Back

Innovation Using of Using Plant Essential Oil Formulas for Controlling Chicken Ectoparasites in Farm Conditions

นวัตกรรมการใช้สูตรน้ำมันหอมระเหยจากพืช ในการป้องกันกำจัดปรสิตนอกของไก่ในสภาพฟาร์ม

@คณะเทคโนโลยีการเกษตร

#Cluster 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
นวัตกรรมการใช้สูตรน้ำมันหอมระเหยจากพืช ในการป้องกันกำจัดปรสิตนอกของไก่ในสภาพฟาร์ม

Details

The effectiveness of plant essential oil formulations (PEFs) against chicken ectoparasites (CEs) in farm conditions was evaluated in this research. The research aimed 1) to study the pesticide properties of PEFs against CEs 2) to study the effect of using PEFs to control CEs on the egg quality, hematology of chickens, and egg laying, and 3) to develop PEFs to control CEs that are suitable for chicken farm conditions. The prevalence survey of CEs in chicken farms was conducted in eastern area of Bangkok. Nanoemulsion-based plant essential oil formulations (NEOFs) obtained from clove, cinnamon and turmeric essential oils (EOs) were prepared. Pesticide activities of NEOFs were tested in laboratory and farm conditions, and also the effect of these NEOFs in controlling CEs was evaluated, including factors such as the hematology of chickens, egg quality and egg laying.  From a survey on the prevalence of CEs, it was found that Megninia cubitalis was present in hair and skin at 77.08% and 66.66%, respectively, and Menopon gallinae at 60.41% and 64.58%, respectively. The results of this research found that the NEOF-1 and NEOF-2 (the mixture of clove : cinnamon : clove EOs was 4:0:0 and 2:2:0, respectively) at 1% in water exhibited form of particle size of 20 nm. These NEOFs demonstrated complete effectiveness in killing CEs (M. gallinae and M. ginglymura) within 3 h in the laboratory. For the use of these NEOFs at 0.25% to control CEs in farm conditions, it was found there was a reduction of CEs by more than 80% after the first application, and by 95% after the second application. Studies were conducted on the effect of using the NEOFs to eliminate ECs in chicken farm conditions on egg production, hematological values, and pesticide residues in chicken eggs. The results indicated that the egg production performance of the NEOFs groups was not different from the chemical group, but performance was higher in the untested group. The hematology of chickens was not different from the all-testing group. However, chicken egg from the chemical group still show more than 0.15 ppm of cypermethrin pesticide in the 8th week after the test. The efficacy of using the NEOFs against ECs in beautiful chickens was studied. The results showed that the NEOFs were also effective in the prevention and elimination of ECs in beautiful chickens, which could be achieved within 7 days after the test. The beautiful chicken farmers who participated in the project reported the highest level of product satisfaction.

Objective

ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่มีสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมต่างๆ เหมาะสมกับการเลี้ยงไก่เป็นสัตว์เศรษฐกิจ มีรายงานว่าในปี 2561 มีการผลผลิตไก่เนื้อมากกว่า 1,500 ล้านตัว ขณะที่ผลผลิตไข่ไก่มากกว่า 14 พันล้านฟอง ซึ่งการผลิตไก่เนื้อและไก่ไข่มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี (กองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร 1, 2561; กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, 2562) ปัจจุบันได้มีการพัฒนาการเลี้ยงเป็นระบบอุตสาหกรรม เพื่อใช้บริโภคในประเทศและส่งออกนำรายได้เป็นจำนวนมากในแต่ละปี การเลี้ยงไก่ในประเทศไทย มี 2 ระบบใหญ่ๆ คือ ระบบอุตสาหกรรม เป็นการเลี้ยงจำนวนมากในแต่ละฟาร์ม และระบบการเลี้ยงไก่ในชนบท เป็นการเลี้ยงไก่พื้นเมืองรายย่อย หรือการเลี้ยงแบบหลังบ้าน เป็นการเลี้ยงเพื่อบริโภคภายในครัวเรือนหรือเป็นรายได้เสริม นอกจากนั้นในปัจจุบันเกษตรกรยังหันมานิยมเลี้ยงไก่สวยงามมากขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากมีความต้องการของตลาดสูง สามารถสร้างรายได้ต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท (ธเนตร, 2560) ซึ่งปัจจุบันสาเหตุสำคัญของการเลี้ยงที่ทำให้ไก่ตายคราวละมากๆ มักเกิดจากโรคระบาดชนิดต่างๆ เช่นโรคนิวคาสเซิล โรคหลอดลมอักเสบ โรคหวัดหน้าบวม โรคอหิวาต์สัตว์ปีก และไข้หวัดนก เป็นต้น การป้องกันโรคระบาดดังกล่าวนี้โดยการใช้วัคซีน ซึ่งปัญหาในการเลี้ยงสัตว์ปีกนอกจากการระบาดของโรคแล้วนั้นยังพบการระบาดของพยาธิภายนอกหรือปรสิตภายนอก (Ectoparasite) ได้แก่ ไร (mite) และเหา (louse) ซึ่งปรสิตภายนอกที่ระบาดมากในการเลี้ยงสัตว์ไก่ จะกินอาหารผ่านผิวหนังของไก่ เช่น การดูดเลือดและการกัดกินเศษผิวหนัง สร้างความรําคาญทั้งกลางวันและกลางคืน ไก่ไม่มีความสุข สุขภาพไก่อ่อนแอ ซูบผอมลง โลหิตจาง  ไข่ลดลง โตช้า และความต้านทานโรคลดลง ถ้ามีประชากรของปรสิตเหล่านี้เป็นจำนวนมากจะส่งผลให้ผลผลิตลดลง เช่น การให้ไข่ การเจริญเติบโต และประสิทธิภาพการกินอาหาร และอาจทำให้ไก่ตายได้ (ประภากร, 2560ก,ข) การระบาดของปรสิตเหล่านี้ส่งผลกระทบรุนแรงต่อผู้เพาะเลี้ยงอย่างมากต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการดูแลสูง ไก่ไม่ได้คุณภาพ ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดและผู้บริโภค ทำให้ผู้เพาะเลี้ยงไก่ขาดทุน ต้องเลิกกิจการเป็นต้น ซึ่งในการกำจัดปรสิตภายนอกไก่นั้น ผู้เลี้ยงไก่ในประเทศไทยมักจะใช้สารกำจัดแมลงคือ ในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต คาร์บาเมต และไพริทรอยด์ ในการกำจัดปรสิตเหล่านี้โดยการฉีดพ่นลงบนตัวไก่หรือนำไก่มาจุ่มลงในน้ำยา (ประภากร, 2560ก,ข; ถนอมจิตร, 2530) ปัจจุบันมีรายงานการใช้สารกำจัดแมลงในกลุ่ม ออร์กาโนฟอสเฟต คาร์บาเมต สไปโนซิน และไพริทรอยด์ ในการกำจัดเหาและไรในสัตว์ปีก เช่นกัน (Diki et al., 2017; College of Agriculture, Food and Environment, University of Kentucky, 2017) ซึ่งการใช้สารฆ่าแมลงจะส่งผลให้เกิดอาจปนเปื้อนและมีฤทธิ์ตกค้างในเนื้อไก่ได้และมีโอกาสเกิดการสะสมในร่างกายของผู้บริโภค (Aulakh et al., 2006) ทำให้เสี่ยงต่อ การเกิดมะเร็งลำไส้ มะเร็งไต และมะเร็งตับได้ (กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2552) นอกจากนั้นยังส่งผลให้ปรสิตเหล่านั้นเกิดความต้านทานต่อสารกำจัดแมลงได้ (Kristensen et al., 2006)  การใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรในการป้องกันกำจัดปรสิตภายนอกของสัตว์ปีกจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในปัจจุบัน มีรายงานมากมายถึงประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชสมุนไพรในการป้องกันกำจัดแมลงและไร เช่น น้ำมันหอมระเหยจากกานพลู อบเชย ขมิ้นชัน จันทน์แปดกลีบ พริกไทยดำ ตะไคร้บ้าน และตะไคร้หอม เป็นต้น (Pumnuan et al., 2008; Pumnuan et al., 2011, 2016; Benelli et al., 2012) และมีรายงานอีกหลายฉบับที่สนับสนุนว่าพืชสมุนไพรมีศักยภาพในการป้องกันกำจัดปรสิตภายนอกของไก้ได้ (Salifou et al., 2013; Lagu and Kayanja, 2010) ซึ่งการใช้สารสกัดจากพืชนอกจากจะสามารถป้องกันกำจัดแมลงและไรได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังไม่มีสารพิษตกค้างในเนื้อสัตว์สัตว์ปีกอีกด้วย จากรายงาน Pumnuan et al. (2020) พบว่า น้ำมันหอมระเหยจากกานพลูมีคุณสมบัติในการฆ่าเหาไก่ (Lipeurus caponis L.) สูงสุด ในสภาพห้องปฏิบัติการ สามารถกำจัดเหาไก่ได้อย่างสมบูรณ์ (100%) ภายใน 4 ชั่วโมง เมื่อสัมผัสกับน้ำมันหอมระเหยจากกานพลู รองลงมาคือน้ำมันหอมระเหยจากอบเชยและขมิ้นชัน ตามลำดับ ซึ่งสามารถนำน้ำมันหอมระเหยจากกานพลู อบเชย และขมิ้นชัน ไปใช้เป็นสารป้องกันกำจัดปรสิตภายนอกของการเลี้ยงสัตว์ปีกในสภาพฟาร์มได้ การเสนอหัวข้องานวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพของการใช้สูตรน้ำมันหอมระเหยจากกานพลู อบเชย และขมิ้นชัน ที่มีรายงานว่ามีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดปรสิตภายนอกของไก่ได้ดี ในการป้องกันกำจัดปรสิตภายนอกของไก่ในสภาพฟาร์มไก่ไข่ โดยวิธีการจุ่มตัวไก่ลงในสารทดสอบและวิธีการฉีดพ่นโดยตรงบนตัวไก่ ก่อนนำไปเลี้ยงแบบขังกรงและเลี้ยงแบบปล่อย (ไก่อารมณ์ดี) โดยศึกษาเปรียบเทียบกับการใช้สารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัด ทั้งนี้จะคำนึงถึงประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดปรสิตภายนอก (เหาไก่ และ ไรไก่) รวมทั้งการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนปรสิตกับค่าทางโลหิตของไก่ และคุณภาพของไข่ไก่และการออกไข่ของไก่ นอกจากนี้ยังมีการนำสูตรตำรับไปทดลองใช้ไก่สวยงามอีกด้วย เพื่อสามารถนำไปใช้ได้จริงของเกษตรกรเพาะเลี้ยงไก่ต่อไป จึงต้องการการสนับสนุนงบประมาณในการวิจัย เพื่อทำให้เกิดนวัตกรรมการป้องกันกำจัดปรสิตภายนอกของไก่โดยใช้สูตรสมุนพรจากพืช และยกระดับคุณภาพของไข่ไก่ให้สูงขึ้น และสามารถยื่นขอจดสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรในส่วนของกรรมวิธีการการใช้หรือสูตรตำรับได้

Project Members

จรงค์ศักดิ์ พุมนวน
Jarongsak Pumnuan

#อาจารย์

Member

Vote for this Innovation!

Loading...