กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด
การบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพด้วยกลุ่มจุลินทรีย์ก้อน: อีเอ็มบอล
Biological wastewater treatment by effective microorganisms: EM balls
@คณะวิทยาศาสตร์
#KLLC 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
รายละเอียด
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอีเอ็มในรูปแบบก้อน (อีเอ็มบอล) เพื่อการปรับปรุงคุณภาพน้ำเสีย โดยในการศึกษานี้เป็นการบำบัดน้ำเสียที่ได้จากโรงอาหารคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ด้วยอีเอ็มบอลที่เสริมด้วยเชื้อจุลินทรีย์เชิงพาณิชย์ทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ โดยจะเก็บน้ำเสียตัวอย่างด้วยวิธีเก็บแบบรวม จำนวน 6 ลิตร และนำมาทำการทดลอง ซึ่งการทดลองจะถูกแบ่งออกเป็น 5 ชุดการทดลอง คือ ชุดการทดลองที่ 1: น้ำเสีย ชุดการทดลองที่ 2: น้ำเสีย+อีเอ็มบอลที่ไม่เสริมเชื้อจุลินทรีย์ ชุดการทดลองที่ 3: น้ำเสีย+อีเอ็มบอลที่เสริมด้วยเชื้อจุลินทรีย์เชิงพาณิชย์ที่ 1 ชุดการทดลองที่ 4: น้ำเสีย+อีเอ็มบอลที่เสริมด้วยเชื้อจุลินทรีย์เชิงพาณิชย์ที่ 2 ชุดการทดลองที่ 5: น้ำเสีย+อีเอ็มบอลที่เสริมด้วยเชื้อจุลินทรีย์เชิงพาณิชย์ที่ 3 จากนั้นจะนำตัวอย่างแต่ละชุดการทดลองมาวิเคราะห์คุณภาพน้ำที่ระยะเวลา 3, 6 และ 9 วัน โดยจะวิเคราะห์คุณภาพน้ำจากพารามิเตอร์ต่างๆ ดังนี้ คือ ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH), ค่าซีโอดี (COD), ค่าบีโอดี (BOD), ค่าดีโอ (DO) และ น้ำมันและไขมัน (Oil&Grease) ผลการทดลองพบว่าในวันที่เก็บตัวอย่างน้ำเริ่มต้น มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) คือ 4.81, ค่าซีโอดี (COD) คือ 74.88,
วัตถุประสงค์
ปัจจุบันการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นอีกอาชีพที่ได้รับความนิยมจากเกษตรกรไทย เนื่องจากสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเป็นจำนวนมาก ทั้งการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อยและสัตว์น้ำจืด แต่กิจกรรมต่าง ๆ ของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหากมีการจัดการที่ไม่ถูกต้อง เช่น การเลี้ยงสัตว์ที่หนาแน่นเกินไปไม่เหมาะสมกับพื้นที่บ่อ โดยในระบบการเลี้ยงแบบหนาแน่นอาจส่งผลทางลบต่อสุขภาพของสัตว์น้ำ ทำให้เกิดการติดเชื้อโรคได้ง่ายขึ้น และในเรื่องของการให้อาหารที่ไม่เหมาะสมกับความต้องการของสัตว์ ทำให้น้ำในบ่อมีปริมาณเศษอาหาร ของเสียปฏิกูล สารเคมี ตกค้างอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาการเน่าเสียของน้ำในบ่อ ปัญหากลิ่นเหม็น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนตามมา โดยวิธีการอย่างหนึ่งที่สามารถนำมาใช้บำบัดน้ำทิ้งจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คือ การใช้จุลินทรีย์สายพันธุ์ที่ปลอดภัยต่อสัตว์น้ำที่เพาะเลี้ยง (Pal, 2015) มาลดระดับมลพิษทางน้ำและยับยั้งการเจริญของเชื้อก่อโรคในสัตว์น้ำ สามารถทำได้ทั้งวิธีทางเคมีและทางชีวภาพ ในปัจจุบันการบำบัดด้วยวิธีทางชีวภาพได้รับความนิยมและมีการศึกษากันมากขึ้นเนื่องจากเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คือ การนำจุลินทรีย์มาใช้ในการบำบัดน้ำเสียหรือที่เรียกกันว่า จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (Effective Microorganism; EM) (Zakaria et al., 2010) การใช้โปรไบโอติกโดยเฉพาะสายพันธุ์บาซิลลัสในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้รับการยืนยันแล้วว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและช่วยลดปัญหาสุขภาพของสัตว์น้ำได้อีกด้วย (Sahu et al., 2008) ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นการพัฒนาอีเอ็มในรูปแบบก้อน (EM Balls) โดยเสริมด้วยจุลินทรีย์เชิงพาณิชย์ทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ ที่มีประสิทธิภาพในการปรับปรุงคุณภาพน้ำ เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและสามารถนำน้ำที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เช่น การลดมลภาวะจากของเสีย การนำไปใช้ทางด้านของเกษตรกรรม และยังสามารถส่งเสริมสุขภาพที่ดีของคนและสัตว์ได้อีกด้วย
ผู้จัดทำ
นัศรินทร์ จวนเจริญ
NUSRIN JUANJAREON
#นักศึกษา
สมาชิก
ณัฐนรี จูสิงห์
NATNAREE JUSING
#นักศึกษา
สมาชิก
วรกฤต วรนันทกิจ
WORAKRIT WORANANTHAKIJ
#อาจารย์
อาจารย์ที่ปรึกษา
โหวตนวัตกรรมนี้
กำลังดาวน์โหลด
Powered By KMITL Innovation Project