กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

การออกแบบระบบบนชิปและฮาร์ดแวร์เร่งประมวลผล LSTM แบบปรับแต่งได้

System on Chips Design with Configurable LSTM Hardware Accelerator

@คณะวิศวกรรมศาสตร์

#KLLC 2024
#Digital Technology
การออกแบบระบบบนชิปและฮาร์ดแวร์เร่งประมวลผล LSTM แบบปรับแต่งได้

รายละเอียด

โครงงานครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา project 2 โดยจัดทำขึ้นเพื่อนำความรู้ในวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้ศึกษานำมาออกแบบวงจรรวมดิจิตอล โดยเป็นการออกแบบระบบบนชิปและฮาร์ดแวร์เร่งประมวลผล LSTM ที่สามารถปรับแต่งได้ และออกแบบหน่วยประมวลผลสัญญาณดิจิทัล เพื่อกรองข้อมูลผ่าน MFCC รวมไปถึงศึกษาการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดการให้ได้ระบบที่ทำให้การทำงานของระบบมีประสิทธิภาพสูงที่สุดที่สามารถคำนวณความแม่นยำในการทำนายคำตอบของเสียงพูดได้ถูกต้อง

วัตถุประสงค์

ระบบบนชิป คือ การที่นำหน่วยประมวลผล หน่วยความจำ และส่วนของการควบคุมอื่นๆเข้ามารวมไว้อยู่ภายในชิปตัวเดียว ซึ่งก่อให้เกิดเป็นวงจรชิปที่ถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานใดการใช้งานหนึ่งโดยเฉพาะ (Application Specific Integrated Circuit) หรืออาจเป็นหน่วยประมวลผลทั่วไป (General Purposed Processor) สัญญาณเสียงที่ใช้ในการสื่อสาร มีลักษณะของคำพูดแต่ละคำที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งในคำพูดแต่ละคำจะมีลักษณะความเข้มของเสียงต่างกันในแต่ละช่วง (Amplitude) เราสามารถใช้สัญญาณเสียงนี้เป็นข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์และจำแนกออกมาเป็นคำสั่งที่ชัดเจนในโครงงานนี้ จึงสร้างระบบบนชิปและฮาร์ดแวร์เร่งประมวลผล LSTM แบบปรับแต่งได้มาใช้เพื่อประมวลผลการรู้จำเสียงพูด และ สามารถเข้าใจในคำสั่งเสียงผ่านไมโครโฟนเพื่อทำตามคำสั่งที่พูดโดยระบบบนชิปสามารถยืดหยุ่นที่จะปรับค่าความละเอียดและความเสถียรของระบบเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยจะแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนในโครงงานชิ้นนี้เป็นส่วนแรก

ผู้จัดทำ

ไพรสณฑ์ มูลเมือง
PRYSOL MOOLMUANG

#นักศึกษา

สมาชิก
นวพล ชิณวงศ์พรหม
NAWAPHON CHINWONGPROM

#นักศึกษา

สมาชิก
สุเมฆ วิศยทักษิณ
Sumek Wisayataksin

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษา

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด