Back
Battery Swapping Station for EV Bike
สถานีสลับแบตเตอรี่สำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
@คณะวิศวกรรมศาสตร์
#KLLC 2024
#Industry 4.0
Details
This research pertains to the study of operational systems and the establishment of battery swapping stations for electric motorcycles, encompassing the development of software for the management of electric vehicle battery swapping stations. The primary focus lies in connectivity and communication with the Battery Management System (BMS), as well as the systematic integration of data into a database. We have designed and developed a communication interface that collaborates with the BMS through standardized protocols for transmitting battery status and parameters to the database. The software is tailored to accommodate future algorithmic commands for optimizing energy-efficient charging guidelines. This research not only underscores the significance of harmonizing software and hardware systems at battery swapping stations but also constitutes a pivotal step in laying the groundwork for the development of energy-efficient charging methodologies in the future.
Objective
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชาชนส่วนมากใช้ยานพาหนะส่วนบุคคลในการเดินทาง โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ซึ่งปัจจุบันส่วนมากเป็นเครื่องยนต์สันดาปภายในซึ่งก่อให้เกิดมลพิษ ดังนั้น ในปัจจุบันการใช้งานมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าจึงมีอัตราการแพร่ขยายมากยิ่งขึ้นและกำลังเป็นที่นิยมอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการรณรงค์ในเรื่องการลดมลพิษและการอนุรักษ์พลังงาน ส่งผลให้เทคโนโลยีเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าเข้ามามีบทบาทอย่างมากในปัจจุบัน อาธิเช่น แบตเตอรี่ สถานีชาร์จแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า สถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า เทคโนโลยีเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงมีหลายๆบริษัทที่เข้ามามีบทบาทในการทำการตลาดยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ทำให้มียานยนต์ไฟฟ้ามากมาย รวมถึงมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าในหลายๆรุ่นที่ผลิตออกมาในประเทศ การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่แพร่หลายในปัจจุบัน ทำให้สถานีชาร์จ EV ในปัจจุบันมีการรองรับให้ผู้ใช้งานไม่เพียงพอ เนื่องจากการชาร์จแบตเตอรี่ใช้เวลาที่มากเกินไป ส่งผลให้ผู้ใช้งานถัดไปต้องรอนาน ปัจจุบันจึงเริ่มเห็นการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าเป็นรูปแบบการเปลี่ยนแบตเตอรี่แทนการชาร์จปกติที่ใช้เวลานาน ซึ่งการเปลี่ยนแบตเตอรี่จะใช้เวลาเพียงแค่ไม่กี่นาทีก็สามารถนำยานยนต์ไฟฟ้าไปใช้งานต่อได้ ปัจจุบันจึงเริ่มเห็นสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญ เพื่ออำนวยความสะดวก แก่ผู้ใช้งานรถจักรยานยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งข้อดีของสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่มีหลากหลาย เช่น ทำให้ราคาของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าถูกลง และมีช่วงราคาไม่ต่างจากรถเครื่องยนต์สันดาปภายในมากนัก รวมถึงการประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่นค่าน้ำมันหรือค่าเช่าแบตเตอรี่ไฟฟ้าที่ถูกลงเมื่อเทียบกับค่าน้ำมัน อีกทั้งยังช่วยในเรื่องความไม่สะดวกที่ต้องรอการชาร์จประจุให้หมดไป เนื่องจากสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ไฟฟ้านั้นทำได้ง่ายและใช้เวลาไม่นาน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัจจุบันสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ไฟฟ้าจะเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศ แต่ยังไม่เพียงพอต่อการใช้งานของผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ รวมถึงในเขตของสถาบันที่มีผู้ใช้จักรยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะทำการศึกษาวงจรและหลักการทำงานของการชาร์จแบตเตอรี่ เพื่อออกแบบและสร้างสถานีสลับแบตเตอรี่สำหรับรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าไว้รองรับการใช้งานสำหรับนักศึกษา บุคลากร และผู้ใช้งานมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่ใช้งานในบริเวณสถาบัน
Project Members
วรรธนัย ใยถาวร
WATTANAI YAITHAVORN
#นักศึกษา
Member
วรเมธ จันทร์พิทักษ์
WORAMET JANPITAK
#นักศึกษา
Member
ศุภวัฒน์ เสือคล้าย
SUAPAWAT SUEKLAY
#นักศึกษา
Member
วริทธิ์ธร ถาวรานุรักษ์
WARITTHORN THAWARANURAK
#นักศึกษา
Member
ภูมิ คงห้วยรอบ
Poom Konghuayrob
#อาจารย์
Advisor
Vote for this Innovation!
Loading...
Powered By KMITL Innovation Project