กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

การปรับปรุงเชื้อเพลิงอัดเม็ดจากกากปาล์มและตะกอนน้ําเสียจากอุตสาหกรรมน้ํามันปาล์มเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน

IMPROVEMENT OF PALM OIL WASTE PELLET FUEL AND SEWAGE SLUDGE FROM PALM OIL INDUSTRY

@คณะวิทยาศาสตร์

#KLLC 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
การปรับปรุงเชื้อเพลิงอัดเม็ดจากกากปาล์มและตะกอนน้ําเสียจากอุตสาหกรรมน้ํามันปาล์มเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน

รายละเอียด

จากปริมาณความต้องการการใช้น้ำมันปาล์มภายในประเทศในอุตสาหกรรมและภาคขนส่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันปาล์มเกิดของเสียจากการผลิตเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะของเสียกากน้ำมันปาล์มที่ได้จากการสกัดน้ำมันปาล์ม และกากตะกอนน้ำเสียจากกระบวนการผลิตซึ่งเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้จึงนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อนำของเสียชีวมวลกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์และเป็นแหล่งพลังงานทดแทน วัตถุประสงค์ของวิจัยชิ้นนี้เพื่อศึกษากระบวนการผลิตเชื้อเพลิงอัดเม็ดและสัดส่วนชีวมวลอัดเม็ดในการขึ้นรูปของกากตะกอนน้ำเสียและกากปาล์ม และศึกษาคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพ ได้แก่ สมบัติค่าความร้อน ค่าความชื้น ปริมาณเถ้า ปริมาณคาร์บอนคงตัว และค่าความคงทน เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนในโรงงานอุตสาหกรรม ผลการศึกษาพบว่าเชื้อเพลิงอัดเม็ดจากตะกอนน้ำเสียและกากปาล์มมีความชื้น(Moisture) ค่อนข้างสูงถึง 36.78% , 16.41% ตามลำดับ ปริมาณเถ้า (Ash) ของตะกอนน้ำเสียและกากกากปาล์มค่อนข้างสูงถึง 11.22% , 31% ปริมาณสารระเหย (Volatile Mater) ของตะกอนน้ำเสียและกากปาล์ม 53.33% , 51.41% ตามลำดับ และพบว่าค่าความร้อนมีค่าอยู่ในช่วง 12-19 MJ/Kg ซึ่งเหมาะสมในการการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง ผลการศึกษาที่ได้จะเป็นแนวทางในการนำของเสียที่ได้จากโรงงานอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มมาใช้ผลิตเชื้อเพลิงอัดเม็ดเพื่อใช้ทดแทนเชื้อเพลิงในภาคอุตสาหกรรม และสามารถลดต้นทุนในกำจัดของเสียภายในโรงงาน

วัตถุประสงค์

เนื่องจากความต้องการในการใช้น้ำมันปาล์มในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมต้องผลิตน้ำมันปาล์มมากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดกากอุตสาหกรรมหรือของเสียจากกระบวนการผลิตจากโรงงานปาล์มน้ำมัน การกำจัดกากตะกอนนน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรงปัญหาหนึ่งของประเทศไทย ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเสียตามมาจึงเกิดนวคิดในการนำของเสียจากกระบวนการผลิตน้ำมันปาล์ม นำมาพัฒนาเป็นพลังงานเชื้อเพลิง โดยมีกากปาล์มและตะกอนน้ำเสียเป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นชีวมวลอัดเม็ด เพื่อนำมาเป็นพลังงานทดแทน และลดปัญหาค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเสียภายในโรงงานได้อีกด้วย

ผู้จัดทำ

สุชัญญา หล้าคอม
SUCHANYA LAKHOM

#นักศึกษา

สมาชิก
พิมพ์ชนก บุญบาง
PIMCHANOK BOONBANG

#นักศึกษา

สมาชิก
วรัญญภัทร สิงห์กลม
WARUNYAPAT SINGKLOM

#นักศึกษา

สมาชิก
ปรางค์ทิพย์ ฤทธิโชติ แก้วเพ็งกรอ
PRANGTIP RITTICHOTE KAEWPENGKROW

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษา

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด