กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด
โครงการออกแบบบรรจุภัณฑ์และระบบกราฟิกสำหรับศูนย์จำหน่ายสินค้าทางการเกษตรและการเรียนรู้เชิงเกษตรภายใต้สวนเทพพิทักษ์ จังหวัดตาก
Packaging and Graphic System Design for the agricultural product distribution center by Theppitak Farm, Tak Province
@คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ
#KLLC 2024
#Healthcare and Wellness
รายละเอียด
-
วัตถุประสงค์
สวนเทพพิทักษ์ เป็นสวนผลไม้ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดตาก มีพื้นที่สวนกว่า 900 ไร่ และเป็นผู้คิดค้นในการพัฒนาสายพันธุ์ทับทิมศรีปัญญา ซึ่งเป็นทับทิมที่มีลักษณะเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของอำเภอพบพระ ทำให้สวนเทพพิทักษ์มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดตาก ซึ่งมีสัดส่วนผลการจำหน่ายผลผลิตต่อปีแบ่งออกเป็นสามส่วนคือ ส่วนแรกได้จากการจำหน่ายผลไม้สดที่มีคุณภาพสูง 70% โดยมีการขายให้กับพ่อค้าคนกลางทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่วนที่สองจากผลผลิตที่ไม่ผ่านมาตรฐาน 25% ซึ่งจะถูกนำไปจำหน่ายในราคาที่ต่ำกว่าปกติ ทำให้ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือและรายได้ของสวนเทพพิทักษ์ในระยะยาว และส่วนสุดท้ายมาจากสินค้าเกษตรแปรรูป 5% แต่ไม่สามารถหาช่องทางการจำหน่ายที่เหมาะสมได้ จะเห็นได้ว่ารายได้หลักของสวนเทพพิทักษ์มากจากการส่งจำหน่ายผลไม้สดเป็นหลัก ซึ่งผลผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานมาจากข้อจำกัดของการปลูกผลไม้ด้านสภาพอากาศที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและรสชาติของผลไม้ และไม่สามารถจัดการกับผลผลิตได้ทั้งหมด ซึ่งปริมาณผลผลิตที่ไม่ผ่านมาตรฐานที่เกิดขึ้นทำให้สวนขาดรายได้จำนวนมาก ดังนั้นสวนเทพพิทักษ์ควรหาวิธีการขยายความหลากหลายของสินค้าและการจำหน่ายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้และภาพลักษณ์ของสวน จึงมีแนวโน้มที่ดีที่สวนเทพพิทักษ์จะเริ่มต้นที่จะพัฒนาและเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตที่ไม่ผ่านมาตรฐานของสวนประกอบกับทางสวนเทพพิทักษ์เป็นสวนแห่งนวัตกรรมที่คิดค้น และพัฒนาสายพันธุ์ผลไม้หลากหลายชนิด มีองค์ความรู้เกี่ยวกับการเกษตร และนวัตกรรมทางด้านการเกษตรมากมาย ทำให้สวนเทพพิทักษ์ยังเป็นแหล่งการเรียนรู้และแบ่งปันความรู้ทางการเกษตรให้กับเกษตรกรในพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีการให้บริการโฮมสเตย์ (Homestay) เพื่อให้ผู้มาเยือนได้สัมผัสบรรยากาศของการใช้ชีวิตใกล้ชิดกับธรรมชาติ โดยส่วนมากจะเปิดให้เครือญาติเข้าพักมากกว่าการสร้างรายได้ให้กับสวน จะเห็นได้ว่าสวนเทพพิทักษ์มีศักยภาพที่สามารถพัฒนาสินค้าให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงเกษตรของจังหวัดได้เป็นอย่างดี จึงมีความตั้งใจในการขยับขยายและจัดตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้าและการเรียนรู้เชิงเกษตร ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด บีซีจี ทัวร์ริซึม ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เพื่อส่งเสริมในเรื่องของการลดของเสียที่เกิดจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร และการสร้างอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้กับชุมชน โดยการให้บริการแบบ ครบจบในที่เดียว (all-in-one) ให้กับผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายสินค้า การให้ความรู้ หรือการให้ประสบการณ์
ผู้จัดทำ
ณัฐณิชา แดงผ่องศรี
NATNICHA DAENGPHONGSI
#นักศึกษา
สมาชิก
ธนารักษ์ จันทรประสิทธิ์
Thanarak Chantaraprasit
#อาจารย์
อาจารย์ที่ปรึกษา
โหวตนวัตกรรมนี้
กำลังดาวน์โหลด
Powered By KMITL Innovation Project