Back

Industrial IoT Edge Computing Platform for Real-time Monitoring

แพลตฟอร์มการประมวลผลแบบ EDGE เพื่องานไอโอทีแบบอุตสาหกรรมสำหรับการมอนิเตอร์แบบเรียลไทม์

@คณะวิศวกรรมศาสตร์

#Cluster 2024
#Industry 4.0
แพลตฟอร์มการประมวลผลแบบ EDGE  เพื่องานไอโอทีแบบอุตสาหกรรมสำหรับการมอนิเตอร์แบบเรียลไทม์

Details

This research’s goal is to develop an industrial IoT edge computing platform for Industrial IoT 4.0 that are currently in the process of transitioning from legacy systems to adopting IoT system. Due to connecting and collecting data from each machine part is still a problem of transition from the old system, this is the origin of this project.
The system consists of a Remote Terminal Unit (RTU) which collect data from machines with sensors and an Edge Computing Device used to collect data from RTUs via MQTT Protocol. The system also has an IoT platform that processes incoming data for storing in the database and displays on the Web Application in real time and in retrospect and can also alert to Line Notify according to the conditions predefined by the user.
Based on these benchmark tests, our edge computing device can concurrently handle RTU connections and data transmissions up to 800 connections.

Objective

ในปัจจุบันแนวคิดของอุตสาหกรรม 4.0 เริ่มมีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมทั้งขนาดใหญ่และขนาดย่อม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรมเพื่อเข้าสู่ยุคแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ซึ่งเป็นการบูรณาการการผลิตเข้ากับอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง หรือ “Industrial Internet of Things (IIoT)” ทำให้กระบวนการผลิตตลอดทั้งซัพพลายเชนเชื่อมต่อกันบนโลกดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
หนึ่งในเทคโนโลยีที่นิยมนำมาใช้กันก็คือการประมวลผลแบบคลาวด์ (Cloud Computing) เพราะว่ามีความสะดวกในการใช้งานอีกทั้งยังสามารถจัดเก็บข้อมูล ประมวลเชิงลึก และแสดงผลข้อมูลที่ต้องการออกมาได้ อย่างไรก็ตามการนำคลาวด์เข้ามาใช้กับภาคการผลิตอาจมีข้อแตกต่างจากการใช้กับข้อมูลระดับบนขององค์กร เนื่องจากข้อมูลในภาคการผลิตจะอ้างอิงกับเวลาที่เรียกว่า “เรียลไทม์” ถ้าเราส่งข้อมูลเหล่านี้ขึ้นคลาวด์โดยปราศจากการคัดกรองและจัดเตรียมข้อมูล  จะทำให้ต้องส่งข้อมูลจำนวนมหาศาลขึ้นคลาวด์โดยไม่จำเป็น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิด “การประมวลผลที่ขอบ (Edge Computing)” ขึ้นมา ซึ่งจะทำหน้าที่เก็บและประมวลผลข้อมูลที่อยู่ใกล้กับแหล่งข้อมูลให้มากที่สุด เพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดเรื่องเวลาในการตอบสนองและความล่าช้าของแบนด์วิดท์ อีกทั้งยังทำการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างง่าย เพื่อลดผลกระทบและการโหลดข้อมูลขนาดใหญ่บนคลาวด์
การวิจัย “แพลตฟอร์มการประมวลผลแบบ EDGE เพื่องานไอโอทีแบบอุตสาหกรรม สำหรับการมอนิเตอร์แบบเรียลไทม์ (Industrial IoT Edge Computing Platform for Real-Time Monitoring)” นี้จึงถูกจัดทำขึ้นมา เพื่อสร้างอุปกรณ์ที่ทำงานอยูบนระบบปฏิบัติการ Linux และมีระบบ IoT Backend ที่พัฒนาขึ้นโดยสามารถเชื่อมต่อ เก็บค่า และแสดงผลเป็นกราฟแบบเรียลไทม์ จาก  RTU (Remote Terminal Unit) ได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้าง Product ทางด้าน IIoT ออกมา เพื่อให้เกิดประโยชน์ และเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อผู้ที่สนใจ โดยผลสำเร็จของการวิจัยนี้จะสามารถนำไปต่อยอดในการใช้งานจริงในโรงงาน เพื่อใช้งานสำหรับการแสดงผลข้อมูลที่ได้รับมาจากเครื่องจักรต่าง ๆ ในโรงงานเพื่อใช้ประกอบวัดผลเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต การลดของเสีย และการป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น

Project Members

สรยุทธ กลมกล่อม
Sorayut Glomglome

#อาจารย์

Member
กรธวัช วิชชุวาณิชย์
KORNTAWAT WITCHUVANIT

#นักศึกษา

Member
กิตติศักดิ์ พรหมรักษา
KITTISAK PHORMRAKSA

#นักศึกษา

Member
วทัญญู ดำรงโภคภัณฑ์
WATANYOU DAMRONGPHOKAPHAN

#นักศึกษา

Member

Vote for this Innovation!

Loading...