Back

INNOVATIVE ORTHOTIC FOR WALKING TRAINING OF THE ELDERLY

นวัตกรรมกายอุปกรณ์เครื่องพยุงฝึกเดินของกลุ่มผู้สูงอายุ

@วิทยาลัยการจัดการนวัตกรรมและอุตสาหกรรม

#Highlight 2024
#Healthcare and Wellness
นวัตกรรมกายอุปกรณ์เครื่องพยุงฝึกเดินของกลุ่มผู้สูงอายุ

Details

          The study examined the Intention to Adoption the Innovative Orthotic for Walking Training of the Elderly group in Kamphaeng Phet province. The purpose of this study was to 1) study the level of characteristic factor of innovation perceived to use 2) the satisfaction with the use of innovation affecting the Intention to Adoption the Innovative Orthotic for Walking Training and to analyze the relationship between the characteristic factors of perceived innovation to use 3) the satisfaction with the use of innovation affecting the Intention to Adoption the Innovative Orthotic for Walking Training of the Elderly group in Kamphaeng Phet province. The sample consisted of 274 elderly people in Kamphaeng Phet Province who were at risk of falling. The research method used quantitative research model by using Multiple regression and correlation statistical analysis. 
          The study found that Newness factor, Economic Benefits and Knowledge and Creativity correlate with research hypotheses and correlate with innovation acceptance intention variables statistically significant at 0.01, while perceptual variables to usability only perceived ease of use are consistent with research hypotheses and correlated with innovation acceptance intention variables with statistical significance at 0.01. Access to services and user response were found to be consistent with research hypotheses and correlated with innovation acceptance intention variables statistically significant at a level of 0.01. The conclusion of this research is that the factors of modernity, value of using creativity, awareness of ease of use and satisfaction with use are all important to the willingness to accept the innovative Orthotic for walking training among the elderly in Kamphaeng Phet province, which may guide the development of innovative walking support devices for the elderly in the future.

Objective

       การพลัดตกหกล้มถือเป็นอุบัติการที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการศึกษาข้อมูลที่ผ่านมา พบว่า ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้มในปี พ.ศ. 2545 ประมาณ 391,000 คน และเพิ่มขึ้นเป็น 424,000 คน ในปี พ.ศ. 2555 (เฉลี่ยวันละ 1,160 คน) สำหรับประเทศไทยมีผู้สูงอายุเสียชีวิตกว่า 1,000 คน หรือเฉลี่ยวันละ 3 คน โดยเพศชายมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าเพศหญิงกว่า 3 เท่า ซึ่งความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มนั้นเพิ่มสูงขึ้นตามอายุ จากข้อมูลที่กล่าวมาพบว่า อัตราการเกิดอุบัติเหตุจากภาวะพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลต่ออาการบาดเจ็บต่อร่างกายโดยตรง รวมทั้งเพิ่มภาระต่อครอบครัวในการดูแลระยะยาว มีค่าใช้จ่ายสูง การป้องกันที่สำคัญ ได้แก่ การออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรง และช่วยการทรงตัว การประเมิน รวมทั้งแก้ไขปัจจัยเสี่ยงหลายๆปัจจัย โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติหกล้ม รวมถึงการประเมินและปรับสภาพแวดล้อมบ้านให้ปลอดภัย เป็นต้น เวชศาสตร์ฟื้นฟูเป็นหนึ่งในบริการด้านสุขภาพ เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยการตรวจประเมิน และวางแผนการการรักษาให้สุขภาพที่ดีขึ้น ป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเช่นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยทุพพลภาพโดยกำเนิด ผู้ป่วยที่ได้รับความบาดเจ็บจากการพลัดตกหกล้มผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อ-กระดูก และผู้ป่วยที่ผ่านการศัลยกรรมกระดูก (ชนาทิพย์ พลพิจิตร์, 2561) การฟื้นฟูสภาพร่างกายเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้ผู้บาดเจ็บฟื้นตัวได้เร็วและเต็มที่ที่สุดขั้นตอนแรกของโปรแกรมจะเน้นการเคลื่อนไหวร่างกายใช้การฝึกเดินด้วยอุปกรณ์แบบดั้งเดิมหรือราวคู่ และยังมีปัญหาบางอย่างที่ต้องแก้ไขในบางรายที่มีอาการทางระบบประสาทรุนแรงอาจทรงตัวไม่ได้เอง ซึ่งอาจจะต้องมีนักกายภาพบำบัดมากกว่าหนึ่งคนคอยช่วยเหลือเพื่อป้องกันการหกล้ม 
       จากปัญหาทั้งหมดที่กล่าวมาผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษา เพื่อพัฒนากายอุปกรณ์เครื่องพยุงฝึกเดินให้กับผู้ป่วย ที่มีปัญหาเรื่องการทรงตัว และการเดินที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้ม สามารถพยุงน้ำหนักได้บางส่วน ช่วยให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น เคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ เพื่อฟื้นฟูคืนความแข็งแรงหลังจากได้รับบาดเจ็บ ให้กลับมาเป็นปกติมากที่สุด สร้างความมั่นใจต่อการฝึกเดิน เมื่อเทียบกับการใช้เทคนิคทั่วไป เช่น การใช้ไม้เท้าสี่ขาช่วยเดิน (Walker) โดยการพัฒนากายอุปกรณ์เครื่องพยุงฝึกเดินสำหรับผู้ป่วยสำหรับผู้สูงอายุการเลือกใช้อุปกรณ์ที่สามารถช่วยในการพยุงรองรับน้ำหนัก มีความแข็งแรง เพิ่มประสิทธิภาพในการเดินของอาสาสมัคร และเกิดความพึงพอใจภายหลังจากการฝึกเดินระยะทางในการเดินที่ไกลกว่าเดิมความสามารถในการทรงตัวที่ดี ราคาต้นทุนต่ำ และสามารถเข้าถึงได้ง่าย อีกทั้งคุณภาพในการเดินมีแนวโน้มที่ดีขึ้นด้วยเช่นกัน ถือเป็น“ทางเลือกใหม่”ที่เข้ามาช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงอุปกรณ์ และการฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นการศึกษาเพื่อแพร่กระจายนวัตกรรมเครื่องพยุงฝึกเดิน ช่วยให้ผู้สูงอายุฝึกพัฒนาร่างกาย สามารถดำเนินกิจวัตรประจำวันเป็นไปในแนวทางที่ดีขึ้น เข้าถึงอุปกรณ์ให้มากที่สุด ทั้งนี้ความสามารถของโรงพยาบาลในการจัดซื้ออุปกรณ์ทางกายภาพแต่ละแห่งในปัจจุบันไม่เท่ากัน เนื่องจากอุปกรณ์ฟื้นฟูสมรรถภาพมีราคาแพงส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศ จึงได้มีการจัดทำกายอุปกรณ์เครื่องพยุงฝึกเดินตอบสนองความพึงพอใจของผู้ใช้งาน และพัฒนาปรับปรุงให้ได้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงอุปกรณ์เครื่องพยุงฝึกเดิน และเพิ่มคุณภาพการรักษาพยาบาลแก่ผู้สูงอายุมากขึ้น

Project Members

ชัยวัฒน์ พรหมเพชร

#อาจารย์

Member
นวพล ประสิทธิเมตต์
NAWAPOL PRASITTIMET

#นักศึกษา

Member
อำนวย แสงโนรี

#อาจารย์

Member
ทอแสงรัศมี ถีถะแก้ว

#อาจารย์

Member
สามารถ ดีพิจารณ์

#อาจารย์

Member

Vote for this Innovation!

Loading...