กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

เครื่องมือสำหรับการพยากรณ์และการหาปริมาณการสั่งซื้อวัสดุประเภทม้วน กรณีศึกษา บริษัทผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

Forecasting and quantifying purchases of roll material tools: A case study of a print media production company

@คณะวิทยาศาสตร์

#KLLC 2024
#Industry 4.0
เครื่องมือสำหรับการพยากรณ์และการหาปริมาณการสั่งซื้อวัสดุประเภทม้วน กรณีศึกษา บริษัทผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

รายละเอียด

-

วัตถุประสงค์

ในปัจจุบันมีการแข่งขันทางด้านธุรกิจกันมากขึ้นเรื่อย ๆ การดําเนินการธุรกิจใด ๆ ย่อมต้องการผลกําไรสูงสุด ผู้ประกอบการจําเป็นต้องหาแนวทางในการลดต้นทุนของการดําเนินงานในทุก ๆ ด้านที่สามารถทําได้ และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันทางการขายเพื่อเพิ่มกําไรให้ได้มากที่สุด  ต้นทุนอย่างหนึ่งที่มีความสําคัญและส่งผลอย่างยิ่งต้องการดําเนินธุรกิจ คือ ต้นทุนด้านสินค้าคงคลัง ซึ่งการจัดการสินค้าคงคลังเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานด้านต้นทุนเนื่องจากผู้ประกอบการต้องทําการติดตามควบคุมปริมาณการจัดการเก็บสินค้าคงคลังและปริมาณการสั่งซื้อหรือผลิตสินค้าแต่ละชนิดในแต่ละครั้งให้เหมาะสมกับปริมาณความต้องการที่ต้องใช้ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่สินค้าขาดแคลนส่งผลให้เสียโอกาสในการขาย หรือการมีสินค้าในคลังมากเกินปริมาณความต้องการใช้ จนทําให้ส่งผลต่อต้นทุนด้านสินค้าคงคลัง ดังนั้นการดําเนินการธุรกิจใด ๆ ก็ตามต้องพยายามเพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินงานเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าหรือผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา (ช่อผกา  โพธิ์ร่มไทร และปวีณา  เชาวลิตวงศ์. 2564)
บริษัทผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผู้วิจัยได้นำมาศึกษานั้น เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในการให้บริการ ออกแบบ ติดตั้ง และผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ทุกประเภท เช่น Banner Booth Display Wrap Digital Printing ป้ายกล่องไฟ (Divider) ป้ายโครงไม้ เป็นต้น จึงมีความหลากหลายทั้งเครื่องพิมพ์ วัสดุที่ใช้ในการผลิตและความต้องการของลูกค้า ซึ่งการผลิตจะดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องนั้น จะต้องคำนึงถึงคลังสินค้าเป็นสำคัญ เนื่องจากการบริหารจัดการคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพ ควบคุมสินค้าคงคลังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการผลิตจะช่วยลดปัญหาการขาดแคลนวัสดุที่ทำให้กระบวนการผลิตต้องหยุดชะงัก ในทางกลับกัน หากมีวัสดุในคลังสินค้ามากเกินปริมาณความต้องการอาจทำให้วัสดุที่อยู่ในคลังเป็นเวลานานมีคุณภาพการใช้งานลดลง เช่น เครื่องพิมพ์พิมพ์หมึกไม่ติดกับวัสดุชิ้นงาน ซึ่งประเภทงานพิมพ์ที่หลากหลายกับความต้องการที่ไม่แน่นอนของลูกค้าทำให้บริษัทจะต้องสำรองวัสดุไว้ อย่างไรก็ตามบริษัทไม่มีการคำนวณหาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม เป็นเพียงการเฉลี่ยข้อมูลสถิติการสั่งซื้อย้อนหลังประกอบกับประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่คลังสินค้า ซึ่งในบางช่วงโดยเฉพาะเทศกาลจะมีปริมาณงานผลิตป้ายหรือสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆจำนวนมากเพื่อใช้ในการส่งเสริมการตลาดทั้งในด้านการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย อาจทำให้วัสดุบางชนิดขาดจากคลังสินค้าส่งผลให้การผลิตต้องหยุดชะงักไป
ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยนำเทคนิคการวิเคราะห์แบบเอบีซี (ABC Analysis) มาใช้แบ่งกลุ่มวัสดุตามลําดับความสําคัญ และใช้ทฤษฎีการพยากรณ์ (Time Series) พยากรณ์ปริมาณความต้องการใช้วัสดุ เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการสั่งซื้อโดยใช้ทฤษฎีปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด (Economic Order Quantity: EOQ) มาใช้ในการบริหารจัดการคลังสินค้า คำนวณหาปริมาณการสั่งซื้อ จุดสั่งซื้อใหม่ (Re-Order Point: ROP) และระดับสินค้าคงคลังสำรอง (Safety Stock: SS) แล้วจัดทำระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการคลังสินค้า โดยพัฒนาเครื่องมือสำหรับการพยากรณ์และหาปริมาณการสั่งซื้อของวัสดุกลุ่ม A บนโปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Office Excel 365 ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

ผู้จัดทำ

ชนิตา อุ้ยสั้ว
CHANITA AUISUA

#นักศึกษา

สมาชิก
ชลณิชา คล้ายคลึง
CHONNICHA KHAYKLUENG

#นักศึกษา

สมาชิก
วลัยลักษณ์ อัตธีรวงศ์
Walailak Atthirawong

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษา

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด