กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

โครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมชีวภาพ (สร้างมูลค่าเพิ่มปาล์มน้ำมัน))

Palm Oil Value Added Development Project

@คณะบริหารธุรกิจ

#Cluster 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
โครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมชีวภาพ (สร้างมูลค่าเพิ่มปาล์มน้ำมัน))

รายละเอียด

โครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมชีวภาพ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจ ผู้ประกอบการ ตลอดจนบุคลากรในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม โดยพัฒนาหรือต่อยอดต้นแบบ ผลิตภัณฑ์ ตลอดจนพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยกิจกรรมดังนี้
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม เคมีชีวภาพและอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือต่อยอดงานวิจัยเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม เคมีชีวภาพและอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือต่อยอดงานวิจัยเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบอุตสาหกรรม
ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม เคมีชีวภาพและอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  

วัตถุประสงค์

ตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ประเด็นอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต แผนย่อยอุตสาหกรรมชีวภาพ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ โดยการเร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยโดยปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยไปสู่รูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า BCG Economy Model ซึ่งจะช่วยต่อยอดจุดแข็งของประเทศให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทั้งในด้านความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยอาศัยกลไกวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง และเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจจาก “ทำมากแต่ได้น้อย”ไปสู่ “ทำน้อยแต่ได้มาก” ทั้งนี้ BCG โมเดล ประกอบด้วย 3 ระบบเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ B - Bio Economy คือระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่าเชื่อมโยงกับ C - Circular Economy ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่คำนึงถึงการนำวัสดุ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และ G - Green Economy คือระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งมุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ เพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน โดยยกระดับตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) โดยเริ่มตั้งแต่การนำความรู้ ระดับสูงด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และต้นทุนด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ประเทศไทยมีอยู่มากมาขับเคลื่อน เน้นการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบต่าง ๆ ตลอดวัฏจักรชีวิต และการนำวัสดุเหลือทิ้งเดิมมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงทางอุตสาหกรรม ซึ่งช่วยลดขยะและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม ที่เน้นส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นเป้าหมายสูงสุด

ผู้จัดทำ

สิงหะ ฉวีสุข
Singha Chaveesuk

#อาจารย์

สมาชิก
สายชล ปิ่นมณี
Saichon Pinmanee

#อาจารย์

สมาชิก
นายิกา กำมเลศ
NAYIKA KAMALES

#อาจารย์

สมาชิก
วอนชนก ไชยสุนทร
WORNCHANOK CHAIYASOONTHORN

#อาจารย์

สมาชิก
บุรินทร์ สุขพิศาล
Burin Sukphisal

#อาจารย์

สมาชิก
ตะวัน สุขน้อย
Tawan Sooknoi

#อาจารย์

สมาชิก

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด