กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

โฮเวอร์บอร์ด

Hoverboard

@คณะวิศวกรรมศาสตร์

#Cluster 2024
#Smart City
โฮเวอร์บอร์ด

รายละเอียด

โครงงานฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการทำงานของโฮเวอร์บอร์ด อุปกรณ์และทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโฮเวอร์บอร์ด โดยมี Force Sensor เป็นตัวรับแรงกด เมื่อมีการสัมผัสถึงค่าที่กำหนดโฮเวอร์บอร์ดจึงจะเริ่มทำงาน แต่เมื่อค่าไม่ถึงที่กำหนดไว้โฮเวอร์บอร์ดจะไม่มีการทำงาน ป้องกันการทำงานเองของโฮเวอร์บอร์ด เพื่อให้มีความปลอดภัยในการใช้งาน และมี Gyroscope ตรวจสอบเมื่อมีการเอนไปข้างหน้าหรือข้างหลังตามองศาที่ได้กำหนดไว้จะมีการเพิ่มความเร็วหรือลดความเร็วตามที่ได้โปรแกรมไว้ โดยมีการวิเคราะห์และทดสอบโฮเวอร์บอร์ดในเรื่องของการทำงานของโฮเวอร์บอร์ดและมอเตอร์

วัตถุประสงค์

เนื่องจากในปัจจุบันมียานพาหนะที่ใช้ในการเดินทางมากหลายรูปแบบ หนึ่งในคือสกูตเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นยานพาหนะที่คล่องตัว ใช้งานง่าย และยังประหยัดค่าใช้จ่ายเนื่องจากมีราคาที่ถูกกว่าจักรยานยนต์ และยังใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน โดยค่าใช้จ่ายการการชาร์จไฟฟ้านั้นถูกกว่าราคาน้ำมัน อีกทั้งยังช่วยลดมลพิษทางอากาศอีกด้วย แต่เนื่องด้วยสกูตเตอร์ไฟฟ้านั้น หากขับบนพื้นผิวที่มีลูกระนาดจะทำให้ตัวท้องสกูตเตอร์ติดลูกระนาด และไม่เหมาะกับพื้นดิน จากปัญหานี้ทางคณะผู้จัดทำจึงได้เล็งเห็นการขับเคลื่อนในอีกรูปแบบนึงคือ One wheel hoverboard ซึ่งเป็นยานพาหนะที่มีลักษณะคล้ายสกู๊ตเตอร์ แต่มีล้อเดียวอยู่ตรงกลาง ทำให้ผู้ขับขี่ต้องทรงสมดุลและควบคุมด้วยการเอียงตัวมากขึ้นหรือน้อยลงเพื่อทำการเคลื่อนที่และหมุนเวียนได้ ประเภทนี้ของยานพาหนะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความนิยมในกลุ่มผู้ที่ต้องการการเดินทางที่สะดวกสบายและเร็วขึ้นในเขตเมืองหรือสภาพแวดล้อมที่เป็นเส้นทางส่วนบุคคล นอกจากนี้ยังเหมาะกับผู้ที่ชื่นชอบการผจญภัยและการท้าทายในการควบคุมยานพาหนะด้วยการเอียงตัวในการเดินทางด้วย One wheel hoverboard

ผู้จัดทำ

ธัชภูมิ ภูเมฆ
TACHABHUM PHUMEK

#นักศึกษา

สมาชิก
ธนาภา ควรมิตร
THANAPHA KUANMIT

#นักศึกษา

สมาชิก
ณัฐิวุฒิ ชะนำพร
NATTHIWUT CHANAMPORN

#นักศึกษา

สมาชิก
เติมพงษ์ เพ็ชรกูล
Toempong Phetchakul

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษา

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด