Back

DEVELOPMENT OF BAGGED RICE PACKAGING FOR LARGE-SCALE RICE FARMING, MOO 5, KLUNG NIYOM YATRA SUBDISTRICT, BANG BO DISTRICT, SAMUT PRAKAN

การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวสารบรรจุถุงของกลุ่มแปลงใหญ่ข้าว หมู่ 5 ตำบลคลองนิยมยาตรา อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ

@คณะเทคโนโลยีการเกษตร

#KLLC 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวสารบรรจุถุงของกลุ่มแปลงใหญ่ข้าว หมู่ 5  ตำบลคลองนิยมยาตรา อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ

Details

The objectives of this research are as follows: 1) To study the problems and obstacles related to the development of packaging for rice in bags for the large-scale rice farming group in Ban Khlong Niyom Yatra Sub-district, Bang Bo District, Samut Prakan Province. 2) To develop packaging for rice in bags for the large-scale rice farming group in Ban Khlong Niyom Yatra Sub-district, Bang Bo District, Samut Prakan Province. 3) To study the satisfaction of the members of the large-scale rice farming group in Ban Khlong Niyom Yatra Sub-district, Bang Bo District, Samut Prakan Province, and the consumer group towards the packaging format of the large-scale rice farming group in Ban Khlong Niyom Yatra Sub-district, Bang Bo District, Samut Prakan Province. The research collected data on quality and quantity from the data providers, including 50 members of the large-scale rice farming group and 30 consumers. The research tools included in-depth interviews and questionnaires.
	The research findings revealed that the existing products of the group lacked integrated marketing communication to communicate with consumers, and there were inconsistencies in colors, patterns, and formats in the packaging. The development of packaging for rice in bags for the large-scale rice farming group in Ban Khlong Niyom Yatra Sub-district, Bang Bo District, Samut Prakan Province, was carried out, and a new packaging design was created to build confidence and create a clear brand identity to enhance the value of the product.

Objective

      ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาการเกษตร ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2560-2564) ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าเกษตรตลอดโซ่อุปทาน ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานให้มีการส่งเสริมผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรและอาหารเข้าสู่มาตรฐานความปลอดภัยสอดคล้องต่อความต้องการของตลาด ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการโซ่อุปทานสินค้าเกษตร ส่งเสริมให้มีการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ตลอดจนมีการพัฒนาระบบตลาดสินค้าเกษตร มุ่งหวังให้เกิดการสร้ามูลค่าสินค้าทางการเกษตรและเป็นความมั่นคงทางด้านอาหารอย่างยั่งยืน จากข้อมูลปี 2563 รัฐบาลให้ความความสำคัญกับการขับเคลื่อนการตลาดของสินค้าเกษตร ภายใต้นโยบาย “เกษตรผลิต พาณิชตลาด” (กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร,2564) ซึ่งปัจจุบันกรมการส่งเสริมสหกรได้มีการส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตร ส่งเสริมให้มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ มีการกำหนดราคาที่เหมาะสม มีการเพิ่มส่งทางการจัดจำหน่ายและมีการส่งเสริมการขายให้เข้าถึงลูกค้า สินค้าเกษตรมีมูลค่าเพิ่มขึ้น และมีรายได้เพิ่มขึ้น และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมพัฒนาให้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือกันและกันเพิ่มขึ้น (กลุ่มพัฒนากลุ่มเกษตรกร,กองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรและกรมส่งเสริมสหกรณ์,2566)  ซึ่งรูปแบบการพัฒนาเกษตรในปัจจุบันมีหลายแนวทาง เช่น การพัฒนาที่เป็นตัวผลผลิต การพัฒนาโดยสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตร ทุกแนวทางมีเป้าหมายเดียวกันคือสร้างรายได้และสร้างคุณภาพที่ดีขึ้นให้กับเกษตรกร (พัทธย์มล สื่อสวัสดิ์วณิชย์,2558) กลุ่มแปลงใหญ่ข้าวหมู่ที่ 5 ตำบลคลองนิยมยาตรา จังหวัดสมุทรปราการมีสมาชิกจำนวน 50 รายพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 1,249 ไร่ อยู่ในเขตชลประทานมีแหล่งน้ำจากคลองพญานาคราชใช้ในการส่งเสริมการปลูกข้าว เกษตรกรได้รับมาตรฐานการผลิต (ใบ Q) และเกษตรกรเป็นสมาชิกของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) และเป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ศูนย์เครือข่ายโดยเชื่อมโยงกับศพก.หลักในทุกมิติการส่งเสริมการเกษตร (สำนักงานอำเภอบางบ่อ, 2566) 
โดยการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในครั้งนี้ ได้จัดทำโครงงาน การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวสารบรรจุถุงของกลุ่มแปลงใหญ่ข้าวหมู่ 5 ตำบลคลองนิยมยาตรา อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ การศึกษาวิจัยนี้มีกลุ่มแปลงใหญ่ข้าว ตำบลคลองนิยมยาตรา อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ผลิตภัณฑ์ยังขาดความน่าสนใจ ความน่าดึงดูดต่อผู้บริโภคและไม่เป็นที่จดจำในท้องตลาดแนวทางการพัฒนาคือร่วมกันออกแบบตราสินค้ากับสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่และสอบถามความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อบรรจุภัณฑ์กลุ่มแปลงใหญ่ข้าวหมู่ 5 ตำบลคลองนิยมยาตรา อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อ ยกระดับสินค้าของกลุ่มแปลงใหญ่หมู่ 5 ตำบลคลองนิยมยาตรา อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการให้มีมูลค่าเพิ่มของกลุ่มต่อไป

Project Members

จันสุดา คนตรง
CHANSUDA KHONTRONG

#นักศึกษา

Member
สุณีพร สุวรรณมณีพงศ์
Suneeporn Suwanmaneepong

#อาจารย์

Advisor

Vote for this Innovation!

Loading...