กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

เจลคงรูปสำหรับแผลผู้ป่วยเบาหวานจากสารสกัดเคี่ยม

Thermosensitive gel for diabetes wound healing form Resak

@วิทยาลัยการจัดการนวัตกรรมและอุตสาหกรรม

#Cluster 2024
#Healthcare and Wellness
เจลคงรูปสำหรับแผลผู้ป่วยเบาหวานจากสารสกัดเคี่ยม

รายละเอียด

ในโครงการนี้ได้ทำการพัฒนาไฮโดรเจลที่มีอนุภาคนาโนเงินของสารสกัดแก่นเคี่ยม ซึ่งเป็นอนุภาคนาโนเงินของสารสกัดแก่นเคี่ยมที่สามารถเตรียมได้ง่ายด้วยกระบวนการที่พัฒนาขึ้นให้ห้องปฏิบัติการ และมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา antioxidant ที่ดีมาก มีความสเถียร และสามารถนำมาใส่ในไฮโดรเจลที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบหลักที่เหมาะในการรักษาแผลติดเชื้อทั้งที่เป็นแผลขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ แผลที่มีความตื้น และลึกได้  สามารถใช้กับแผลกดทับได้ มีคุณสมบัติในการกระตุ้นการหายของแผล ซึ่งในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ที่มีขายในท้องตลาด มีเพียงรูปแบบครีมที่อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อเพิ่ม

วัตถุประสงค์

โรคเบาหวาน (Diabetes) ถือเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพสําคัญของกลุ่มโรคไม่ติดต่อ (Non-communicable diseases หรือ NCDs) ทั้งอุบัติการณ์ของโรคและอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วโดยพบว่าเบาหวานเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับที่ 4 ของประชากรโลกในกลุ่มโรคไม่ติดต่อทั้งหมดสําหรับประเทศไทยพบว่าโรคเบาหวานเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 7 ในประชากรเพศชาย และพบเป็นอันดับหนึ่งในประชากรเพศหญิงเมื่อเทียบกับสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด โดยคาดการณ์ว่าในปี ค.ศ. 2040 ผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกจะมีจํานวนมากกว่า 640 ล้านคน [1,2] และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยมี ผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นประมาณ 3 แสนคนต่อปีและมีผู้ป่วยโรคเบาหวานอยู่ในระบบทะเบียน 3.2 ล้านคน นํามาสู่การสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาด้านสาธารณสุขอย่างมหาศาล [2, 3] โดยสาเหตุหลักของการเสียชีวิตรวมถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ลดลงในผู้ป่วยเบาหวานมักเกิดจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นภายหลังการเป็นโรคเบาหวาน หนึ่งในอาการแทรกซ้อนที่พบได้กว่าร้อยละ 15 ถึง 25 หรือ ประมาณ 40 ถึง 60 ล้านคนของผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลก คือ ภาวะแผลเบาหวานที่เท้า (Diabetic Foot Ulcer : DFU) ซึ่งภายหลังจากผู้ป่วยเกิดแผลเบาหวานที่เท้ามักตามมาด้วยการติดเชื้อที่บริเวณแผล (diabetic foot infection) ซึ่งพบว่าเกิดขึ้นถึง ร้อยละ 56 และหากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องเหมาะสม จะทําให้การติดเชื้อลุกลามไปสู่ชั้นต่างๆที่ลึกลงไปกระทั่งถึงชั้นกระดูก (osteomyelitis) และตามมาด้วยการตัดอวัยวะ (amputation) นํามาซึ่งการมีคุณภาพชีวิตที่ลดลงเป็นอย่างมาก โดยสามารถเกิดขึ้นประมาณร้อยละ 15 หรือประมาณการว่าทุก 30 วินาที จะมีผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดแผลที่เท้าร่วมกับภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจะถูก ตัดขา (limb amputation) อย่างน้อย 1 ราย นอกจากผลกระทบดังกล่าวแล้วหากแผลเกิดการติดเชื้อรุนแรงเข้าสู่กระแสเลือด (septicemia) ทําให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ [1] 
	จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่ามีการนําสารสกัดจากธรรมชาติมาใช้ในการสังเคราะห์อนุภาคนาโนเงิน (AgNPs) เช่น การใช้สารสกัดจากใบฝรั่งในการสังเคราะห์อนุภาคนาโนเงิน (AgNPs) ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ S. aureus และ S. epidermidis และมีฤทธิ์ antioxidant (Fredrick NE et al.,2022) การใช้สารสกัดจากใบของ Trigonella foenum-graecum ซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา antioxidant และ photocatalytic และจากรายงานการศึกษาของ Jutaporn C. และคณะ (2011) ได้มีการศึกษาการนําสารสกัดจากแก่นเคี่ยมมาเตรียมเป็น hydroxypropyl methylcellulose (HPMC) films ซึ่งใ ห้ฤ ท ธ ิ ์ ใ น ก า ร ต ้ า น เ ช ื ้ อ Escherichia coli O175: H7, Staphylococcus aureus และ Listeria monocytogenes รวมถึงจากรายงานการศึกษาของ S. Chanthachum และ L.R. Beuchat (1997) ยังให้ ผลการทดสอบปริมาณสารประกอบฟีนอลิก (phenolic content) และแทนนิน (tannin content) ที่สูงแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการเป็น reducing agent ที่ดีต่อการนํามาสังเคราะห์เป็นอนุภาคนาโน โดยในปัจจุบันยังไม่พบรายงานการศึกษาใดที่มีการใช้สารสกัดจากแก่นเคี่ยมมาเตรียมเป็นอนุภาคนาโนเงิน (AgNPs)เพื่อใช้ศึกษาฤทธิ์ในการต้านเชื้อจุลชีพ
	ในโครงการนี้ได้ทำการพัฒนาอนุภาคนาโนเงินของสารสกัดแก่นเคี่ยมพบว่า อนุภาคนาโนเงินของสารสกัดแก่นเคี่ยมสามารถเตรียมได้ง่ายด้วยกระบวนการที่พัฒนาขึ้นให้ห้องปฏิบัติการ และมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา antioxidant ที่ดีมาก มีความสเถียร และสามารถนำมาใส่ในไฮโดรเจลที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบหลักที่เหมาะในการรักษาแผลติดเชื้อทั้งที่เป็นแผลขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ แผลที่มีความตื้น และลึกได้

ผู้จัดทำ

สุรพงษ์ สิริพงศ์ดี
Surapong Siripongdee

#อาจารย์

สมาชิก
แววมยุรา คำสุข
Wawmayura Chamsuk

#อาจารย์

สมาชิก
รุซลัน เบ็ญสะอีด
RUSLAN BENSA-ID

#นักศึกษา

สมาชิก
ทอแสงรัศมี ถีถะแก้ว

#อาจารย์

สมาชิก
สมชาย สอนสุภาพ
Somchai Sonsupap

#อาจารย์

สมาชิก
ชัยวัฒน์ พรหมเพชร

#อาจารย์

สมาชิก

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด