กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด
การวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดด้วยหลักการแอมพลิจูดมอดูเลตแบบควอดราเจอร์มัลติเพล็กซ์
PULSE OXIMETRY TECHNIQUE BASED ON QUADRATURE MULTIPLEXING OF THE AMPLITUDE MODULATED PHOTOPLETHYSMOGRAPHY SIGNALS
@คณะวิศวกรรมศาสตร์
#KLLC 2024
#Healthcare and Wellness
รายละเอียด
ปริญญานิพนธ์นี้นำเสนอวิธีการวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดด้วยหลักการมอดูเลตเชิงขนาดแบบควอดราเจอร์มัลติเพล็กซ์ของสัญญาณ AM-PPG PPG โดยเซนเซอร์ที่ใช้นั้นเป็นแบบสะท้อนซึ่งจะใช้การขับหลอด Red LED และ IR LED ด้วยสัญญาณไซน์ที่มีความถี่เท่ากันแต่มีเฟสต่างกัน 90 องศา ซึ่งจะทำให้ได้สัญญาณมอดูเลตเชิงขนาดของ Red PPG และ IR PPG และทั้งสองสัญญาณจะมัลติเพล็กซ์กับแบบควอดราเจอร์ จากนั้นสัญญาณมัลติเพล็กซ์ที่ได้จากตัวรับแสง LED จะถูกนำไปประมวลผลด้วยไมโครคอลโทรลเลอร์เพื่อแยกสัญญาณ Red PPG และ IR PPG ออกจากกันเพื่อทำการหาค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดและแสดงผลบนหน้าจอ LCD การมอดูเลตเชิงขนาดของสัญญาณ Red PPG และ IR PPG นั้นช่วยลดการรบกวนของสัญญาณที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของร่างกายขณะวัดสัญญาณลงได้ โดยในปริญญานิพนธ์นี้จะทำการศึกษาผลกระทบของสัญญาณรบกวนที่เกิดจากแสงภายนอกและการเคลื่อนไหวของร่างกายต่อค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดของวิธีการที่นำเสนอและเปรียบเทียบกับวิธีการแบบดั้งเดิม วิธีการที่นำเสนอดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้สำหรับอุปกรณ์สวมใส่ที่มีความสามารถในการวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดได้
วัตถุประสงค์
ในปัจจุบันการวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดหรือการวัด SpO2 มีความสำคัญโดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิด-19 นอกจากนี้อุปกรณ์สวมใส่ส่วนใหญ่ในตลาดยังมีฟีเจอร์สำหรับการวัด SpO2 อีกด้วย โดยส่วนใหญ่อุปกรณ์วัดออกซิเจนในเลือดและอุปกรณ์สวมใส่จะวัดระดับ SpO2 ตามเทคนิคแบบเดิม ซึ่งจะได้รับผลกระทบจากแสงจากสิ่งแวดล้อมและการเคลื่อนทไหว ซึ่งอาจทำให้เกิดความไม่แม่นยำในการวัด SpO2 ได้
ผู้จัดทำ
นวพร บ้านไร่
NAWAPORN BANRAI
#นักศึกษา
สมาชิก
บัญชา ศรีสวัสดิ์
BANCHA SRISAWAS
#นักศึกษา
สมาชิก
ณัฐนุชา คนหลัก
NATNUCHA KHONLAK
#นักศึกษา
สมาชิก
จีรสุดา โกษียาภรณ์
Jeerasuda Koseeyaporn
#อาจารย์
อาจารย์ที่ปรึกษา
ปราโมทย์ วาดเขียน
Paramote Wardkein
#อาจารย์
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
โหวตนวัตกรรมนี้
กำลังดาวน์โหลด
Powered By KMITL Innovation Project