กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

Bio-film บรรจุภัณฑ์อาหารแห้งย่อยสลายได้

Bio-film packaging for dry food is biodegradable.

@คณะวิทยาศาสตร์

#KLLC 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
Bio-film บรรจุภัณฑ์อาหารแห้งย่อยสลายได้

รายละเอียด

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาฟิล์มย่อยสลายได้และเพิ่มประสิทธิภาพด้วยน้ำมันหอมระเหยอบเชย(Cinnamomum verum J. Presl) ที่มีสารออกฤทธิ์ต่างๆ รวมถึงมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียหลายชนิด สำหรับการประยุกต์ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ยืดอายุการเก็บรักษาอาหารสด โดยเตรียมฟิล์มด้วยไคโตซานและเจลาตินซึ่งมีน้ำมันหอมระเหยจากอบเชย (CEO) ความเข้มข้นสุดท้ายอยู่ที่ 0.5% , 0.7% และ 0.9% มาศึกษาประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรีย ลักษณะทางกายภาพ และการประยุกต์ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ยืดอายุการเก็บรักษาอาหารสด

วัตถุประสงค์

ปัจจุบันขยะพลาสติกที่ตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาสำคัญ จากการสำรวจของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กรมควบคุมมลพิษ ขยะพลาสติกเป็นปัญหาลำดับต้นๆของประเทศ การทิ้งขยะพลาสติกไม่ถูกต้องกระจัดกระจายทั่วไป บางส่วนลงสู่ทะเล ก่อให้เกิดปัญหาเศษขยะพลาสติกและไมโครพลาสติกที่เกิดจากกระบวนการสลายของพลาสติกขนาดใหญ่เกิดการแตกตัวจนมีขนาดเล็ก ส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายตัวและปนเปื้อนในน้ำ ดิน และสิ่งมีชีวิต รวมถึงอยู่บนจานอาหารของมนุษย์ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยขององค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (World Wide Fund for Nature: WWF) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยนิวคาสเซิลในออสเตรเลีย ทำการวิจัยหาปริมาณพลาสติกจากแหล่งธรรมชาติสู่วงจรบริโภคของมนุษย์ อาจบริโภคไมโครพลาสติกเข้าสู่ร่างกาย ในปริมาณกว่า 2,000 ชิ้น หรือ 5 กรัมต่อสัปดาห์ เทียบเท่ากับบัตรเครดิต 1 ใบ คิดเป็น 20 กรัมต่อเดือน 240 กรัมต่อปี หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนจึงพยายามลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์อาหารสดและต้องการวัสดุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ฟิล์มย่อยสลายได้ทางชีวภาพเป็นทางเลือกแทนวัสดุบรรจุภัณฑ์สังเคราะห์ในการใช้งานหลายประเภท เช่นความสามารถในการป้องกันการสูญเสียความชื้น การสูญเสียกลิ่น การดูดซึมน้ำ หรือการซึมผ่านของออกซิเจน โดยมีการเพิ่มสารประกอบที่ออกฤทธิ์ และน้ำมันหอมระเหยจากพืชได้รับความสนใจในฐานะทางเลือกทดแทนสารกันเสียที่เป็นสารเคมี เนื่องจากมีคุณสมบัติเป็นธรรมชาติ ปลอดภัย สารต้านอนุมูลอิสระ และต้านเชื้อแบคทีเรีย โดยงานวิจัยนี้มุ่งเน้นการพัฒนาฟิล์มย่อยสลายได้และเพิ่มประสิทธิภาพด้วยน้ำมันหอมระเหยจากอบเชย (Cinnamomum verum J. Presl.) ที่มีสารออกฤทธิ์ต่างๆ รวมถึงมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียหลายชนิด สำหรับการประยุกต์ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์การเก็บรักษาอาหารแห้ง

ผู้จัดทำ

ณัฐพร บริบูรณ์สุข
NATTAPORN BORIBUNSUK

#นักศึกษา

สมาชิก
ปิยะรัตน์ พูลสุข
PIYARAT PULLSUK

#นักศึกษา

สมาชิก
วรกฤต วรนันทกิจ
WORAKRIT WORANANTHAKIJ

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษา

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด