Back

A development of integrated board for learning robot to enhance student’s creative thinking ability

การพัฒนาบอร์ดบูรณาการเพื่อการเรียนรู้การทำงานหุ่นยนต์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน

@คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

#Cluster 2024
#Digital Technology
การพัฒนาบอร์ดบูรณาการเพื่อการเรียนรู้การทำงานหุ่นยนต์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน

Details

This thesis discusses the process of developing an integrated board for learning robotics to promote students' creativity. to study the device How to use various components used in the development of the board, designing the board, creating the board, test the board. and bringing the board to real use with interested persons or people related to education Which will focus on promoting creativity in learning from the integrated board for learning robot work. There will be a user manual for the board. Building a basic robot from a board Up to the level of bringing together basic robot-building methods from boards and creativity to be combined into a workpiece at a certain level of application.

Objective

วิชาวิทยาการคำนวณเข้ามามีบทบาทในการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปีการศึกษา 2561 (พฤษภาคม 2561) ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ซึ่งเริ่มต้นใน 4 ชั้นเรียนก่อน คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีต่อไป เริ่มในชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในปีการศึกษา 2563 เริ่มในชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (แคมป์ปัส, 2561) 
วิทยาการคำนวณ (Computing science) เป็นวิชาที่มุ่งเน้นการเรียนการสอนให้เด็กสามารถคิดเชิงคำนวณ (Computational thinking) มีความพื้นฐานความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital technology) และมีพื้นฐานการรู้เท่าทันสื่อและข่าวสาร (Media and information literacy) ซึ่งการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ จะไม่จำกัดอยู่เพียงแค่การคิดให้เหมือนคอมพิวเตอร์เท่านั้น และไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการคิดในศาสตร์ของนักวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่จะเป็นกระบวนการความคิดเชิงวิเคราะห์เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาของมนุษย์ โดยเป็นการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานและช่วยแก้ไขปัญหาตามที่เราต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ มีเป้าหมายที่สำคัญในการพัฒนาผู้เรียนกล่าวคือเพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถใช้ทักษะการคิดเชิงคำนวณในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ มีทักษะในการค้นหาข้อมูลหรือสารสนเทศ ประเมิน จัดการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำสารสนเทศไปใช้ในการแก้ปัญหา สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ สื่อดิจิทัล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง การทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ต่อตนเองหรือสังคม และสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างปลอดภัย รู้เท่าทัน มีความรับผิดชอบมีจริยธรรม (วัชรพัฒน์ ศรีคำเวียง, 2562) 
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอยู่ในช่วงของการปรับเปลี่ยนหลักสูตร จึงจำเป็นต้องให้ครูวิชาวิทยาศาสตร์หรือสาระเทคโนโลยีมาช่วยทำการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ โดยเฉพาะในโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนครูน้อย นอกจากนั้นครูหนึ่งคนอาจจำเป็นต้องรับผิดชอบหลายรายวิชา ทำให้ครูอาจขาดความพร้อมทั้งในด้านเนื้อหารายวิชาและกระบวนการสอนที่เหมาะสม ก็จะส่งผลต่อกระบวนการสอนหรือการถ่ายทอดความรู้ ถ้าครูสอนวิชาวิทยาการคำนวณโดยที่สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ก็อาจจะส่งผลร้ายมากกว่าผลดีต่อผู้เรียน รวมทั้งครูบางท่านอาจจะขาดประสบการณ์เหล่านี้ด้วยเช่นเดียวกัน ทำให้กระบวนการเรียนการสอนขาดความต่อเนื่องและลดความสามารถในการถ่ายทอดให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้ลง (ภูมิปรินทร์ มะโน, 2561) จากปัญหาดังกล่าว สสวท. จึงได้จัดให้มีการอบรมออนไลน์ว่าด้วยการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับครู เพื่อให้ครูมีความเข้าใจในสาระการเรียนรู้และแนวทางการจัดการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) (พงศ์ธนัช แซ่จู, 2562) 
นอกจากปัญหาด้านเนื้อหาแล้ว กระบวนการเรียนการสอนที่ทำให้การเรียนรู้วิชานี้น่าสนใจและจับต้องได้ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้รวมทั้งการขาดแคลนงบประมาณของโรงเรียนในการที่จะจัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอนที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็นและได้มีประสบการณ์ตรงได้มากขึ้น ก็อาจจะเป็นปัญหาได้เช่นเดียวกัน (Fehr, Pentz, & Dickert, 2015) ตัวอย่างเช่นการเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมการทำงานของเล่นสร้างเสริมปัญญา เช่น ของเล่นหุ่นยนต์ขนาดเล็ก เป็นต้น (Chin, Hong, & Chen, 2014) ซึ่งผู้เรียนอาจจะไม่เคยจับต้องของเล่นเหล่านี้ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรมได้

Project Members

ปิยะวัฒน์ บุญชัยเกียรติ
PIYAWAT BOONCHAIKIAT

#นักศึกษา

Member
ณัฐวุฒิ อุดเสริม
NATTAWUT AUTSOEM

#นักศึกษา

Member
พิชญ์สินี มะโน
Pitsini Mano

#อาจารย์

Advisor

Vote for this Innovation!

Loading...