กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด
การสร้างดนตรีซึ่งสัมพันธ์กับอารมณ์ของมนุษย์ ด้วยการประเมินเชิงลึกจากข้อมูลภาพ
Generating musical sounds related to human emotion from images by processing image data.
@วิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต
#KLLC 2024
#Digital Technology
รายละเอียด
การทำโครงงานวิจัยเรื่องการสร้างดนตรีและสื่อประสม ด้วยการประมวลผลข้อมูลภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาต่อยอดการใช้โปรแกรมในการประมวลผลข้อมูลภาพ เพื่อสร้างความบันเทิงให้แก่ผู้ชม รวมถึงเป็นเครื่องมือในการช่วยมนุษย์สร้างสรรค์เสียงสำหรับผู้ที่ทำงานด้าน Sound design หรือ Sound for motion picture ใช้แบบสำรวจในหัวข้อ “สีและความรู้สึก” ในการประกอบการตีความสีต่างๆในภาพตัวอย่าง จากตัวอย่างทั้งหมด 107 คน แล้วทำการวิเคราะห์ผลการสำรวจ เพื่อทำการสรุปว่าสีใดให้ความรู้สึกแบบใดมากที่สุด จากนั้นทำการแปลงภาพเป็นเสียงดนตรีด้วยการแปลงฟูเรียร์เพื่อนำข้อมูลนั้น มาทำการเลือกบันไดเสียง และทำนอง
วัตถุประสงค์
ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ในปัจจุบันไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า “สื่อ” เป็นตัวกลางสำคัญในการดำเนินชีวิต ในแง่ของสื่อสาร ทั้งการสื่อสารมวลชนและการสื่อสารระหว่างบุคคล การมอบความบันเทิง การศึกษา ฯลฯ สื่อสามารถแบ่งได้หลากหลายประเภท ตามวัตถุประสงค์หรือการใช้งาน โดยโครงงานวิจัยนี้ใช้สื่อตามเกณฑ์การแบ่งตามประสาทที่ใช้ในการรับสาร ได้แก่ สื่อโสต (Audio Media) และสื่อทัศน์ (Visual Media) นำมารวมเข้าด้วยกันเป็น สื่อโสตทัศน์ (Audio-Visual Media) เช่น ละคร ภาพยนต์ Music Video ซึ่งประกอบด้วยภาพและเสียง การทำ Sound Design ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นในการผลิตสื่อประเภทสื่อโสตทัศน์ เนื่องจากผู้ออกแบบเสียงควรออกแบบเสียงให้มีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับภาพที่ผู้ชมได้รับชม เพื่อส่งเสริมความสมจริงและอารมณ์ให้แก่ผู้รับชมและรับฟัง อีกทั้งผู้ทำโครงงานวิจัยได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาวะ Synesthesia หรือภาวะการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสพร้อมกัน 2 ประสาทสัมผัสในเวลาเดียวกัน เช่น การมองเห็นภาพในขณะที่ได้ยินเสียง การได้ยินเสียงขณะรับรสอาหาร การรู้สึกถึงสิ่งของในมือขณะได้ยินเสียง เป็นต้น ภาวะนี้สามารถแสดงอาการได้ตั้งแต่กำเนิดหรือแสดงภายหลังก็ได้ โดยส่วนมากของผู้ที่มีภาวะ Synesthesia จะแสดงอาการทั้งชีวิต แต่ในบางรายอาจแสดงอาการเพียงแค่ชั่วคราวและไม่ได้แสดงอาการตั้งแต่กำเนิด สาเหตุที่เป็นไปได้ของอาการเหล่านี้ คือ การเชื่อมโยงของประสาทสัมผัสทั้งสองส่วนให้เกิดการรับรู้พร้อมกัน และสามารถแสดงอาการผ่านทางพันธุกรรมได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ โครงงานวิจัยนี้ต้องการสร้างสรรค์เครื่องมือช่วยเหลือผู้ออกแบบเสียงสำหรับสื่อต่างๆ จึงเกิดเป็นโครงงานวิจัยการสร้างดนตรีและสื่อประสม ด้วยการประเมินเชิงลึกจากข้อมูลภาพ
ผู้จัดทำ
ณัฐชยานันท์ งามกิจเจริญลาภ
NATCHAYANUN NGAMKITCHAROENLAP
#นักศึกษา
สมาชิก
พรพิชชา มินศิริ
PORNPITCHA MINSIRI
#นักศึกษา
สมาชิก
ณัชนันท์ ชิตานนท์
nachanant chitanont
#อาจารย์
อาจารย์ที่ปรึกษา
โหวตนวัตกรรมนี้
กำลังดาวน์โหลด
Powered By KMITL Innovation Project