กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด
โซลติค
Zoltic
@วิทยาลัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมวัสดุ
#Cluster 2024
#Healthcare and Wellness
รายละเอียด
อุตสาหกรรมเครื่องสำอางกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งกระแสความนิยมในการใช้เครื่องสำอางในปัจจุบันนั้นมุ่งเน้นไปที่การใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติแทนสารเคมี เบนโทไนต์ (Bentonite) เป็นแร่ดินชนิดหนึ่งซึ่งมีปริมาณมากในประเทศไทย และมีศักยภาพสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อย่างไรก็ตามมันสามารถใช้เป็นสารตั้งต้นสำหรับสังเคราะห์วัสดุซีโอไลต์ซึ่งเป็นวัสดุขั้นสูงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและมูลค่าให้มากขึ้นได้ งานวิจัยนี้ได้ทำการสังเคราะห์ซีโอไลต์ A และซีโอไลต์ X จากแร่ดินเบนโทไนต์ในประเทศไทยโดยใช้กระบวนการไฮโดรเทอร์มัล 2 ครั้ง ซึ่งภายในโครงสร้างของเบนโทไนต์ธรรมชาติมีสิ่งเจือปนอยู่จำนวนมากและต้องมีการปรับปรุงคุณภาพของเบนโทไนต์ก่อนที่จะนำมาใช้เป็นแหล่งซิลิกาและแหล่งอะลูมินา งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาปัจจัยต่างๆที่มีอิทธิพลต่อการสังเคราะห์ซีโอไลต์ ได้แก่อุณหภูมิ ระยะเวลา และความเข้มข้นของสารละลายเบสโซเดียมไฮดรอกไซด์ในกระบวนการไฮโดรเทอร์มัลครั้งที่หนึ่ง ความเข้มข้นของสารละลายกรดไฮโดรคลอริกในการเตรียมอะลูมิโนซิลิเกตเจล และศึกษาอิทธิพลของอุณหภูมิ ระยะเวลา และความเข้มข้นของสารละลายเบสโซเดียมไฮดรอกไซด์ในในกระบวนการไฮโดรเทอร์มัลครั้งที่สอง จากผลการทดลองซึ่งทำการวิเคราะห์โดยเทคนิคต่างๆได้แก่เทคนิควิเคราะห์การเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ (X-ray diffraction, XRD), เทคนิคกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning electron microscope, SEM), และเทคนิคฟูเรียร์ทราส์ฟรอมอินฟาเรด (Fourier transform infrared spectroscopy ; FTIR) พบว่าสภาวะที่ดีที่สุดในการสังเคราะห์ซีโอไลต์เอและซีโอไลต์เอ็กซ์เป็นดังนี้คือ อุณหภูมิในการไฮโดรเทอร์มัลครั้งแรกเท่ากับ 200 องศาเซลเซียส ระยะเวลาในกระบวนการไฮโดรเทอร์มัลครั้งแรกเท่ากับ 7 ชั่วโมง โดยใช้ความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 8 โมลาร์ ใช้ความเข้มข้นของสารละลายกรดไฮโดรคลอริกในการเตรียมอะลูมิโนซิลิเกตเจลเท่ากับ 1 โมลาร์ ใช้ความเข้มข้นของสารสะลายเบสโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่เหมาะสมที่สุดในการทำไฮโดรเทอร์มัลครั้งที่สองเท่ากับ 1 โมลาร์ แล้วทำการไฮโดรเทอร์มัลครั้งที่สองที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส ที่ระยะระยะเวลา 3 วันสำหรับซีโอไลต์เอ และที่ระยะเวลา 5 วันสำหรับซีโอไลต์เอ็กซ์ และได้ทำการขยายกำลังการผลิตไปยังระดับอุตสาหกรรมเพื่อประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต่อไป
วัตถุประสงค์
ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มาจากธรรมชาติกำลังได้รับความนิยมแทนการใช้สารเคมี โดยเบนโทไนต์ (Bentonite) เป็นแร่ดินชนิดหนึ่งซึ่งมีปริมาณมากและมีศักยภาพสูงในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อย่างไรก็ตามมันสามารถใช้เป็นสารตั้งต้นสำหรับการสังเคราะห์วัสดุซีโอไลต์ซึ่งมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น โดยทั่วไปแล้วการสังเคราะห์ซีโอไลต์ต้องใช้กระบวนการเผาซึ่งก่อมลพิษและใช้พลังงานสูง งานวิจัยครั้งนี้จึงใช้เทคนิคไฮโดรเทอร์มัลซึ่งใช้พลังงานต่ำกว่า ปลอดภัยมากกว่า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าในการสังเคราะห์ซีโอไลต์
ผู้จัดทำ
อภิลักษณ์ เอียดเอื้อ
Apiluck Eiad-Ua
#อาจารย์
สมาชิก
วรภัค ตันวงศ์วาล
WORAPAK TANWONGWAN
#นักศึกษา
สมาชิก
โหวตนวัตกรรมนี้
กำลังดาวน์โหลด
Powered By KMITL Innovation Project