Back
The analysis of seismic background noise level for noise reduction of calibration system and site selection for seismometer installation: A case study at the National Institute of Metrology (Klong 5, Pathum Thani)
การวิเคราะห์ระดับการสั่นสะเทือนพื้นหลังเพื่อลดสัญญาณรบกวนของระบบการสอบเทียบและการเลือกที่ตั้งสำหรับการติดตั้งเครื่องวัดแผ่นดินไหว: กรณีศึกษาที่สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ(คลอง5, ปทุมธานี)
@วิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต
#KLLC 2024
#Industry 4.0
Details
Selecting a suitable location for installing a seismic network involves considering various factors, including geographical features, the network's ability to locate events accurately, and the impact of interference signals on calibration. The most important factors in selecting a location for installing a seismic network are: Geographical features: This involves considering the geographical characteristics of the area, such as the terrain and soil conditions, to assess the seismic risk and environmental conditions that affect network operation. Ability to locate events: Evaluating the network's ability to accurately locate earthquakes in that area, which may depend on various factors. Impact of interference signals: Considering the impact of various interference signals in the area, such as signals from earthquakes or human-made interference, which may affect the network's performance. When selecting a suitable location for installing a seismic network, all of the above factors should be considered to ensure that earthquake detection and recording are efficient and accurate in the desired area. This involves using appropriate technology and a deep understanding of that area's geographical features and environmental conditions, as well as assessing the risks posed by various interference signals in selecting the installation location for seismic measuring instruments.
Objective
แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติเกิดการสั่นสะเทือนหรือการเขย่าของพื้นผิวโลก เนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความร้อน ที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่างฉับพลัน เพื่อปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว ส่วนใหญ่จะอยู่ตรงบริเวณ ขอบของแผ่นเปลือกโลก แนวรอยเลื่อนต่าง ๆ โดยแผ่นดินไหว ก่อให้เกิดความเสียหายและภัยพิบัติต่อบ้านเมือง สิ่งมีชีวิต แต่สามารถเกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้ ซึ้งความรุงแรงอาจจะเกินน้อยกว่าปรากฏการณ์ธรรมชาติ การสอบเทียบเครื่องมือวัดเป็นกระบวนการที่ทำขึ้น เพื่อตรวจสอบและประเมินความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของเครื่องมือวัด โดยเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้จากเครื่องมือที่ต้องการสอบเทียบกับเครื่องมาตรฐานหรือมาตรวัดที่มีความแม่นยำและน่าเชื่อถือตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ เพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องมือที่ใช้ในการวัดมีความแม่นยำและเชื่อถือได้ในการใช้งาน หลักของการสอบเทียบเครื่องมือวัดมักเป็นการค้นหาค่าความคลาดเคลื่อนของเครื่องมือวัดเมื่อเทียบกับมาตรฐาน ซึ่งการสอบเทียบสามารถทำได้โดยใช้เครื่องมาตรฐานที่ผ่านการสอบเทียบแล้วเป็นที่ยอมรับ โดยมักใช้เครื่องมาตรฐานที่มีความแม่นยำสูงเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำสูงที่สุด การเลือกที่ตั้งสำหรับเครื่องวัดแผ่นดินไหนมีความสำคัญในการตรวจจับแผ่นดินไหวและบันทึกรูปคลื่นเหตุการณ์ โดยควรคำนึงถึงลักษณะสัญญาณ เพื่อลดสัญญาณรบกวนจากการบันทึกข้อมูล การเลือกที่ตั้งนี้ มีผลต่อประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่ใช้ และการรวบรวมข้อมูล ควรสำรวจบริเวณใกล้เคียงเพื่อหาแหล่งกำเนิดเสียงแผ่นดินไหวที่ลดสัญญาณรบกวน การเลือกสถานีควรพิจารณาลักษณะทางกายภาพของพื้นที่เพื่อให้ตรงตามเกณฑ์ที่ต้องการ เมื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์สามารถตัดสินใจได้โดยมีข้อมูลรอบด้าน เป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ การวิเคราะห์ระดับการสั่นสะเทือนพื้นหลังเพื่อลดสัญญาณรบกวนของระบบการสอบเทียบและการเลือกที่ตั้งเครื่องวัดแผ่นดินไหวอย่างแม่นยำ ดังนั้น การเลือกที่ตั้งที่ดีสำหรับการตรวจสอบแผ่นดินไหวจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งการวิจัยมุ่งเน้นไปที่สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ตั้งอยู่ ณ คลอง 5 ปทุมธานี ผลลัพธ์จะช่วยปรับปรุงความแม่นยําและความน่าเชื่อถือของการวัดการสอบเทียบ อีกทั้งการเลือกสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งเครื่องวัดแผ่นดินไหวที่สามารถแจ้งเตือนคลื่นสั่นสะเทือนได้แม่นยำของสัญญาณหลังจากติดตั้งในอนาคต
Project Members
ภานุวัฒน์ แก้วพวง
PANUWAT KAEWPUANG
#นักศึกษา
Member
ภัครมัย พุ่มศิริ
PAKKARAMAI PHUMSIRI
#นักศึกษา
Member
สรศักดิ์ ด่านวรพงศ์
Sorasak Danworaphong
#อาจารย์
Advisor
Vote for this Innovation!
Loading...
Powered By KMITL Innovation Project