Back

Effect of Gum Arabic on Postharvest Quality of Mango cv. Namdokmai Sithong during Storage

ผลของกัมอารบิกต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองในระหว่างการเก็บรักษา

@คณะเทคโนโลยีการเกษตร

#Cluster 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
ผลของกัมอารบิกต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองในระหว่างการเก็บรักษา

Details

The objective of this study was to observe the effect of gum arabic (GA) on the postharvest quality of mango cv. Namdokmai Sithong during storage. The fruits were divided into four treatments with four replications. The mango fruits were harvested at the commercial maturity stage and washed with a 200 ppm chlorine solution, followed by air-drying. Subsequently, the fruits were coated with gum arabic at different concentrations: 0%, 5%, 10%, and 20% of a gum arabic solution for a duration of 3 minutes. After dipping, they were stored at ambient temperature (25±2 ºC, 74±5% RH) for 14 days.  The results indicated that 10% and 20% gum arabic could delay the quality changes of mango, including weight loss, peel and flesh color change (L, a, b values), firmness, total soluble solids (TSS), titratable acidity (TA), and peel color scores. Additionally, the application of gum arabic at these concentrations delayed the incidence of postharvest disease.

Objective

มะม่วง (Mango) เป็นไม้ผลเศรษฐกิจ มีการปลูกกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมะม่วงเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ สถิติการส่งออกมะม่วงของไทยไปยังตลาดโลกในปี 2563    มีปริมาณการส่งออกมะม่วงสด 8,726 ตัน เพิ่มขึ้น 49.14% มูลค่า 1,953 ล้านบาท (สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า, 2564) มะม่วงมีมากมายหลายสายพันธุ์แต่มะม่วงที่มีความนิยมบริโภคกันส่วนใหญ่ คือ มะม่วงเขียวเสวย มะม่วงแรด มะม่วงอกร่องและมะม่วงน้ำดอกไม้ ปัญหาสำคัญที่พบในการส่งออกมะม่วงไปจำหน่ายยังต่างประเทศ คือ การเสื่อมคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวและอายุการวางจำหน่ายสั้น การสูญเสียของผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยวสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกของตัวผลิตผล เนื่องจากผลิตผลเมื่อเก็บเกี่ยวจากต้นแล้วยังมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น การหายใจ การคายน้ำ (คมจันทร์ และคณะ, 2559) ทั้งนี้มะม่วงจัดเป็นไม้ผลประเภท climacteric ที่มีกระบวนการสุกเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เช่น การเปลี่ยนสี การอ่อนนุ่มและการเปลี่ยนแปลงทางเคมี  เช่น การหายใจ การผลิตเอทิลีนที่นำไปสู่การเสื่อมสภาพของผล          ในปัจจุบันได้มีการศึกษาการยืดอายุมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองหลายวิธี เช่น การเก็บรักษาในสภาพดัดแปลงบรรยากาศ การเคลือบผิว การใช้สารยับยั้งเอทิลีน การใช้ฟิล์มบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น การใช้สารเคลือบผิวเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถยืดอายุการเก็บรักษาผลผลิต เนื่องจากสารเคลือบผิวเป็นสารที่ผลิตขึ้นมาเพื่อทดแทนสารเคลือบผิวตามธรรมชาติที่หายไป โดยจะถูกนำไปเคลือบเป็นชั้นบาง ๆ อยู่ภายนอกของผล ช่วยลดการสูญเสียน้ำ ลดอัตราการแลกเปลี่ยนก๊าซ ส่งผลให้กระบวนการหายใจช้าลง ปัจจุบันการเคลือบผิวผลไม้ได้รับความสนใจ และนำมาใช้ในการยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้สำหรับการค้า สารเคลือบผิวชนิดที่รับประทานได้ เป็นสารที่ผลิตจากธรรมชาติ ได้แก่ พวกสารประกอบโพลีแซคคาไรด์ โปรตีน และไขมัน การใช้สารเคลือบผิวให้มีประสิทธิภาพจะต้องพิจารณาให้เหมาะสมสำหรับผลผลิตแต่ละชนิด กัมอารบิก เป็นสารประกอบธรรมชาติชนิดหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มสารไฮโดรคอลลอยด์  (Hydrocolloids)  ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรมอาหารเป็นน้ำยางธรรมชาติที่ไหลออกมาจากผิวเปลือกของลำต้นของพืชในกลุ่มอากาเซีย (Acacia) กัมอารบิกเป็นสารประกอบจากธรรมชาติที่ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี  ไม่มีรส  และที่สำคัญไม่เป็นพิษต่อร่างกายและมลภาวะ ซึ่งได้ผ่านการรับรองระบบมาตรฐานของอาหารโลก และได้รับกำหนดในตำรับ  GRAS  (Generally Recognized as Safe)   และมาตรฐานของ United State pharmacopeia, Food Chemical Codex  และ EU Number E414  รวมทั้งผ่านการรับรองจากสำนักคณะกรรมการอาหารและยา ประเทศไทย (วารสารสถาบันอาหาร)

Project Members

สมศักดิ์ ครามโชติ

#อาจารย์

Member

Vote for this Innovation!

Loading...