กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด
สารปรับปรุงดินจากธรรมชาติคุณภาพสูง
Superior organic soil
@วิทยาลัยการจัดการนวัตกรรมและอุตสาหกรรม
#Cluster 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
รายละเอียด
สารปรับปรุงดินคุณภาพสูงได้รับการปรุงจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ลีโอนาไดด์ ปุ๋ยคอก และเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร โดยการเพิ่มธาตุอาหารและสิ่งจำเป็นเพื่อให้เหมาะสำหรับพืชต่างๆ ได้แก่ พืชผล พืชดอก เป็นต้น สารปรับปรุงดินทำโดยการตีกวนผสมแบบแห้งด้วยเครื่องผสม พร้อมกับกระบวนการเพิ่มธาตุอาหารด้วยการสกัดฮิวมิคจากลีโอนาไดด์ จากกระบวนการรีฟลักซ์ เพื่อให้ได้สารปรับปรุงดินที่มีลักษณะแห้งและที่มีสมบัติที่ดี มีธาตุอาหารเพียงพอต่อความต้องการของพืช ใช้งานง่ายและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์
ปัจจุบันในภาคอุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ สามารถทำรายได้สูงถึงปีละกว่าสี่แสนล้านบาท และยังเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเกือบทั้งหมด ช่วยให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เป็นจำนวนมาก โดยภาคการเกษตรซึ่งเป็นอาชีพหลักของประชากรส่วนใหญ่ ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนให้อุตสาหกรรมนี้สามารถมีศักยภาพอย่างครบวงจร คือการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยในกระบวนการผลิต เนื่องจากการผลิตวัตถุดิบด้านการเกษตรในประเทศในปัจจุบันมีการใช้ปุ๋ยเคมีนำไปสู่ค่าใช้จ่ายที่เกินความจำเป็น ทั้งนี้การจัดการที่ดีในการเกษตร (Good Agricutural Practice:GAP) หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing Practice:GMP) และการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤติที่ต้องควบคุม (Hazard Analysis Critical Control Point :HACCP) จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆ ในการเกษตรในยุปัจจุบัน นอกจากนี้วิทยาการทางเทคโนโลยีชีวภาพในปัจจุบันได้ก้าวหน้าไปมาก ทำให้ประเทศคู่ค้ามีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง ซึ่งหากไม่มีการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแล้วก็จะทำให้อุตสาหกรรมอาหารของไทยประสบปัญหาในการแข่งขันในระยะยาวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากเหตุผลดังกล่าวสิ่งที่โครงการพัฒนาขึ้นเพื่อต้องการช่วยเหลือเกษตรกรในการลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการเกษตรกรรม นำไปสู่การเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ อีกทั้งยังเพิ่มมูลค่าของวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร และโครงการนี้ได้รับความร่วมมือทางวิชาการและวัสดุลีโอนาไดต์จากวิสาหกิจชุมชน อ.แม่เมาะ และ กฟภ. อำแม่เมาะ จ.ตาก ในการเพิ่มศักยภาพของสารปรับปรุงดินคุณภาพสูง
ผู้จัดทำ
สมชาย สอนสุภาพ
Somchai Sonsupap
#อาจารย์
สมาชิก
ชัยวัฒน์ พรหมเพชร
#อาจารย์
สมาชิก
อรณิชา หน่อแก้ว
ORNICHA NORKAEW
#นักศึกษา
สมาชิก
สามารถ ดีพิจารณ์
#อาจารย์
สมาชิก
โหวตนวัตกรรมนี้
กำลังดาวน์โหลด
Powered By KMITL Innovation Project