กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

แอปพลิเคชันช่วยเหลือผู้พิการทางร่างกาย: แปลภาษามือเป็นเสียงพูดด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

An application to assist individuals with physical disabilities: Translating sign language into spoken language using artificial intelligence technology.

@คณะวิทยาศาสตร์

#Cluster 2024
#Digital Technology
แอปพลิเคชันช่วยเหลือผู้พิการทางร่างกาย: แปลภาษามือเป็นเสียงพูดด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

รายละเอียด

-

วัตถุประสงค์

ในปัจจุบันการสื่อสารเป็นเรื่องที่ทุกคนในสังคมต้องการและอาจถือว่าเป็นสิ่งธรรมดาในชีวิตประจำวัน แต่สำหรับบางคน การสื่อสารกลับเป็นปัญหาที่ยากลำบาก เช่น กลุ่มผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่ไม่สามารถสื่อสารได้อย่างปกติ สำหรับพวกเขา การสื่อสารอาจต้องเป็นภาษามือ แต่การที่ผู้อื่นจะเข้าใจได้และตอบสนองกับภาษามืออาจไม่ง่ายเนื่องจากต้องมีความรู้ด้านภาษามือในระดับนึงจึงจะสามารถสื่อสารกับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินได้ (สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย ,2565)
      บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง ผู้ที่สูญเสียสมรรถภาพทางการได้ยินเนื่องจากอวัยวะ
การได้ยิน ทำให้มีผลกระทบต่อบุคคลนั้น ๆ ข้อมูลจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการในปี 2564 มีคนพิการที่ได้รับการออกบัตรประจำตัวคนพิการ จำนวน 2,138,155 คน (ร้อยละ 3.23 ของประชากรทั้งประเทศ) พบว่ามีจำนวนผู้พิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย จำนวน 398,659 คน (ร้อยละ 18.65) ซึ่งเป็นอันดับที่ 2 ของจำนวนประชากรผู้พิการในประเทศ
ไทย เทียบจากข้อมูลปี 2563 ที่มีจำนวนผู้พิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย จำนวน 391,785คน
จะเห็นได้ว่าจำนวนคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี เป็นเรื่องที่น่า
เสียดายหากคนที่มีความผิดปกติทางด้านการได้ยินหรือคนพิการทางการได้ยินแต่กำเนิดจะต้องสูญเสียการได้
ยินไปตลอดชีวิต เพราะหากบุคลากรของชาติที่จะเติบโตขึ้นในอนาคตจะต้องกลายเป็นคนพิการและอาจทำให้
รู้สึกไร้ค่าในการใช้ชีวิตในสังคม ทั้งที่ความเป็นจริงพวกเขามีความสามารถ เพียงแต่ขาดโอกาสทางการสื่อสาร
เท่านั้น การช่วยเหลือคนกลุ่มนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ (สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย ,2565)
         ในโลกที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางดิจิทัล เรามีโอกาสในการแก้ปัญหานี้โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และการประมวลผลรูปภาพ เราสามารถที่จะสร้างแอปพลิเคชันที่ช่วยแปลงภาษามือเป็นเสียงพูด ซึ่งจะช่วยให้กลุ่มผู้พิการทางการได้ยินสามารถสื่อสารและเข้าถึงข้อมูลในโลกดิจิทัลได้อย่างสะดวกและมีความเป็นอิสระมากขึ้น ในปัจจุบันได้มีการคิดค้นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการช่วยแปลความหมายของภาษามือกันมากขึ้น“ภาษามือ” คือ ภาษาสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน ใช้มือ สีหน้า และกิริยาท่าทาง ประกอบในการสื่อความหมายและถ่ายทอดอารมณ์แทนการพูดภาษามือของแต่ละชาติมีความแตกต่างกันเช่นเดียวกับภาษาพูดซึ่งแตกต่างกันตามขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และลักษณะภูมิศาสตร์ เช่น ภาษามือจีน ภาษามืออเมริกัน และภาษามือไทย เป็นต้น ภาษามือสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท (1) ภาษามือประดิษฐ์ (Signed) คือภาษามือที่ครู ผู้ปกครอง หรือญาติมิตร ของผู้พิการทางการได้ยินคิดค้นแทนภาษาพูด และภาษาเขียนประจำชาติ เพื่อให้มีคำใช้ให้เพียงพอในการศึกษาและการสื่อสารความหมายโดยเฉพาะเรื่องนามธรรมภาษามือที่ประดิษฐ์ขึ้นมานี้มักจะนำแบบสะกดนิ้วมือ (Finger-Spelling) มาประสมด้วย เช่น ชื่อเฉพาะ, ตัวอักษร, วรรณยุกต์, สระเดี่ยว, ตัวเลข เป็นต้น (ภัทรณัฎฐ์ ศรีบุญเรือง, 2565)
           งานวิจัยนี้ได้ออกแบบสร้างโปรแกรมแปลภาษามือเป็นข้อความโดยการแปลภาษามือไทยให้เป็นข้อความและเสียงภาษาไทย และแปลกลับในทางกลับกัน โดยใช้ข้อมูลวิดีโอภาษามือไทย

ผู้จัดทำ

ชนาธิป อินทร์อุดม
CHANATHIP INUDOM

#นักศึกษา

สมาชิก
ธนภัทร เรืองจันทร์
THANAPHAT RUANGJAN

#นักศึกษา

สมาชิก
นัทธพงศ์ หงษ์รัตน์
NATTAPONG HONGRAT

#นักศึกษา

สมาชิก
พรพิมล ชัยวุฒิศักดิ์
Pornpimol Chaiwuttisak

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษา

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด