กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด
แอปพลิเคชันบริหารเวลาด้วยเทคนิค Pomodoro & Gamification
Time management Application using Pomodoro technique and Gamification
@คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
#Cluster 2024
#Digital Technology
รายละเอียด
เวลาเป็นส่วนสำคัญที่หลายคนอาจไม่คำนึงถึง ไม่ว่าเป็นการทำงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ หากมีการจัดการเวลาที่ไม่เหมาะสมสามารถส่งผลเสียต่อตัวเองได้ เนื่องด้วยบริษัท บอร์นทูเดฟ จำกัด มีการให้บริการเกี่ยวกับความรู้ด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีรูปแบบการเรียนการสอนทั้งคอร์สเรียนออนไลน์ และหลักสูตรสำหรับองค์กร เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพของผู้เรียนทางบริษัทได้มอบหมายโครงงานในการพัฒนาแอปพลิเคชันด้วยเทคนิค Pomodoro ที่เป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพในการช่วยจัดการเวลาและทำให้สามารถจดจ่อกับงานได้ดียิ่งขึ้น โดยแบ่งงานเป็นช่วงละ 25 นาที ในการทำงานร่วมไปกับการพัก 5 นาที เพื่อลดความเหนื่อยล้า โดยที่คุณสมบัติของแอปพลิเคชันโดยรวมจะมีฟังก์ชันการทำงานตามหลัก Pomodoro ที่สามารถจัดการงาน, เล่นเพลง ตลอดจนฟังก์ชันพื้นฐานอื่น ๆ ร่วมไปกับหลักการ Gamification ที่ช่วยในการสร้างแรงจูงใจในการใช้งานแอปพลิเคชัน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ใช้งาน React Native ในการพัฒนาเป็นหลัก
วัตถุประสงค์
ตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีและผู้เผยแพร่ความรู้ (Tech Consultant and Evangelist ) ที่ได้รับผิดชอบมีหน้าที่หลักคือ คอยให้คำปรึกษาและตอบคำถามสมาชิกในชุมชนของ Borntodev และจัดทำ Content ที่เป็นเนื้อหาไว้สำหรับเผยแพร่ความรู้ลงแพลตฟอร์มต่าง ๆ ของบริษัทและมีบางกรณีที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ ผู้ช่วยสอนร่วมกับพี่ที่ปรึกษาในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ก็ได้รับมอบหมายเพิ่มเติมให้เข้าไปตรวจการบ้านของนักเรียนในคอร์สเรียนและได้สังเกตถึง ผลการตอบกลับของผู้เรียนที่บางส่วน “ไม่สามารถจัดการบริหารเวลาในการศึกษา” ทำให้นำประเด็นนี้มาปรึกษากับผู้จัดการร่วมกับพี่ที่ปรึกษา หลังจากการพูดคุยจึงได้รับมอบหมายโครงงานคือ การพัฒนาแอปพลิเคชันในการบริหารจัดการเวลาด้วยหลักการ Pomodoro พร้อมกับชี้แจงและอธิบายให้เข้าใจถึงการทำงานที่ต้องมีในแอปพลิเคชันพร้อมกับแผนผังโดยรวม (Wireframe) พร้อมกันนี้พี่ที่ปรึกษาได้เสนอให้มีการนำกระบวนการพัฒนาแอปพลิเคชันที่พัฒนามาจัดทำเป็นแหล่งความรู้เผยแพร่บนเว็บไซต์ Borntodev.com ในรูปแบบของ บทความ เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบในการทำงานที่บริษัทด้วย
ผู้จัดทำ
ชัยรวิชญ์ เอี่ยมขจรชัย
CHAIRAWICH IAMKHAJORNCHAI
#นักศึกษา
สมาชิก
บุญประเสริฐ สุรักษ์รัตนสกุล
Boonprasert Surakratanasakul
#อาจารย์
อาจารย์ที่ปรึกษา
โหวตนวัตกรรมนี้
กำลังดาวน์โหลด
Powered By KMITL Innovation Project