กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

การพัฒนาวิธีวิเคราะห์ซัลเฟต

DEVELOPMENT OF SULFATE ANALYSIS METHOD

@คณะวิทยาศาสตร์

#KLLC 2024
#Healthcare and Wellness
การพัฒนาวิธีวิเคราะห์ซัลเฟต

รายละเอียด

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาวิธีวิเคราะห์ซัลเฟตด้วยการหาพื้นที่ของฝ้าตะกอนที่เกิดขึ้น จากปฏิกิริยาระหว่างซัลเฟตกับแบเรียมไนเตรทเกิดเป็นตะกอนขาวแบเรียมซัลเฟตในหลุมขนาดเส้นผ่านศุนย์กลาง 1.60 เซนติเมตร สูง 2.5 เซนติเมตร ของเพลทจำนวน 24 หลุม แล้วทำการตรวจวัดตะกอนที่เกิดขึ้นโดยการบันทึกภาพด้วยโทรศัพท์มือถือแล้วประมวนผลค่าพื้นที่ของฝ้าตะกอนด้วยโปรแกรม Image JTM ศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการตรวจวัด ได้แก่ ความเข้มข้นของสารละลายแบเรียมไนเตรท pH ลำดับขั้นในการใส่สารละลายในเพลท เวลาในการเกิดปฏิกิริยา ปริมาตรรวมของสารละลายในเพลท การวางตำแหน่งในการถ่ายภาพ การตั้งค่าระบบในการถ่ายภาพ

วัตถุประสงค์

น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญต่อชีวิตคน พืช และสัตว์เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย เพราะน้ำสามารถใช้ในการบริโภคและอุปโภค เพื่อดื่มกิน ประกอบอาหาร ชำระล้างร่างกาย ทำความสะดาก การเกษตร ฯลฯ [1] น้ำที่ผ่านการกรองโดยวิธีธรรมชาติ เป็นน้ำที่บริสุทธิ์มากกว่าโดยวิธีอื่น แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีแร่ธาตุต่างๆ ที่ละลายยู่บ้าง ตามสิ่งที่น้ำนั้นไหลผ่าน เช่น น้ำในลำธาล น้ำนิ่งในทะเลสาบ และที่ผ่านชั้นดินชั้นหินในดิน และแร่ธาตุที่ละลายน้ำบางชนิดก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ ถ้าได้รับในปริมาณที่มากเกินไปซึ่งไม่ปลอดภัยต่อการนำมาใช้บริโภคอุปโภคในชีวิตประจำวัน เช่น ซัลเฟต หรือสารประกอบซัลเฟต มักพบในน้ำผิวดินทั่วไปและในบ่อ ซัลเฟตที่เกิดขึ้นในบ่อมีสาเหตุจากการย่อยสลายพืชน้ำ, ดินและหินแบคทีเรียชนิด Sulfur-Reducing Bacteria (SRB) [2] ตามที่องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) กำหนดค่ามาตรฐานซัลเฟต ต้องไม่เกิน 250 มิลลิกรัมต่อลิตร ถ้าได้รับในปริมาณมากอาจทำให้ท้องร่วงได้ [3] ซึ่งสามารถแก้ปัญหาหรือควบคุมได้โดยการกรองแบบออสโมซิสย้อนกลับผ่านเยื่อเมมเบรน (Reverse Osmosis: RO) ที่สามารถกรองได้ระเอียดถึง 0.0001 ไมครอน กรองได้ถึงไอออนและโมเลกุลของสารละลายที่อยู่มนน้ำ [4] และการกรองผ่านเรซิน เป็นการช่วยลดปัญหาการสะสมของหินปูนที่ผสมมากับน้ำ ลดการเกิดตะกอนในน้ำ ลดความกระด้างของน้ำ [5] หรือสามารถนำตัวอย่างไปตรวจสอบวิเคราะห์หาปริมาณซัลเฟต ซึ่งในการวิเคราห์หาปริมาณซัลเฟตมีการตรวจสอบและวิเคราะห์หลากหลายวิธี เช่น การวิเคราะห์โดยน้ำหนัก (Gravimetric analysis) [6] การไทเทรต (Tiration) การวิเคราะห์หาปริมาณ โดยใช้หน่วยเป็นปริมาตร (Volumetric (Titrimetric) analysis) [7],[8] วิธีการแก้ปัญหาหรือควมคุมที่กล่าวไว้ข้างต้นเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและนิยมใช้ แต่มีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ สารเคมีที่สูงรวมไปถึงต้องมีความชำนาญในการวิเคราะห์ 
	ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการพัฒนาวิธีวิเคราะห์ซัลเฟต โดยการสังเกตพื้นที่ขนาดของตะกอนซัลเฟตที่อยู่ในรูปของแบเรียมซัลเฟต ในเพลทใส่สาร (Cell culture plate) ปริมาณ 400 ไมโครลิตร แล้วนำมาประยุกต์เปรียบเทียบพื้นที่ของตะกอนแล้ววิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Image JTM ด้วยรูปที่ได้จากการถ่ายด้วยกล้องโทรศัพท์มือถือยี่ห้อ ไอโฟน (Iphone) รุ่น 11 โดยปรับให้กล้องมีเส้นตารางจากนั้นปรับกล้องเป็นโหมดถ่ายภาพบุคคล แล้วจึงปรับเป็นแสงไฟคอนทัวร์ วางจุดโฟกัสให้อยู่จุดกึ่งกลางของหลุมเพลทที่ต้องการถ่ายให้อยู่แนวระนาบที่จุดโฟกัสขึ้นเป็นสีเหลือง จากนั้นนำรูปที่ได้นำเข้าคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊คแล้วจึงนำไปวิเคราะห์พื้นที่ของตะกอนด้วยโปรแกรม Image JTM และนำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบวิเคราะห์ซัลเฟตจากกราฟมาตรฐาน

ผู้จัดทำ

ณิชาภัทร มงคล
NICHAPAT MONGKOL

#นักศึกษา

สมาชิก
โชติกา ยิ่งยง
CHOTIKA YINGYONG

#นักศึกษา

สมาชิก
วิบูลย์ ประดิษฐ์เวียงคำ
Asst.Prof.Dr.Wiboon Praditweangkum

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษา

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด