Back

Warehouse Layout Improvement for Operational Efficiency in Goods Picking Process: Case Study of B&M 2018 Part., Ltd.

การปรับปรุงผังคลังสินค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานในกระบวนการจัดเตรียมสินค้า กรณีศึกษา: ห้างหุ้นส่วนจำกัด บีแอนด์เอ็ม 2018

@คณะวิศวกรรมศาสตร์

#KLLC 2024
#Industry 4.0
การปรับปรุงผังคลังสินค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานในกระบวนการจัดเตรียมสินค้า กรณีศึกษา: ห้างหุ้นส่วนจำกัด บีแอนด์เอ็ม 2018

Details

The objective of this project was to improve the layout of the warehouse to increase operational efficiency in the picking process in the warehouse of B&M2018 Part., Ltd. According to the current warehouse layout, products are placed in a random location. which results in wasted movement and causes more time than necessary to prepare products before shipping. Therefore, the current condition of the warehouse has been analyzed. Including collecting information on products that are distributed and orders from customers in the past 5 months, analyze and select customers who have orders worth 80% of all orders collected to be the scope of the project. Arrange products into categories according to product characteristics or types. Design a new layout of the warehouse. By considering the aisle, the ability to place products in each area and the characteristics of employees picking products. Once the warehouse layout is obtained. Therefore, we calculate the proportion of space requirement for each type of product based on historical order data that has been collected. And the products within the warehouse have been grouped using the ABC Classification technique by using product shipping volume. Group product into 3 categories, fast-moving, moderate-moving, and slow-moving to be used to position the product. Items that move quickly will be placed closest to the receiving and shipping area. Fast-moving products will be placed closest to the receiving and shipping area. Moderate-moving products will be arranged further away. And slow-moving products will be placed in the furthest position. To reduce the time spent in preparing goods before shipment.

Objective

คณะผู้จัดทำได้ศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพของคลังสินค้า กรณีศึกษาห้างหุ้นส่วนจำกัด บีแอนด์เอ็ม 2018 ตั้งอยู่ที่ บ้านกระแชงใหญ่ ตำบลกระแชง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นวิสาหกิจขนาดย่อม (SME) ประกอบธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งเครื่องดื่มทุกชนิดและสินค้าเบ็ดเตล็ดทั่วไป โดยมีการจัดจำหน่ายสินค้าให้แก่ร้านค้าปลีก จำหน่ายสินค้าเพื่อใช้ในงานต่างๆ และจำหน่ายสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคทั่วไป ลักษณะธุรกิจเป็นการบริหารงานกันภายในครอบครัว โดยจากการสำรวจสภาพปัจจุบันของคลังสินค้าของสถานประกอบการพบว่า มีการจัดเก็บสินค้าที่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าเบ็ดเตล็ด ประมาณ 200-300 รายการ ที่มีการหมุนเวียนเข้าออกและถูกจัดเก็บภายในคลังสินค้า แต่ไม่มีระบบการจัดการคลังที่มีประสิทธิภาพ คลังสินค้าไม่มีการกำหนดโซนในการจัดเก็บสินค้า หรือการแบ่งประเภทของสินค้าที่ชัดเจน ไม่มีป้ายหรือสัญลักษณ์บ่งบอกตำแหน่งของสินค้า ไม่มีการกำหนดพื้นที่ในการเก็บสินค้าที่เหมาะสม เมื่อมีการรับสินค้าเข้ามาจะนำไปวางสินค้าในบริเวณพื้นที่ว่าง ไม่แยกชนิดสินค้าที่จัดเก็บในพาเลท ทำให้สินค้าหลายชนิดมีการวางปะปนอยู่ในพื้นที่บริเวณเดียวกัน สินค้าชนิดเดียวกันมีการวางกระจายอยู่หลายตำแหน่งทั้งภายในพื้นที่หลัก และลานด้านนอก แต่บางรายการที่มีปริมาณการสั่งจำนวนมากจะมีโซนสำหรับการจัดเก็บเฉพาะ เช่น สินค้าประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากลักษณะข้างต้นจึงส่งผลให้เมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามา ซึ่งโดยเฉลี่ยคำสั่งซื้อต่อวันจะอยู่ที่ประมาณ 2-4 คำสั่งซื้อ พนักงานจะใช้เวลาในการจัดเตรียมสินค้าเป็นเวลานานเกินความจำเป็น เพราะสินค้าบางรายการพนักงานก็ไม่สามารถทราบได้ว่ามีการจัดเก็บอยู่ที่ตำแหน่งใดภายในคลัง ดังนั้นคลังสินค้าที่ได้รับการออกแบบผังที่ดีจะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้การดำเนินงานภายในคลังสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

Project Members

สริดา นาคคล้าย
SARIDA NAKKLAI

#นักศึกษา

Member
อัฑฒ์ เทียมทัศน์
AT TIAMTAT

#นักศึกษา

Member
สิทธิพร พิมพ์สกุล
Sittiporn Pimsakul

#อาจารย์

Advisor

Vote for this Innovation!

Loading...