Back

Interior Environmental Design Proposal, Pai Liew Temple Community Museum, Phrakhru Wichiansorakhun (Luang Por Petch Wachiramano), Donphut District, Saraburi Province

โครงการเสนอแนะออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดไผ่หลิ่ว พระครูวิเชียรสรคุณ (หลวงพ่อเพ็ชร์ วชิรมโน) อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี

@คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

#KLLC 2024
#Healthcare and Wellness
โครงการเสนอแนะออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดไผ่หลิ่ว พระครูวิเชียรสรคุณ (หลวงพ่อเพ็ชร์ วชิรมโน) อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี

Details

The purpose of this thesis is to make recommendations for the design of the internal environment. Phai Liu Temple Community Museum Phrakru Wichian Sornkhun (Luang Phor Petch Wachiramano) Don Phut District, Saraburi Province, with the objectives of the project as follows: 1) To meet the needs of Phai Liu Temple, Phai Liu Subdistrict, Don Phut District, Saraburi Province and communities that want to have a local learning resource. Both for insiders and outsiders to come and study the history of the community. 2) To be a source for gathering information and evidence. History of the community They are displayed to tell the story of the history, culture, traditions, important people of the Phai Liu village community. 3) To support and promote the national development plan policy of Saraburi Province that will help promote Don Phut District to be known. and is a source of income from tourism for the community and 4) to be a place to disseminate information It is a center for providing knowledge about Buddhism.
The coexistence of communities and Buddhism from the past to the present. There is a method for carrying out the thesis. As follows, study basic information. Analyze problems and information related to the project. Study the behavior of people Providing services and recipients of services Analyze project location Analyze surrounding projects to make case studies. Until the connection between the various living spaces is presented by creating an atmosphere that communicates through architecture That arises from the interpretation of the original architecture, the history of the village and Phai Liu Temple. Presented in a format that is consistent with the way of life of the people in the area.
Work with 3D images using computer programs Sketchup Enscape AutoCAD Photoshop and other programs using internal environment design formats. Phai Liu Temple Community Museum Phrakru Wichian Sornkhun (Luang Phor Petch Wachimano) can be used or applied as appropriate. Presented and successfully evaluated by experts.

Objective

 วัดไผ่หลิ่ว ตำบลไผ่หลิ่ว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี เป็นวัดที่สำคัญประจำอำเภอดอนพุดมา อย่างยาวนานเป็นศูนย์รวมการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของคนในพื้นที่ในอดีตเกือบครบทุกด้านทั้งเป็น โรงเรียนสถานศึกษาสำหรับพระภิกษุสงฆ์และฆราวาส เป็นที่รักษาพยาบาลแผนปัจจุบันและแผน โบราณ โดยมีหลวงพ่อพระครูวิเชียรสรคุณ หรือหลวงพ่อเพ็ชร์ วชิรมโน อดีตเจ้าอาวาสวัดไผ่หลิ่ว  รูปที่ 9 ซึ่งเป็นพระเถระที่มีความสำคัญต่อหมู่บ้านไผ่หลิ่ว และมีชื่อเสียงเป็นที่เคารพยอมรับของ จังหวัดสระบุรี ด้วยเป็นพระที่เคร่งในวัตรปฏิบัติ ให้การช่วยเหลือสาธารณะสงเคราะห์แก่สังคม เป็นที่ ยึดเหนี่ยวและศูนย์รวมจิตใจที่สำคัญของคนในชุมชนและใกล้เคียง ทั้งทางด้านการรักษาสมุนไพร ด้าน วิชาวิทยาคม เมตตาค้าขายคงกระพันชาตรี และวิชาที่ทำให้หลวงพ่อเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง คือ วิชาทำตะกรุดโทนใต้น้ำ และแหวนตะกร้อปราบอสรพิษ แหวนหัวนิลถอนพิษ ด้วยเหตุครอบครัวของ ท่านมีความเกี่ยวข้องกับตำนานยุคโจรเสือขาว เสือทองไบ โจรปล้นตลาดท่าเรือตามตำนาน และด้วย พื้นที่อำเภอดอนพุดเป็นที่ขึ้นชื่อของแหล่งงูเห่าที่โด่งดัง ด้วยเหตุดังกล่าวท่านจึงได้วิชาคงกระพันและ เมตตามาจากสายเสือที่สืบทอดมา และได้แสวงหาศึกษาวิชาอาคมจากพระเถราจารย์โด่งดังในยุคนั้น จึงได้วิชาแหวนป้องกันอสรพิษเพื่อให้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชน จึงเป็นเหตุให้หลวงพ่อเป็น พระที่ผู้คนในพื้นที่ให้ความเคารพมีลูกศิษย์จากต่างพื้นที่เป็นอย่างมาก นำมาสู่การเป็นศูนย์รวมความ ศรัทธา ทั้งเป็นพระนักสะสมผู้ริเริ่มให้รวบรวมของใช้ของเก่าต่าง ๆ ในชุมชนนำมาถวายแลกกับวัตถุ มงคลของท่านเพื่อทำพิพิธภัณฑ์ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้สืบมา ด้วยการใช้หลักกุศโลบายและการเป็น หลักที่ยึดเหนี่ยวจิตใจในด้านต่าง ๆ ของท่าน จึงทำให้สามารถพัฒนาชุมชนแห่งนี้ให้มีความ เจริญรุ่งเรืองขึ้น สืบต่อเนื่องมากระทั่งท่านได้ถึงแก่มรณะภาพลงในวันที่ 6 มีนาคม 2565 สิริอายุรวม  90  พรรษา 70 
 ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้นท่านพระครูอาทรจริยานุวัตร เจ้าอาวาสวัดไผ่หลิ่วรูปปัจจุบัน พร้อม ไวยาวัจกรคณะกรรมการและชาวบ้านชุมชนวัดไผ่หลิ่ว มีความต้องการเล่าเรื่องราวอดีตความเป็นมา ของชุมชนหมู่บ้านไผ่หลิ่ว และเป็นการสานต่อเจตนารมณ์ เชิดชูเกียรติคุณของหลวงพ่อที่เป็นพระสงฆ์ ผู้มีคุณูปการณ์ต่อชุมชนจึงมีดำริให้สร้างพิพิธภัณฑ์เพื่อชุมชนขึ้น และเพื่อเป็นการส่งเสริมชุมชนด้าน การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามแผนพัฒนาจังหวัดสระบุรี พ.ศ. 2561-2565 ที่ได้นำเอายุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี สู่แผนพัฒนาจังหวัดในด้านต่าง ๆ ตามแบบแผน SWOT ANALYSIS โดยได้อ้างอิงถึง จุดแข็ง (Strengths) ของจังหวัดสระบุรีเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เชิงธรรมชาติและเชิง วัฒนธรรม ประกอบกับจังหวัดสระบุรี เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ระหว่างแนวเขตเส้นทางพัฒนาภายใต้ความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion : GMS) ส่งผลให้ได้รับ การพัฒนาด้านการคมนาคมทั้งระบบถนนและรถไฟรางคู่ที่จะได้เชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน  และประเทศจีน จึงเป็นเหตุสำคัญที่ส่งผลให้จังหวัดสระบุรีเป็นจังหวัดที่จะสามารถดึงความเจริญด้าน การค้าการผลิตการลงทุนและการท่องเที่ยวเข้าสู่จังหวัดได้ในอนาคต 
 จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นจึงมีแนวคิดเพื่อเสนอแนะออกแบบพิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดไผ่หลิ่ว พระ ครูวิเชียรสรคุณ (หลวงพ่อเพ็ชร์ วชิรมโน) ตำบลไผ่หลิ่ว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี เพื่อตอบสนอง ความต้องการของชุมชนวัดไผ่หลิ่ว ให้เป็นสถานที่เรียนรู้ทางด้านวัฒนธรรมประวัติความเป็นมาของ พื้นที่และเผยแผ่เกียรติคุณ พุทธคุณ รวมถึงคุณประโยชน์ด้านต่าง ๆ ของหลวงพ่อพระครูวิเชียรสรคุณ  
(หลวงพ่อเพ็ชร์ วชิรมโน) ให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสังคมเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งให้เป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยว ให้มายังในพื้นที่ โดยให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นแหล่งเผยแพร่และศูนย์รวมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยมีพระพุทธศาสนากับความเป็นอยู่ของคนในชุมชนที่มีความสัมพันธ์กันมาอย่างยาวนานเป็นสื่อ สำคัญในการเล่าเรื่องราว และเพื่อรองรับความเจริญของจังหวัดสระบุรีที่กำลังพัฒนาตามแบบแผนให้ 
เกิดประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอีกด้วย 

Project Members

วงศธร งางาม
WONGSATORN NGANGAM

#นักศึกษา

Member
ปิยะ ตันศิริ
Piya Tansiri

#อาจารย์

Advisor
พงศ์ทิพย์ อินทร์แก้ว
Pongthip Inkeaw

#อาจารย์

Co-advisor

Vote for this Innovation!

Loading...