กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

การหาภาวะที่เหมาะสมสำหรับการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากขิงด้วยน้ำกึ่งวิกฤต

Optimization conditions of subcritical water extraction for bioactive compounds from ginger (Zingiber officinale Roscoe)

@คณะอุตสาหกรรมอาหาร

#KLLC 2024
#Healthcare and Wellness
การหาภาวะที่เหมาะสมสำหรับการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากขิงด้วยน้ำกึ่งวิกฤต

รายละเอียด

ขิง (Ginger; Zingiber officinale Roscoe) อยู่ในวงศ์ Zingiberaceae เป็นพืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ส่วนใหญ่พบที่ประเทศอินเดียและจีน ทั้งยังถูกใช้เป็นเครื่องเทศและยารักษาโรค โดยสารสำคัญทางชีวภาพที่อยู่ในน้ำมันหอมระเหยของขิงทำให้ขิงสามารถรักษาได้หลายโรค เช่น ปวดหัว เป็นไข้ เจ็บคอ ท้องเสีย ลดอาการคลื่นไส้ โรคเบาหวานและโรคที่เกี่ยวกับการอักเสบต่างๆ การสกัดขิงด้วยน้ำกึ่งวิกฤตเป็นกระบวนการที่ถูกนำมาใช้แทนการสกัดแบบดั้งเดิมที่ใช้สารอินทรีย์เป็นตัวทำละลาย ส่งผลทำให้เกิดสารตกค้างในผลิตภัณฑ์ ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยังใช้เวลาในการสกัดนานอีกด้วย ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของอุณหภูมิในช่วง 110-150 องศาเซลเซียส เวลาช่วง 20-60 นาที และอัตราส่วนระหว่างผงขิงกับตัวทำละลาย คือ 1:1 1:3 และ 1:5 อีกทั้งยังมีการหาช่วงความดันเบื้องต้นคือ 20-70 บาร์ และขนาดเบื้องต้น คือ 16-20 เมช ซึ่งใช้ในการหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดผงขิงด้วยน้ำกึ่งวิกฤต รวมไปถึงการนำสารสกัดมาวิเคราะห์หาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด, gingerol, shogaol และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยเทคนิค DPPH เพื่อให้ได้ร้อยละผลผลิตและปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดสูงสุด นอกจากนี้ยังทำการปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างวิธีการสกัดด้วยน้ำกึ่งวิกฤต และการสกัดด้วยกระบวนการ Soxhlet โดยใช้เอทานอลเป็นตัวทำละลาย

วัตถุประสงค์

ขิง (Ginger; Zingiber officinale Roscoe) อยู่ในวงศ์ Zingiberaceae มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนใหญ่พบที่ประเทศอินเดียและจีน ขิงเป็นพืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดินโดยส่วนใหญ่ถูกใช้เป็นเครื่องเทศและยารักษาโรค ซึ่งสามารถรักษาโรคได้เนื่องจากสารสำคัญทางชีวภาพที่อยู่ในน้ำมันหอมระเหยของขิง ทำให้ขิงสามารถรักษาได้หลายโรค เช่น ปวดหัว เป็นไข้ เจ็บคอ ท้องเสีย ลดอาการคลื่นไส้ โรคเบาหวานและโรคที่เกี่ยวกับการอักเสบ (M.S.H. Kamaruddin et Al., 2023)
      การสกัดด้วยน้ำกึ่งวิกฤต (Subcritical water extraction; SWE) เป็นเทคนิคการสกัดที่นิยมนำมาใช้ในการสกัดพืชสมุนไพรและสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรม เนื่องจากใช้น้ำเป็นตัวทำละลายจึงเป็นเทคนิคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากใช้น้ำเป็นตัวทำละลายโดยน้ำถูกทำให้อยู่ในรูปของของเหลวภายใต้สภาวะระหว่างจุดเดือดและจุดวิกฤต จะอยู่ในช่วงอุณหภูมิ 100 ถึง 374 °C และมีความดันในช่วง 0.1 ถึง 22.1 MPa เมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิคการสกัดแบบดั้งเดิมที่ใช้แอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลาย เช่น Soxhlet หรือ Macreration โดยที่การสกัดด้วยน้ำกึ่งวิกฤตมีข้อได้เปรียบ คือ ใช้ตัวทำละลายในปริมาณน้อยและระยะเวลาในการสกัดสั้นกว่า (Amiri et Al., 2018)
      งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาการสกัดสารประกอบฟีนอลิกซึ่งประกอบด้วย 6-gingerol และ 6-shogaol จากขิงด้วยน้ำกึ่งวิกฤต โดยทำการศึกษาปัจจัย ได้แก่ อุณหภูมิ และเวลา ที่ส่งผลต่อร้อยละผลได้ของสารสกัด (%yield) และปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม (Total Phenolic Content) รวมไปถึงการวิเคราะห์ผลของ gingerol และ shogaol


Muhamad Syafiq Hakimi Kamaruddin, Gun Hean Chong, Nurizzati Mohd Daud, Nicky Rahmana Putra, Liza Md Salleh, and Norhidayah Suleiman. (2023). "Bioactivities and green advanced extraction technologies of ginger oleoresin extracts: A review". Food Research International 164, (2023), 112283.

Nourbakhsh Amiri, Z., G. D. Najafpour, M. Mohammadi and A. A. Moghadamnia. (2018). Subcritical water extraction of bioactive compounds from ginger(Zingiber officinale Rosecoe). Internation journal of engineering 31, no.12 (2018), 1991-2000.

ผู้จัดทำ

สุนันทา เก้ามณีโชติ
SUNANTA KAOMANEECHOT

#นักศึกษา

สมาชิก
สริดา หล้าสิม
SARIDA LASIM

#นักศึกษา

สมาชิก
วินัฏฐา ศักดาศรี
Winatta Sakdasri

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษา

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด