กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

นวัตกรรมวิจัยนาโนวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรค และชีวภัณฑ์จุลินทรีย์คีโตเมี่ยม เพื่อการทำเกษตรอินทรีย์

Research Innovation on plant vaccine for immunity and microbial bioproducts for organic agriculture

@คณะเทคโนโลยีการเกษตร

#Cluster 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
นวัตกรรมวิจัยนาโนวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรค และชีวภัณฑ์จุลินทรีย์คีโตเมี่ยม เพื่อการทำเกษตรอินทรีย์

รายละเอียด

ความสำเร็จในการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในการค้นพบคีโตเมี่ยมเป็นยาเชื้อป้องกันกำจัดโรคพืช โดยผลิตเป็นชนิดเม็ดละลายช้า ผงละลายน้ำ และชนิดเหลว ที่ผลิตจากเชื้อรา คีโตเมี่ยม คิวเปรม 10 สายพันธุ์  ได้แก่ (Chaetomium cupreum CC01-CC10 ) คีโตเมี่ยม โกโบซั่ม 12 สายพันธุ์ (Chaetomium globosum strain CG1-CG12)  คีโตเมี่ยม (Ketomium) เป็นผลงานวิจัยขึ้นทะเบียนเป็นสารชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดโรคพืชครั้งแรกของประเทศไทย ใน พ.ศ.2539 และจดสิทธิบัตรของนักวิจัยไทยคนแรกของโลก เมื่อ พ.ศ. 2537 ขึ้นทะเบียนในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐเวียดนาม เป็นต้น เพื่อนำไปส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปใช้ คีโตเมี่ยม  เพื่อทดแทนสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืชในหลายประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ จีน เวียดนาม มาเลเซีย ลาว กัมพูชา พม่า และไทย เป็นต้น  งานวิจัยต่อเนื่องจากการค้นพบคีโตเมี่ยมควบคุมโรคพืช ตั้งแต่ พ.ศ. 2531 จนถึงปัจจุบัน ได้ค้นพบสารออกฤทธิ์ชนิดใหม่ จากเชื้อราChaetomium globosum, Chaetomium cupreum, Chaetomium cochliodes, Chaetomium brasiliense, Chaetomium lucknowense, Chaetoimum elatum, Chaetoimium longirostre และ Chaetoimium siamesnse  เป็นต้น ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นสารชีวภัณฑ์ควบคุมโรคพืชชนิดใหม่ เรียกว่า ซุปเปอร์คีโตเมี่ยม (Super Ketomioum) ใช้ป้องกันกำจัดโรคพืชหลายชนิด 
ผลงานวิจัยนวัตกรรมล่าสุด ประสบผลสำเร็จในการใช้สารออกฤทธ์ 	(active metabolites) จากคีโตเมี่ยมชนิดต่างๆ มาทำให้เป็นสารที่มีอนุภาคระดับนาโน (nano particles) ฉีดพ่นเข้าไปในเซลล์พืช ได้อย่างรวดเร็ว  ชักนำให้พืชสร้างสารขึ้นมาต่อต้านโรค (phytoalexin) ได้แก่ มะเขือเทศ พริก ทุเรียน ส้ม ข้าว และพืชอื่นๆ เป็นต้น จากนั้นจึงพัฒนาสารออกฤทธิ์ที่มีอนุภาคระดับนาโนแต่ละชนิด ให้มีอนุภาคเล็กลงในระดับโมเลกุล เรียกว่า นาโนอลิซิเตอร์หรือ วัคซินพืช  เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคพืช ประสบผลสำเร็จและนำไปใช้ในจริงแล้วในประเทศจีน เวียดนาม กัมพูชา พม่า ลาว และไทย  

วัตถุประสงค์

ปัญหาการเกษตรเคมี ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สูญเสียความสมดุลธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ สารพิษทางการเกษตรตกค้างในดิน น้ำ อากาศ และพืชผลผลิตที่มีสารพิษตกค้าง ก่อให้ชีวิตมนุษย์สั้นลง จากโรคร้าย เช่นโรคมะเร็ง เป็นต้น  นอกจากนี้การทำเกษตรเคมีอย่างต่อเนื่อง ทำให้ดินเสื่อมสภาพความอุดมสมบูรณ์ และผลผลิตต่ำ รวมถึงปัญหาการดื้อยาของโรคและแมลง  ดังนั้นการวิจัยค้นหาสารออกฤทธ์จากจุลินทรีย์ และพัฒนาชีวภัณฑ์จุลินทรีย์สำหรับใช้ในการทำเกษตรอินทรีย์ มาใช้ทดแทนสารเคมี จึงมีความสำคัญต่อการหยุดใช้สารเคมีและในการทำเกษตรอินทรีย์ 

ผู้จัดทำ

เกษม สร้อยทอง
Kasem Soytong

#อาจารย์

สมาชิก

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด