กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

เครื่องวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดแบบไม่รุกล้ำ

Non-Invasive Alcohol Meter

@คณะวิศวกรรมศาสตร์

#KLLC 2024
#Healthcare and Wellness
เครื่องวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดแบบไม่รุกล้ำ

รายละเอียด

ในปัจจุบันการวัดแอลกอฮอล์สามารถทำได้หลากหลายวิธี เช่น การเจาะเลือด การวัดโดยการเป่าลมหายใจออก และการวัดจากเหงื่อ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้วิธีการเป่า ซึ่งการเป่าอาจจะรุกล้ำความเป็นส่วนตัวหรือมีความรู้สึกว่าไม่สะอาดหรือการไม่ประสงค์จะเป่า ดังนั้นในโครงงานนี้ผู้จัดทำจะนำเสนอการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์จากการลดทอนของลำแสงที่ถูกดูดซับโดยปริมาณของแอลกอฮอล์ที่อยู่ในพลาสมาของเลือด โดยจะเลือกใช้ย่านแสงช่วงอินฟราเรดในช่วง 940 – 1040 นาโนเมตร ซึ่งเป็นย่านแสงที่ดูดซับแอลกอฮอล์ได้ดี และใช้เทคนิค FDM เพื่อให้การจัดเก็บสัญญาณไม่เกิดการรบกวนซึ่งกันและกัน เพราะเราใช้ Photo detector ตัวรับเพียงตัวเดียว เมื่อได้สัญญาณ Photoplethysmography (PPG) ก็จะนำสัญญาณ PPG ดังกล่าวไปคำนวณหาค่า R เพื่อใช้ในการคำนวณหาค่า %BAC แล้วทำการแสดงผลบนจอแสดงผล LED

วัตถุประสงค์

การวัดแอลกอฮอล์ที่อยู่ในเลือดเป็นกระบวนการทางการแพทย์ที่ใช้ในการประเมินปริมาณแอลกอฮอล์ที่มีในเลือดของบุคคลเพื่อประเมินระดับการดื่มแอลกอฮอล์หรือการใช้สารเสพติดในร่างกาย ซึ่งมักนำมาใช้ในการคัดกรองหรือวินิจฉัยปัญหาการดื่มสุราเกี่ยวกับสุขภาพหรือปัญหาทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดื่มสุรา เช่น การตรวจสุขภาพเนื่องจากการดื่มสุรามากเกินไปหรือโรคตับเรื้อรังเนื่องจากการดื่ม ซึ่งการวัดแอลกอฮอล์ที่อยู่ในเลือดมีหลายวิธีที่ใช้กัน เช่น การใช้เครื่องมือทางแลป (Laboratory-based test) และการใช้เครื่องมือที่ให้ผลการวัดทันที (Point-of-care testing) 
     โดยโครงงานนี้เสนอการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดโดยใช้วิธีการลดทอนของลำแสงที่ถูกดูดซับโดยปริมาณของแอลกอฮอล์ที่อยู่ในพลาสมาของเลือด โดยใช้ย่านแสงอินฟราเรดในช่วง 940 - 1040 นาโนเมตร ซึ่งเป็นย่านแสงที่สามารถดูดซับแอลกอฮอล์ได้ดี และใช้เทคนิค FDM (Frequency Division Multiplexing) เพื่อให้การจัดเก็บสัญญาณไม่เกิดการรบกวนซึ่งกันและกัน เนื่องจากใช้ Photo detector ตัวเดียวในการรับสัญญาณ PPG (Photoplethysmography) ที่ได้จากการลดทอนของลำแสงอินฟราเรด จากนั้นจะนำสัญญาณ PPG ที่ได้ดังกล่าว ไปคำนวณหาค่า R เพื่อใช้ในการคำนวณหาค่า %BAC (Blood Alcohol Concentration) แล้วทำการแสดงผลบนจอ LED

ผู้จัดทำ

สุวภัทร พรหมอุบล
SUWAPAT PROMAUBON

#นักศึกษา

สมาชิก
วชิรวิชญ์ อัศวสิทธิกุล
WACHIRAWITCH ASAWASITTIKUL

#นักศึกษา

สมาชิก
วีรวัฑฒก์ เอื้ออวยชัย
WEERAWAT AUA-AUAYCHAI

#นักศึกษา

สมาชิก
จีรสุดา โกษียาภรณ์
Jeerasuda Koseeyaporn

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษา
ปราโมทย์ วาดเขียน
Paramote Wardkein

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด