กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด
ระบบช่วยลดความร้อนแบบอัตโนมัติสำหรับคอนเดนเซอร์ของเครื่องปรับอากาศ
The automatic heat reduction system for the condenser of the air conditioner
@วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
#KLLC 2024
#Smart City
รายละเอียด
ระบบช่วยลดความร้อนแบบอัตโนมัติสำหรับคอนเดนเซอร์ของเครื่องปรับอากาศที่ออกแบบและสร้างขึ้นนี้สามารถช่วยลดความร้อนของคอนเดนเซอร์ได้โดยอาศัยหลักการการระบายความร้อนด้วยอากาศร่วมกับความเย็นของน้ำที่ระเหยมาจากชุดรังผึ้งที่ติดตั้งบริเวณด้านหน้าของคอนเดนเซอร์ของเครื่องปรับอากาศ ระบบลดความร้อนนี้จะใช้เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิในการตรวจจับอุณหภูมิของคอนเดนเซอร์เมื่อพบว่าอุณหภูมิของคอนเดนเซอร์มีค่าสูงกว่าค่าที่กำหนด ระบบจะสั่งการให้ปั๊มน้ำส่งน้ำไปยังรังผึ้งพร้อมทั้งสั่งการให้พัดลมระบายอากาศทำงานจนกระทั่งอุณหภูมิของคอนเดนเซอร์ลดลงต่ำกว่าค่าที่กำหนดระบบก็จะหยุดทำงานอัตโนมัติ
วัตถุประสงค์
เนื่องจากภาวะโลกร้อนและมลพิษทางอากาศเพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้ในปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนการใช้เครื่องปรับอากาศในที่พักอาศัยและอาคารต่างๆ เป็นจำนวนมาก เมื่อเปรียบเทียบกับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ พบว่าเครื่องปรับอากาศมีการใช้พลังงานที่สูงและมีค่าใช้จ่ายไฟฟ้าสูง ในระบบทำความเย็นอุปกรณ์ที่สำคัญตัวหนึ่งในเครื่องปรับอากาศ คือ คอนเดนเซอร์ซึ่งทำหน้าที่ในการควบแน่นเอาความร้อนออกจากพื้นที่ในอาคารและช่วยในการระบายความร้อนของสารทำความเย็นที่มีสถานะเป็นไอ มีอุณหภูมิสูงและความดันสูง สำหรับคอนเดนเซอร์ที่ใช้กับเครื่องปรับอากาศชนิดแยกส่วน (Split Type Air Condition) เป็นการทำงานร่วมกับคอมเพรสเซอร์ (Compressor) อีวาพอเรเตอร์ (Evaporator) พัดลมระบายอากาศและ สารทำความเย็น โดยระบบการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศจะอาศัยหลักการหมุนวนและการถ่ายเทความร้อนซึ่งถ้าการถ่ายเทความร้อนของเครื่องปรับอากาศถ่ายเทความร้อนได้น้อยจะส่งผลให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักและเสียค่าใช้จ่ายไฟฟ้ามากขึ้น ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงนำเสนอการออกแบบและสร้างระบบเพื่อช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าที่มาจากการใช้งานเครื่องปรับอากาศ โดยนำเสนอระบบช่วยลดความร้อนแบบอัตโนมัติสำหรับคอนเดนเซอร์ของเครื่องปรับอากาศซึ่งเป็นการเพิ่มความสามารถในการถ่ายเทความร้อนที่คอนเดนเซอร์โดยในงานวิจัยนี้ได้ใช้แผ่นคูลลิ่งแพดร่วมกับพัดลมในการช่วยระบายความร้อนสำหรับคอนเดนเซอร์ร้อนที่ทำงานแบบอัตโนมัติโดยการประยุกต์ใช้เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและสั่งการให้ปั๊มน้ำและพัดลมระบายอากาศทำงานตามเงื่อนไขอุณหภูมิที่กำหนดเพื่อช่วยลดความร้อนของคอนเดนเซอร์ลง
ผู้จัดทำ
มัลลิกา สงชัย
MALLIKA SONFGCHAI
#นักศึกษา
สมาชิก
ธรณ์ธันย์ เพาะบุญ
THORNTHAN POHBOON
#นักศึกษา
สมาชิก
รัฐพงษ์ สุวลักษณ์
#อาจารย์
อาจารย์ที่ปรึกษา
โหวตนวัตกรรมนี้
กำลังดาวน์โหลด
Powered By KMITL Innovation Project