กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

คุณสมบัติโพรไบโอติกบางประการของเชื้อแบคทีเรียแลคติก

Some Probiotic Characterization of Lactic acid Bacteria

@คณะอุตสาหกรรมอาหาร

#KLLC 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
คุณสมบัติโพรไบโอติกบางประการของเชื้อแบคทีเรียแลคติก

รายละเอียด

ยังไม่เสร็จสมบูรณ์

วัตถุประสงค์

โพรไบโอติก (Probiotic) ซึ่งมีรากศัพท์เดิมมาจากภาษากรีก ที่หมายถึง “เพื่อชีวิต” ส่วนใหญ่ได้มา
จากจุลินทรีย์ในกลุ่มแบคทีเรียแลคติก (กัญญรัตน์, 2560) และเป็นที่ทราบกันดีว่ามีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ในปัจจุบันอาหารมากกว่า 65 เปอร์เซ็นต์ ตามท้องตลาดทั่วโลกมีโพรไบโอติกเป็นองค์ประกอบ (Agrawal, 2005) จุลินทรีย์โพรไบโอติกนั้นมีบทบาทช่วยในการป้องกันปัญหาสุขภาพต่างๆที่อาจเกิดขึ้นด้วยการช่วยรักษาสมดุลของระบบทางเดินอาหาร ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อไม่เรื้อรัง รวมถึงความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร และช่วยปรับสมดุลระบบภูมิคุ้มกัน คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าถ้าเรารับประทานอาหารที่ดีก็จะส่งผลให้มีสุขภาพดีตามไปด้วย แต่ในความเป็นจริงสุขภาพดีขึ้นอยู่กับการทำงานของระบบย่อยอาหารของแต่ละคน โดยอาหารที่รับประทานเข้าไปจะต้องถูกย่อยและร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารที่ถูกย่อยนั้นไปใช้ประโยชน์ได้จริง ตลอดจนของเสียที่เหลือจากการดูดซึมไปใช้ก็จะถูกรวบรวมและถูกขับถ่ายออกไปด้วยเหตุผลนี้ ทำให้ระบบทางเดินอาหารนับตั้งแต่ปากไปจนถึงระบบการกักเก็บอุจจาระ ระบบควบคุมการถ่ายอุจจาระ และระบบการหมักย่อยกากอาหารชนิดที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้โดยจุลินทรีย์ที่อยู่ในระบบทางเดินอาหารมีความสำคัญ ชนิดและปริมาณของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารเป็นจุดสำคัญที่จะเชื่อมโยงกับสุขภาพร่างกายส่วนอื่น ๆ หากปัจจัยใดก็ตามที่ช่วยให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารดำเนินไปจนถึงการขับถ่ายได้อย่างสมบูรณ์ ปัจจัยนั้นก็จะส่งเสริมให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดีตามไปด้วย (สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2563) แต่ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจถึงกลไกบทบาทหน้าที่และคุณสมบัติของโพรไบโอติกอย่างแท้จริง และแบคทีเรียยังมีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง อย่างไรก็ตาม การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโพรไบโอติกในการป้องกันและรักษาโรคกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเชีย เนื่องจากมีความปลอดภัยสูง ไม่มีผลข้างเคียง และเป็นการรักษาที่ต้นเหตุของโรค ซึ่งเกิดจากความไม่สมดุลระหว่างร่างกายมนุษย์และจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่อาศัยอยู่ในร่างกาย (พรรณนภา, 2554) ในการศึกษาครั้งนี้คณะผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติบางประการเบื้องต้นในการเป็นโพรไบโอติกของแบคทีเรียแลคติก

ผู้จัดทำ

ภัทรภร วินัย
PATTARAPORN WINAI

#นักศึกษา

สมาชิก
ณัฐกมล สาระรัตน์
NATKAMOL SARARAT

#นักศึกษา

สมาชิก
มนต์ชัย สร้อยชมภู
MONCHAI SOICHOMPHU

#นักศึกษา

สมาชิก
อพัชชา จินดาประเสริฐ
Aphacha Jindaprasert

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษา

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด