรวจสอบแผ่นดินไหวจึงเป็นสิ่งสำคัญ
ซึ่งการวิจัยมุ่งเน้นไปที่สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ตั้งอยู่ ณ คลอง 5 ปทุมธานี ผลลัพธ์จะช่วยปรับปรุงความแม่นยําและความน่าเชื่อถือของการวัดการสอบเทียบ อีกทั้งการเลือกสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งเครื่องวัดแผ่นดินไหวที่สามารถแจ้งเตือนคลื่นสั่นสะเทือนได้แม่นยำของสัญญาณหลังจากติดตั้งในอนาคต

ผู้จัดทำ

ภานุวัฒน์ แก้วพวง
PANUWAT KAEWPUANG

#นักศึกษา

สมาชิก
ภัครมัย พุ่มศิริ
PAKKARAMAI PHUMSIRI

#นักศึกษา

สมาชิก
สรศักดิ์ ด่านวรพงศ์
Sorasak Danworaphong

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษา

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด