Back
Study of viability of microorganisms through spray dry and storage process
การศึกษาอัตราการรอดชีวิตของเชื้อจุลินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการ Spray dry และการเก็บรักษา
@คณะอุตสาหกรรมอาหาร
#KLLC 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
Details
Study on the survival rate of microorganisms in the spray drying and storage process in order to develop the production of microbial powders that have a high survival rate even through spray drying and study the application of microbial powders from test in further developing food products The microorganisms used include Lactobacillus plantarum and Bacillus subtilis
Objective
การทำแห้งแบบพ่นฝอย (Spray dry) เป็นหนึ่งในเทคนิคที่ต้องการมากที่สุดในการเตรียมไมโครแคปซูลแบบผงในอุสาหกรรมอาหาร เนื่องจากมีขั้นตอนการทำงานที่ง่าย และสะดวก ต้นทุนต่ำ และประสิทธิภาพสูง ทำให้ผงเป็นรูปแบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับจุลินทรีย์มากกว่ารูปแบบของของเหลวในไมโครแคปซูล อย่างไรก็ตามจุลินทรีย์อาจต้องเผชิญกับความเครียดจากอุณหภูมิสูง และการขาดน้ำในระหว่างกระบวนการทำแห้ง ซึ่งอาจทำลายโครงสร้างเซลล์ของจุลินทรีย์ เช่น เยื่อหุ้มเซลล์ และไรโบโซม ซึ่งท้ายที่สุดก็ทำให้จุลินทรีย์ตาย ในปัจจุบันมีการใช้โมเลกุลขนาดใหญ่ทางชีวภาพเกรดอาหารถูกนำมาใช้เพื่อปกป้องเซลล์จุลินทรีย์ เพื่อปรับปรุงความมีชีวิตในระหว่างการแปรรูป โพลีแซ็กคาไรด์ และโปรตีนกลายเป็นวัสดุผลัง 2 ชนิดที่ใช้กันทั่วไป ในการห่อหุ้มจุลินทรีย์ เนื่องจากมีความหนืดต่ำ คุณสมบัติในการสร้างฟิล์มที่ดี และรักษาเสถียรภาพของสารทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว และการดูดความชื้น เป็น 2 ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้จุลินทรีย์ในไมโครแคปซูลแห้งแบบพ่นฝอยมีความมีชีวิตต่ำในการเก็บรักษา ในอุตสาหกรรมอาหารมีหลายชนิดของจุลินทรีย์ที่มีบทบาทสำคัญในการผลิตอาหาร ซึ่งบางครั้งอาจมีการใช้จุลินทรีย์เพื่อปรับปรุงคุณภาพของอาหารด้วยการหมักระหว่างกระบวนการผลิต นอกจากนี้ยังมีการใช้จุลินทรีย์เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตอาหาร จากความสำคัญของจุลินทรีย์ต่ออุตสาหกรรมอาหารที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นกลุ่มของข้าพเจ้าจึงมีความสนใจในการทำปัญหาพิเศษในเรื่องอัตราการรอดชีวิตของเชื้อจุลินทรีย์ในขั้นตอนการ spray dry ที่ใช้เทคนิคการ Encapsulation เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการอยู่รอดของจุลินทรีย์ โดยการนำเทคนิค Complex coacervates มาปรับใช้ และการเก็บรักษาเพื่อเป็นการพัฒนาการทำผงเชื้อจุลินทรีย์ที่มีอัตราการอยู่รอดที่สูงแม้ผ่านการ spray dry ไปแล้วก็ตาม และจะศึกษาการประยุกต์ใช้ผงจุลินทรีย์ได้จากการทดลอง ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารต่อไป โดยเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ได้แก่ Lactobacillus plantarum และ Bacillus subtilis โดย Bacillus subtilis เป็น แบคทีเรียแกรมบวกรูปแท่งที่สามารถผลิตสปอร์ที่ทนต่อความร้อนได้และประโยชน์ของ Bacillus subtilis มีทั้งต่อมนุษย์ และต่อสัตว์ชนิดอื่นๆเช่น ทำอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำ และยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันและช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ทั้งต่อคน และสัตว์ จุลินทรีย์ตัวต่อมาคือ Lactobacillus plantarum มีลักษณะเป็นแบคทีเรียยแกรมบวกรูปร่างเป็นท่อนเดี่ยวต่อกันเป็นสายสั้นๆ และไม่สร้างสปอร์ โดยประโยชน์ของ Lactobacillus plantarum เช่นการหมักอาหาร ส่งเสริมกิจกรรมของสารต้านอนุมูลอิสระและยังสามารถผลิตสารที่ระงับการเติบโตของแบคทีเรียได้หลายชนิด
Project Members
บุณพจน์ ไตรรัตน์รุ่งเรือง
BOONNAPODJ TRIRATRUNGRUANG
#นักศึกษา
Member
ธนากร เวียงสมุทร
THANAKORN WIENGSAMUT
#นักศึกษา
Member
อุมาพร ฉัตรศรีสุวรรณ
Umarphorn Chadseesuwan
#อาจารย์
Advisor
Vote for this Innovation!
Loading...
Powered By KMITL Innovation Project