กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด
ผลกระทบของวิธีการพยากรณ์ต่อบูลวิปเอฟเฟคในโซ่อุปทานภายใต้ความต้องการแบบเป็นครั้งคราว
IMPACT OF FORECASTING METHODS ON BULLWHIP EFFECT IN SUPPLY CHAIN UNDER INTERMITTENT DEMAND.
@คณะวิศวกรรมศาสตร์
#KLLC 2024
#Industry 4.0
รายละเอียด
งานวิจัยนี้ได้ศึกษาผลกระทบของการพยากรณ์ค่าความต้องการแบบอินเทอร์มิตเทนต์ต่อบูลวิปเอฟเฟคภายใต้โซ่อุปทาน 2 ระดับ ประกอบด้วย ผู้ผลิต 1 แห่งและผู้จัดจำหน่าย 1 แห่ง โดยพิจารณาวิธีการพยากรณ์ทั้งหมด 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) วิธีการปรับเรียบเอ็กซ์โปเนนเชียล (Exponential Smoothing, ES) 2) วิธี Croston (CR) 3) วิธี Syntetos and Boylan Approximation (SBA) 4) วิธี Syntetos Method (SY) กำหนดให้ใช้นโยบายการจัดการสินค้าคงคลังเป็นแบบสั่งซื้อที่เหมาะสม (Order-up-to Inventory Policy) และความต้องการของลูกค้าถูกสมมติให้มีการกระจายตัวแบบปัวซอง (Poisson Distribution) รวมทั้งแสดงการเปรียบเทียบค่าความคลาดเคลื่อนของแต่ละวิธีพยากรณ์ด้วย 2 วิธี ได้แก่ 1) ค่าความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (Mean Absolute Deviation, MAD) 2) ค่าสเกลความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (Mean Absolute Scaled Error, MASE) วิจัยฉบับนี้จะแสดงให้เห็นถึงการเปรียบเทียบผลกระทบที่ส่งผลต่อค่าบูลวิปเอฟเฟคจากการพยากรณ์ที่แตกต่างกัน และเปรียบเทียบให้เห็นว่าวิธีการพยากรณ์แบบใดมีความเหมาะสมต่อความต้องการแบบอินเทอร์มิตเทนต์
วัตถุประสงค์
จากสภาพการแข่งขันธุรกิจในปัจจุบัน สมาชิกในห่วงโซ่อุปทานมุ่งหวังที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่มักจะต้องเผชิญกับปัญหาในการหาปริมาณความต้องการของลูกค้าที่แม่นยำ เมื่อข้อมูลเหล่านี้มีข้อบกพร่อง ส่งผลให้ปริมาณการสั่งซื้อมีความคลาดเคลื่อนไปจากปริมาณของความต้องการจริงของลูกค้า โดยการส่งข้อมูลในโซ่อุปทานย่อมเกิดความแปรปรวนของปริมาณการสั่งซื้อ ความแปรปรวนดังกล่าวจะมีการขยายตัวมากขึ้นจากปลายน้ำไปยังต้นน้ำ ทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างในการจัดการโซ่อุปทาน ซึ่งการเกิดปรากฏการณ์นี้เรียกว่า “บูลวิปเอฟเฟค” (Bullwhip Effect) การพยากรณ์ความต้องการเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดบูลวิปเอฟเฟค จากปัญหาดังกล่าวถือเป็นปัญหาที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ องค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีความต้องการรูปแบบอินเทอร์มิตเทนต์ (Intermittent Demand) เป็นงานที่ซับซ้อนเนื่องจากความต้องการมีความแปรปรวน และมีช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน โดยมีลักษณะของความต้องการที่มีค่าเป็นศูนย์ในหลาย ๆ ช่วงเวลา ซึ่งการพยากรณ์อนุกรมเวลาแบบดั้งเดิมมักจะล้มเหลวต่อการพยากรณ์สินค้าดังกล่าวให้มีความแม่นยำได้ งานวิจัยฉบับนี้จึงได้ศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อบูลวิปเอฟเฟค โดยทำการเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์แบบต่าง ๆ เพื่อหาวิธีที่เหมาะสมสำหรับการพยากรณ์ความต้องการรูปแบบอินเทอร์มิตเทนต์ และศึกษาค่าความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ว่าส่งผลต่อค่าบูลวิปเอฟเฟคอย่างไร
ผู้จัดทำ
ณัฐนันท์ วิวัฒน์ยุวะถาวร
NATTANAN WIWATYUWATHAWORN
#นักศึกษา
สมาชิก
จารุเดช ภู่วารี
JARUDECH PHUWAREE
#นักศึกษา
สมาชิก
วรางคณา ชูชาติ
WARANGKANA CHUCHAT
#นักศึกษา
สมาชิก
สิธิกร เรืองจันทร์
SITHIKORN RUANGJAN
#นักศึกษา
สมาชิก
กิตติวัฒน์ สิริเกษมสุข
Kittiwat Sirikasemsuk
#อาจารย์
อาจารย์ที่ปรึกษา
โหวตนวัตกรรมนี้
กำลังดาวน์โหลด
Powered By KMITL Innovation Project