กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

ผลของการเคลือบเมล็ดพันธ์ด้วยสารชีวภัณฑ์จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ต่อคุณภาพเมล็ดพันธ์ุและการควบคุมโรคเน่าคอดินในมะเขือเทศ

Effects of Seed Coating with Microbial Pesticide on Seed Quality and Controlling Soilborne Dumping-off Disease on Tomato

@คณะเทคโนโลยีการเกษตร

#KLLC 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
ผลของการเคลือบเมล็ดพันธ์ด้วยสารชีวภัณฑ์จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ต่อคุณภาพเมล็ดพันธ์ุและการควบคุมโรคเน่าคอดินในมะเขือเทศ

รายละเอียด

-

วัตถุประสงค์

     มะเขือเทศ (Lycopersicon esculentum Mill.) เป็นพืชหนึ่งที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศไทย เป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์พืชเขตร้อนที่สำคัญประเทศหนึ่งของโลก โดยเฉพาะเมล็ดพันธุ์ผักที่มีมูลค่าทางการค้ามากที่สุด คือ เมล็ดพันธุ์มะเขือเทศ ปัจจุบันมีการส่งออกเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศไปยังหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์ (พิเชษฐ์, 2563) การปลูกมะเขือเทศนั้นมีฤดูกาลผลิตที่เหมาะสมจำกัด (กรมส่งเสริมพืชผักและเห็ด, 2563) ส่วนใหญ่จะนิยมมาปลูกในฤดูหนาว เนื่องจากฤดูฝนและฤดูร้อนนั้นมะเขือเทศจะเจริญเติบโตได้ไม่ดี ซึ่งหากเป็นฤดูฝนจะส่งผลให้สภาพอากาศมีความชื้นสูงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้โรคทางใบและทางรากระบาดรุนแรง อาจส่งผลให้พืชมีผลผลิตต่ำ เนื่องจากมีการเข้าทำลายของโรคพืชและแมลง (แคทรียา, 2560)  โดยโรคพืชของมะเขือเทศที่สำคัญ ได้แก่ โรคเน่าคอดิน โรคใบไหม้ โรคราแป้ง เป็นต้น (กรมวิชาการเกษตร, 2563) โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกิดกับทางระบบรากมักจะส่งผลกระทบต่อพืชในระยะต้นกล้ามากที่สุด เช่น โรครากเน่าที่เกิดจาก Pythium sp., Phytophthora sp. และ Fusarium sp. เป็นต้น ซึ่งสาเหตุเหล่านี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก
     โรคเน่าคอดิน (Damping-off) เกิดจากเชื้อรา Pythium sp. เป็นเชื้อราที่เข้าทำลายราก โคนต้น สาเหตุของโรคพืชในดินก่อให้เกิดความเสียหายได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช เช่น ระยะก่อนเมล็ดงอกทำให้เมล็ดเน่า (seed root) ระยะที่เมล็ดเริ่มงอกเป็นต้นกล้าโผล่พ้นพื้นดินแล้วทำให้เกิดโรคเน่าระดับดินหรือเน่าคอดิน (Robertson, 1976; Jenkins and Averre, 1983) เป็นสาเหตุให้ผลผลิตของมะเขือเทศต่ำกว่าปกติ เชื้อรา Pythium มักระบาดมากในฤดูฝนที่มีอากาศร้อนและชื้น ซึ่งเชื้อราสามารถเจริญเติบโตได้รวดเร็วและเข้าทำลายพืชอย่างรุนแรง (Chamswarng and Gesnara, 1988)  การป้องกันกำจัดเชื้อรา Pythium ทำได้ยากเนื่องจากเชื้อราอาศัยอยู่ในดิน การใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดโรคในช่วงต้นกล้าบางครั้งช้าเกินไป โรคอาจเข้าทำลายมากเกินกว่าจะป้องกันและกำจัดได้ (จวงจันทร์ และ คณะ, 2553) จากปัญหาดังกล่าวนั้น วิธีการหนึ่งที่สามารถทำได้ตั้งแต่ก่อนการปลูก คือ การยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์โดยการเคลือบเมล็ดพันธุ์ (seed coating) เป็นวิธีการที่ทำให้เมล็ดพันธุ์ได้รับสารเคลือบอย่างสม่ำเสมอและสารเคลือบติดแน่นไม่หลุดร่วงระหว่างการนำไปใช้ การเคลือบเมล็ดพันธุ์เพื่อช่วยให้ต้นกล้ามีคุณภาพเพิ่มขึ้น ส่วนมากมักเป็นการป้องกันโรคแมลงที่เข้าทำลายพืชในช่วงต้นกล้าและระยะการเจริญเติบโต (บุญมี, 2558) การใช้สารป้องกันกำจัดโรคและแมลงนั้นส่งผลทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ นอกจากนี้ยังส่งผลต่อระบบการผลิตพืชและสารพิษตกค้างในผลผลิต ปัจจุบันมีการนำสารชีวภัณฑ์มาใช้เพื่อทดแทนการใช้สารเคมี เช่น การใช้เชื้อรา Trichoderma asperellum เป็นเชื้อราที่อยู่ในดินตามธรรมชาติ มีคุณสมบัติและศักยภาพในการเป็นเชื้อราปฏิปักษ์สูง (จิระเดช และ วรรณวิไล, 2542) และเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis มีการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา Pythium จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในลักษณะการปฏิปักษ์ต่อเชื้อรา Pythium  ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเน่าคอดินในมะเขือเทศ การป้องกันกำจัดเชื้อราด้วยชีววิธีโดยใช้ชีวภัณฑ์จากจุลินทรีย์ เช่น รา แบคทีเรีย จึงเป็นปัจจัยทางเลือกหนึ่งที่ใช้ควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชในดินและสามารถทดแทนการใช้สารเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการทดลองของ วาสนา และคณะ (2548) รายงานว่าการทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อรา Trichoderma harzianum ในสปอร์แขวนลอยของเชื้อราร่วมกับการใช้แคลเซียมคลอไรด์ 10 กิโลกรัมต่อลิตรและซิลิกอนอัตรา 1 กิโลกรัมต่อวัสดุปลูก 1 กิโลกรัม รดวัสดุปลูกในการควบคุมโรคเน่าระดับดินของ มะเขือเทศที่เกิดจากเชื้อรา P. aphanidermatum ในสภาพโรงเรือนปลูกพืชทดลอง พบว่าหลังย้ายปลูกพืช 14 วัน ทุกกรรมวิธีที่ใช้เชื้อรา Trichoderma harzianum ช่วยให้มีต้นรอดตายสูงกว่ากรรมวิธีควบคุมที่ปลูกเชื้อรา P. aphanidermatum ในงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ที่เคลือบด้วยสารชีวภัณฑ์จุลินทรีย์ปฏิปักษ์และศึกษาประสิทธิภาพของเมล็ดพันธุ์ที่เคลือบด้วยสารชีวภัณฑ์จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคเน่าคอดินของต้นกล้ามะเขือเทศ

ผู้จัดทำ

บุณยาพร สรวงศิริ
BOONYAPORN SUANGSIRI

#นักศึกษา

สมาชิก
ชนากานต์ บุญศรี
CHANAKAN BOONSRI

#นักศึกษา

สมาชิก
พจนา สีขาว
Potjana Sikhao

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษา

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด