กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

นวัตกรรมชุดโรงงานพร้อมเครื่องจักรเคลื่อนที่สำหรับแปรรูปผลไม้เขตร้อนในเขตพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา

@คณะวิศวกรรมศาสตร์

#Cluster 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
นวัตกรรมชุดโรงงานพร้อมเครื่องจักรเคลื่อนที่สำหรับแปรรูปผลไม้เขตร้อนในเขตพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา

รายละเอียด

-

วัตถุประสงค์

จังหวัดฉะเชิงเทราเป็นพื้นที่ที่มีผลผลิตทางการเกษตรที่โดดเด่น คือ มะม่วงหลากหลายสายพันธุ์ และมีชื่อเสียงด้านรสชาติเป็นที่ รู้จักในวงกว้างทั้งในและต่างประเทศ อำเภอคลองเขื่อนมีพื้นที่ปลูกมะม่วงประมาณ 3,280 ไร่ มีการขายในประเทศในรูปผลสดซึ่งเป็น ที่นิยมนำมารับประทานทั้งระยะผลดิบและผลสุก อีกทั้งยังมีการส่งออกต่างประเทศในรูปแบบต่าง ๆ ในการส่งออกนั้นมักพบปัญหา มะม่วงที่ไม่ได้คุณภาพและมาตรฐาน มีอายุหลังการเก็บเกี่ยวสั้น ระยะการสุกแก่ไม่เหมาะสม การพัฒนาสีของผิวและเนื้อไม่สมบูรณ์ รสชาติไม่ดี สูญเสียน้ำหนักมาก การบ่มจึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญกับมะม่วงที่ต้องการบริโภคแบบสุก การผลิตมะม่วงที่ได้ คุณภาพตรงตามมาตรฐานการส่งออกนั้น จึงต้องมีดัชนีการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม อีกทั้งการศึกษาด้านความเค็มต่อสมดุลของธาตุ อาหาร ปริมาณผลผลิต และการสะสมน้ำตาลในมะม่วงน้ำดอกไม้ นับเป็นข้อมูลพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ในการฟื้นฟู บริหารจัดการ ระบบการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ของตำบลคลองเขื่อนให้คงคุณภาพและมีระดับผลผลิตที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับการจัดอบรมชาวสวน จึงเป็นกลไกที่นำไปสู่ความยั่งยืนในการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ของชุมชนคลองเขื่อน 
โครงการมีความประสงค์ที่จะช่วยแก้ปัญหาผลผลิตผลไม้สดล้นตลาด ตกเกรด และราคาตกต่ำอย่างยั่งยืนด้วยการดำเนินการ ควบคู่กันไปทั้งด้านการเพิ่มอุปสงค์ใหม่ผ่านการนำผลไม้สดที่ล้นตลาดหรือตกเกรดเข้ามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปในรูปแบบใหม่ ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหม่ ซึ่งจะสามารถขยายตลาดผลไม้แปรรูปไปสู่ตลาดส่งออก และตลาดในประเทศ ไทยเองได้มากยิ่งขึ้น เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลไม้ และอีกด้าน คือ การจัดการด้านฝั่งอุปทานของผลไม้ผลสด ด้วยการขยาย อายุการจัดเก็บของผลผลิตผลไม้สดที่มีปัญหาตกเกรดและล้นตลาดปริมาณมากนี้นำเข้ามาแปรรูปเพื่อจัดเก็บในรูปแบบเนื้อผลไม้แช่ เยือกแข็งซึ่งจะสามารถขยายอายุการจัดเก็บจากเดิมที่เป็นผลไม้สดจะสามารถจัดเก็บได้เพียง 8-10 วัน แต่หากนำมาแปรรูปและ จัดเก็บในรูปแบบแช่เยือกแข็งจะทำให้สามารถจัดเก็บได้ประมาณ 2 ปี ซึ่งทำให้เกษตรกรมีทางเลือกในการจำหน่ายผลไม้ผลสดของ ตัวเองมากยิ่งขึ้น และยังสามารถทำให้ประเทศไทยมีความมั่งคงทางผลไม้มากยิ่งขึ้น 
ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2566 การสร้างนวัตกรรมชุดโรงงานพร้อมเครื่องจักรเคลื่อนที่สำหรับกระบวนการแปรรูปผลไม้และเศษเหลือ ภายใต้แนวคิด BCG ที่พร้อมติดตั้งในพื้นที่วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตมะม่วงส่งออกจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่มีศักยภาพในการดำเนินงานผ่าน สมาชิกในเครือข่ายกว่า 50 ราย ที่มีศักยภาพในการแข่งขัน พร้อมแนวทางกระบวนการผลิตและระบบประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์จาก มะม่วงน้ำดอกไม้ ได้ผลิตภัณฑ์มะม่วงน้ำดอกไม้แช่เยือกแข็งจัดเก็บในรูปของธนาคารผลไม้ที่ พร้อมให้ SMEs ในเครือข่ายและผู้ท่ีมี ความต้องการนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดอื่น ผลิตภัณฑ์ไอศกรีมมะม่วงเสียบไม้แช่เยือกแข็ง และผลิตภัณฑ์เศษเหลือจากกระบวนการผลิต เช่น น้ำส้มสายชูหมักจากเศษเหลือมะม่วงคุณภาพสูง การสาธิตการใช้ประโยชน์ไปยังกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ เป้าหมายจังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดในเขตเศรษฐกิจพิเศษ EEC คือ จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง รวมทั้งต่อยอด ขยายผล และทำซ้ำอย่างต่อเนื่อง (Scalable & Repeatable) ไปยังผลไม้ชนิดอื่น ๆ เพื่อช่วยแก้ปัญหาผลผลิตผลไม้สดล้นตลาดหรือผลไม้ตก เกรดได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร และกระจายรายได้ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องการกับแปรรูปผลไม้ของ เทศไทยต่อไปตามความตั้งใจของโครงการที่ว่า เปลี่ยน “สุก” ที่ล้นฤดูอย่างไม่มีค่า ให้เป็น “สุข” ทุกฤดูอย่างมีความหมาย 

ผู้จัดทำ

พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์

#อาจารย์

สมาชิก

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด