กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด
วิศวกรรมชีวภาพเพื่อเพิ่มเสถียรภาพและความยั่งยืนของโครงสร้างพื้นฐาน
Soil bioengineering for enhancing safety and resilience of earthen infrastructure
@คณะวิศวกรรมศาสตร์
#Cluster 2024
#Smart City
รายละเอียด
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (เช่น ความแห้งแล้งและปริมาณฝนในแต่ละฤดูที่มากขึ้น) นำไปสู่ผลกระทบทั้งด้านความปลอดภัยและการใช้งานของโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อหลีกเลี่ยงความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคม จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการพิจารณาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของวิธีการทางวิศวกรรมชีวภาพโดยใช้พืชร่วมกับโครงสร้างพื้นฐาน ในแง่ของการเคลื่อนตัวและเสถียรภาพของโครงสร้างคันดิน รวมถึงความสามารถในการรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง โดยในการศึกษานี้จะมีการติดตั้งเครื่องมือในคันดินขนาดจริง เพื่อตรวจสอบการเปลียนแปลงของความชื้นในดินและการเปลี่ยนแปลงของพืชใต้ดินตามสภาพอากาศแต่ละฤดูกาลตลอดสองปี เพื่อพัฒนาและสอบเทียบแบบจำลองเชิงตัวเลขของปฏิสัมพันธ์ระหว่างดิน, พืช และสภาพภูมิอากาศ ผลวิจัยนี้ชี้ให้เห็นประโยชน์ของการปลูกหญ้าที่ช่วยลดผลกระทบเชิงลบของสภาพภูมิอากาศตามฤดูกาล ซึ่งพืชและรากพืชก็จะช่วยลดการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำในดินที่รุนแรงตั้งแต่ปีแรก อีกทั้งยังช่วยลดรอยแตกที่เกิดจากความแห้งแล้งใกล้ผิวดิน ป้องกันน้ำเข้าสู่ดินและส่งเสริมเสถียรภาพของคันดินให้ดีขึ้น รากพืชที่ชอนไชสามารถช่วยลดความแตกต่างระหว่างช่องว่างในดินทำให้ดินมีลักษณะกักเก็บน้ำดีขึ้น
วัตถุประสงค์
ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา หลายประเทศประสบกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งนำไปสู่ผลกระทบทั้งด้านความปลอดภัยและการใช้งานของโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อหลีกเลี่ยงความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคม จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการพิจารณาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของวิธีการทางวิศวกรรมชีวภาพโดยใช้พืชร่วมกับโครงสร้างพื้นฐาน ในแง่ของการเคลื่อนตัวและเสถียรภาพของโครงสร้าง รวมถึงความสามารถในการรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงในอนาคตได้
ผู้จัดทำ
วิรุฬห์ คำชุม
Viroon Kamchoom
#อาจารย์
สมาชิก
Arwan Apriyono
ARWAN APRIYONO
#นักศึกษา
สมาชิก
Yuliana
YULIANA
#นักศึกษา
สมาชิก
ฐาปกรณ์ สากลปัญญา
TAPAKORN SAKOLPANYA
#นักศึกษา
สมาชิก
โหวตนวัตกรรมนี้
กำลังดาวน์โหลด
Powered By KMITL Innovation Project