กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

น้ำพริกเกล็ดมัจฉา

Majchaa flake chili paste

@คณะอุตสาหกรรมอาหาร

#KLLC 2024
#Healthcare and Wellness
น้ำพริกเกล็ดมัจฉา

รายละเอียด

          เนื่องจากปัจจุบันเกิดปัญหาอาหารเหลือทิ้ง หรือขยะอาหาร (Food Waste) มากซึ่งสงผลเสียต่อด้านต่าง ๆ ทั้งต่อเศรษฐกิจ สังคม ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะปัญหาสุขภาพต่อมนุษย์ ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยมี Food waste อยู่ปริมาณมาก และส่วนใหญ่ก็มาจากปัญหาด้านการจัดการกับเศษอาหารที่นำมาบริโภคต่อไม่ได้ เช่น เปลือกผลไม้ เกล็ดปลา ดังนั้นทางผู้จัดทำโครงงานจึงได้หาแนวทางการใช้เกล็ดปลามาทำน้ำพริกเกล็ดมัจฉา โดยการนำเกล็ดปลานิลที่เหลือทิ้งจากภาคครัวเรือนและโรงงานอุตสาหกรรมประมงมาทำความสะอาดและนำไปทอด จากนั้นนำมาตำให้ละเอียดผสมเข้ากับส่วนประสมอื่น ๆ และนำไปคั่วต่อกลายเป็นน้ำพริกเกล็ดมัจฉา นอกจากนี้ทางกลุ่มผู้จัดทำได้ทำการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส (Sensory Test) ของเกล็ดปลามากกว่าน้ำพริกที่ไม่มีส่วนประกอบของเกล็ดปลา พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 20 คน เป็นเพศชายและหญิง ช่วงอายุ 19 - 23 พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในน้ำพริกที่มีส่วนประกอบของเกล็ดปลามากกว่า ทั้งนี้เนื่องจากน้ำพริกเกล็ดมัจฉามีการให้รสสัมผัสที่แปลกใหม่กว่าน้ำพริกธรรมดาที่ไม่มีส่วนประกอบของเกล็ดปลา

วัตถุประสงค์

         ในปัจจุบันเกิดปัญหา ขยะอาหาร (Food Waste) หรือปัญหาเศษอาหารเหลือทิ้งกลายเป็นขยะ จากทั้งในส่วนของผู้ค้าปลีก และผู้บริโภค ทั้งเศษอาหารที่รับประทานไม่หมด อาหารกระป๋องที่หมดอายุ ที่ถูกนำไปกำจัดโดยวิธีที่ง่ายที่สุดคือ การฝังกลบ เนื่องจากขยะเหล่านี้ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายเองได้ แต่เมื่อมีการทิ้งในปริมาณที่มากก็จะต้องใช้เวลาในการย่อยสลายมากตามไปด้วยเช่นกัน และในการย่อยสลายของขยะอินทรีย์ยังปล่อยก๊าซมีเทน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก และยังส่งผลเสียด้านต่างๆ ทั้งสุขภาพ สังคมและเศรษฐกิจของมนุษย์เนื่องจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากในการกำจัดขยะ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะส่งผลเสียในด้านสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นเกิดมลพิษจากก๊าซที่เกิดจากการหมักหมม ทำให้เกิดอาการวิงเวียนอศีรษะและเกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารที่มาจากสิ่งสกปรกและแบคทีเรียที่หมักหมม
          องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ได้ตั้งเป้าให้ในปี ค.ศ. 2030 ขยะอาหารที่เกิดจากการจำหน่ายและการบริโภคทั่วโลกต้องลดลง 50% ในปัจจุบันประเทศไทยมี Food waste ปริมาณ 9.68 ล้านตันต่อปีหรือ 1 คนผลิตขยะอาหาร 146 กิโลกรัมต่อคน ซึ่งส่วนใหญ่ก็มาจากปัญหาด้านการจัดการกับเศษอาหารที่นำมาบริโภคต่อไม่ได้ เช่น เปลือกผลไม้หรือเกล็ดปลา
ดังนั้นทางคณะผู้จัดทำได้เล็งเห็นปัญหาด้าน Food Waste นี้ และต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดปัญหา Food Waste จึงได้มีการนำเศษอาหารที่ไม่สามารถนำไปใช้ต่อได้มาแปรรูป โดยได้เลือกใช้เกล็ดปลานิลที่เหลือทิ้งทั้งจากภาคครัวเรือนและโรงงานอุตสาหกรรมประมงและต้องการที่จะชูความเป็นไทยของอาหารไทยเพิ่มใส่ลงไป จึงได้เกิดเป็นโครงงานน้ำพริกจากเกล็ดมัจฉาขึ้น โดยการใช้เกร็ดปลาเป็นส่วนประกอบในการทำน้ำพริก เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของเกล็ดปลานิลและน้ำพริก

ผู้จัดทำ

ปรียา จันทร์ขาว
PREEYA JANKHAO

#นักศึกษา

สมาชิก
ชัญญา พิพัฒน์เดชสกุล
CHANYA PHIPHATDETSAKUN

#นักศึกษา

สมาชิก
จักษณา ภูทางนา
JAKSANA PHOOTHANGNA

#นักศึกษา

สมาชิก
ชัญญา อิ่ิมเอิบ
CHANYA AIMAOBE

#นักศึกษา

สมาชิก
ปนัสดา มงคล
PANATSADA MONGKOL

#นักศึกษา

สมาชิก
พรรณวรินทร์ คงยืน
PANWARIN KONGYUEN

#นักศึกษา

สมาชิก
พัฒน์นรี เชื้อขาว
PATNAREE CHUAKHAO

#นักศึกษา

สมาชิก
ศิตา เลาะมิน
SITA LOHMIN

#นักศึกษา

สมาชิก
ธนวัฒน์ ภาสนวัฒน์
THANAWAT PASSANAWAT

#นักศึกษา

สมาชิก
ธนัสสร วารุณ
THANASSORN WARUN

#นักศึกษา

สมาชิก
วินัฏฐา ศักดาศรี
Winatta Sakdasri

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษา

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด