กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด
ระบบการให้น้ำอัตโนมัติโดยใช้ค่าการคายระเหยจากสถานีตรวจวัดสภาพอากาศ
Automatic Irrigation System using Evapotranspiration Data from Weather Station
@คณะวิศวกรรมศาสตร์
#Cluster 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
รายละเอียด
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการให้น้ำอัตโนมัติโดยใช้ค่าการคายระเหย (evapotranspiration, ET) จากสถานีตรวจวัดสภาพอากาศ โดยวัดค่าอุณหภูมิอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็วลม และความเข้มแสงอาทิตย์ จากสถานีตรวจวัดสภาพอากาศในบริเวณแปลงทดลอง บันทึกในระบบคลาวด์ แล้วคำนวณค่า ET โดยใช้สมการ Penman Monteith ในการศึกษา ได้ทดลองปลูกต้นถั่วเขียวในกระบะปลูกจำนวน 3 ซ้ำ มีการให้น้ำตามค่า ET ที่คำนวณได้ร่วมกับค่าสัมประสิทธิ์พืช (crop coefficient, Kc) โดยในแต่ละวันได้ทำการชั่งน้ำหนักกระบะปลูกเพื่อหาปริมาณการระเหยน้ำที่เกิดขึ้นเพื่อเทียบกับที่คำนวณได้ทางทฤษฎี นอกจากนี้ยังทำการวัดและเปรียบเทียบกับการระเหยน้ำบนถาดระเหยมาตรฐานอีกด้วย ผลการศึกษาพบว่า ค่า ET จากการคำนวณและการวัดด้วยวิธีต่าง ๆ มีความสอดคล้องกัน จึงทำการพัฒนาระบบให้น้ำอัตโนมัติบนกระบะทดลองเป็นระบบน้ำหยด ควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 โดยเมื่อถึงเวลาให้น้ำ ระบบจะอ่านข้อมูลปริมาณการคายระเหยที่เกิดขึ้นตั้งแต่รอบการให้น้ำก่อนหน้าจากระบบคลาวด์ เพื่อคำนวณปริมาณการให้น้ำโดยพิจารณาจากอายุของพืช แล้วสั่งงานปั๊มเพื่อให้น้ำตามที่กำหนด จากผลการศึกษา ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถให้น้ำพืชในแปลงทดลองได้ตรงตามที่กำหนด โดยสามารถปรับปริมาณการให้น้ำให้เหมาะสมกับความต้องการของพืชตามอายุและสภาพอากาศได้ จึงควรมีการศึกษาพัฒนาเพื่อใช้งานในระบบปลูกที่ใหญ่ขึ้น รวมถึงในไม้ผลและพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ เพื่อให้พืชเติบโตอย่างเหมาะสม และเป็นการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ คำสำคัญ: ระบบการให้น้ำอัตโนมัติ, การคายระเหย, สถานีตรวจวัดสภาพอากาศ, สมการ Penman Monteith การให้น้ำถั่วเขียว
วัตถุประสงค์
การผลิตทางเกษตรในปัจจุบันปัจจัยที่เกษตรกรต้องคำนึงถึงคือการจัดการน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของพืชโดยเฉพาะในกลุ่มของไม้ผลและไม้ยืนต้นเศรษฐกิจซึ่งถือได้ว่าเกษตรกรต้องการผลผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพซึ่งถ้าผลผลิตมีคุณภาพที่ดีการจัดชั้นคุณภาพจะอยู่ในระดับพิเศษราคาของผลผลิตในกลุ่มนี้จะสูงกว่ากลุ่มทั่วไป 1-2 เท่า ดังนั้นการจัดการที่สำคัญ อย่างหนึ่งเพื่อได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีในปริมาณที่สูงคือการจัดการน้ำให้เหมาะสมตามความต้องการของพืชซึ่งจำเป็นต้องทราบปริมาณการคายน้ำหรือการใช้น้ำของพืชแต่ละชนิดเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับการจัดการน้ำของไม้ยืนต้นเศรษฐกิจให้เหมาะสมและแม่นยำมากยิ่งขึ้นซึ่งนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตของไม้ยืนต้นเศรษฐกิจต่อไป
ผู้จัดทำ
ธนโชติ ทิพยาลัย
TANACHOT TIPPAYALAI
#นักศึกษา
สมาชิก
วัชรพรรณ น้อยแก้ว
WACHARAPHAN NOIKAEW
#นักศึกษา
สมาชิก
จักราวุธ ฉ่ำเพียร
JAKGRAWUT CHAMPHAIN
#นักศึกษา
สมาชิก
วิโรจน์ ตระกาลจันทร์
VIROJ TRAKANJUN
#นักศึกษา
สมาชิก
วสุ อุดมเพทายกุล
Vasu Udompetaikul
#อาจารย์
อาจารย์ที่ปรึกษา
โหวตนวัตกรรมนี้
กำลังดาวน์โหลด
Powered By KMITL Innovation Project