Back

What characteristics of customers affect the purchase of high-value insurance premiums types of life insurance along with investment

คุณลักษณะใดของลูกค้าที่ส่งผลต่อยอดซื้อเบี้ยประกันภัยที่มีมูลค่าสูง ประเภทประกันชีวิตควบคู่การลงทุน

@คณะวิทยาศาสตร์

#KLLC 2024
#Digital Economy
คุณลักษณะใดของลูกค้าที่ส่งผลต่อยอดซื้อเบี้ยประกันภัยที่มีมูลค่าสูง ประเภทประกันชีวิตควบคู่การลงทุน

Details

-Study factors affecting life insurance premiums along with investments of Company A customers.
-Analyze factors affecting life insurance premiums along with investments of Company A customers.

Objective

Unit Linked หรือประกันควบการลงทุน เป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ให้ทั้งความคุ้มครองในกรณีเสียชีวิต และมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน โดยเบี้ยประกันที่จ่ายไปจะถูกแบ่งเป็น ส่วนของการคุ้มครองชีวิตหรือทุพพลภาพตามแต่ความคุ้มครองที่ระบุในกรมธรรม์ และส่วนของการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม(ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย,2565) ดังนั้น ผลตอบแทนที่ได้รับจะขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของกองทุนที่เลือกลงทุน การนำเอาประกันชีวิตมารวมกับการลงทุนจึงอาจมองได้ว่า Unit Linked เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีความซับซ้อนประเภทหนึ่ง เนื่องจากไม่สามารถรับประกันหรือระบุผลตอบแทนเมื่อครบกำหนดรับเงินคืนกรมธรรม์ได้ เช่นเดียวกับประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์หรือแบบตลอดชีวิตเพราะผลตอบแทนที่เกิดขึ้นของ Unit Linked จะขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของกองทุนที่เลือกไว้ ต่างไปจากประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์หรือแบบตลอดชีพที่บริษัทประกันนำเบี้ยประกันหลังหักค่าใช้จ่ายไปบริหารการลงทุน และจ่ายคืนให้แก่ผู้เอาประกันตามที่ระบุไว้ โดยที่บริษัทประกันชีวิตเป็นผู้รับความเสี่ยงจากการลงทุน การตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ Unit Linked มีประตู 2 บานกั้นไว้ แต่ละบานมีคำถามที่ต้องตอบ โดยคำถามที่ประตูบานแรก คือ ต้องการทุนประกันชีวิตหรือไม่ หากมีทุนประกันชีวิตเพียงพออยู่แล้วและไม่ต้องการทุนประกันชีวิตเพิ่มเติม และต้องการเน้นการลงทุน แสดงว่าไม่มีความต้องการเดินผ่านประตูแรก จึงควรนำเงินไปลงทุนโดยตรง แต่หากมีความต้องการคุ้มครองชีวิตด้วยนั้น แสดงว่าได้เดินผ่านประตูบานแรกมาแล้ว คำถามสำหรับประตูบานที่สอง คือ รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ไหม หากรับความเสี่ยงจากการลงทุนไม่ได้ไม่ว่าจะกรณีใดก็ตาม แสดงว่าไม่ต้องการผ่านประตูบานที่สอง จึงควรพิจารณาทำประกันแบบอื่น เช่น ประกันสะสมทรัพย์ ประกันตลอดชีพ (กรณีต้องการระบุจำนวนเงินคืนแน่นอน) หรือประกันแบบชั่วระยะเวลา (กรณีไม่ต้องการเงินคืนเมื่อสิ้นสุดสัญญา) แต่หากสามารถรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ แสดงว่าได้เดินผ่านประตูบานที่สองมาแล้วเช่นกัน (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย,2565) ดังนั้น ประกัน Unit Linked จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีความต้องการทุนประกันชีวิต และรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ นอกจากนี้ควรมีความรู้ ความสนใจในการติดตามสถานการณ์ลงทุนเพื่อจัดพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของตนเอง (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย,2565) ทำให้เมื่อครบสัญญาประกันภัยที่ได้ทำเอาไว้ จึงมีผลตอบแทนให้กับผู้เอาประกันภัยไว้ใช้จ่ายในวัยเกษียณ ซึ่งประกันชีวิตแบบควบคู่การลงทุนนี้ ผู้ชำระเบี้ยประกันภัยสามารถเลือกระยะเวลาในการชำระเบี้ยได้ และเบี้ยคงที่ตลอดระยะสัญญา ไม่มีการปรับเบี้ยเพิ่มขึ้นตลอดสัญญา ซึ่งเป็นการชำระเบี้ยแค่ระยะเวลาที่เลือกทั้งในสัญญาหลัก และสัญญาเพิ่มเติม เมื่อหยุดชำระเบี้ยหรือสิ้นสุดสัญญาของกรมธรรม์ ผู้ชำระเบี้ยหยุดจ่ายเบี้ยประกันภัยทันที ทั้งในสัญญาหลัก และสัญญาเพิ่มเติม แต่ประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยได้ทำไว้นั้น ก็ยังมีความคุ้มครองตลอดชีพ หรือถึงอายุ99 ปี โดยเงินที่เอามาจ่ายหลังจากหมดเวลาการชำระเบี้ยนั้นมาจาก ผลตอบแทนในกองทุนที่ผู้เอาประกันภัยนั้นได้ทำไว้ตั้งแต่เริ่มต้นกรมธรรม์ และถ้าผู้เอาประกันภัยอยู่ตลอดจนครบสัญญากรมธรรม์ ก็จะได้เงินเวนคืนกรมธรรม์ตามเงื่อนไขของสัญญาที่ได้ระบุไว้ อีกยังสามารถนำเงินส่วนนี้เป็นเงินใช้จ่ายในยามเกษียณ และสามารถใช้เบี้ยประกันชีวิตมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไปที่มีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท และเบี้ยประกันชีวิตแบบบํานาญ ร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 200,000บาท (ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2557)
 ประกันภัย ชนิดประกันชีวิตควบคู่การลงทุนนี้ นับว่ายังเป็นสิ่งใหม่ของในวงการประกันชีวิต ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความสามารถในประกันภัยชนิดนี้(www.oic.or.th/th/node/7482) เพราะต้องมีความรู้ทั้งส่วนของประกันภัยและการลงทุน ซึ่งก่อนทำประกันภัยชนิดนี้ ผู้เอาประกันภัยต้องมีการทำแบบสอบถาม เพื่อรับระดับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต อีกทั้งเบี้ยประกันที่ตามมาตามที่ผู้เอาประกันภัยได้ทำแบบสอบถามทางบริษัท ซึ่งประกันภัยชนิดนี้ เบี้ยประกันราคาค่อนข้างสูง แต่จ่ายเบี้ยคงที่ตลอดสัญญา และยังคุ้มครองตลอดชีพ อีกทั้งมีเงินปันผลจากการลงทุนอีกด้วย แต่ปัญหาเกิดขึ้นตรงที่ ผู้บริโภคยังเห็นว่าเบี้ยประกันแพงเกินไป จึงทำให้เห็นว่า ประกันแบบไหนก็มีความคุ้มครองเหมือนกัน ทางผู้ทำวิจัยจึงมีความต้องการทำการศึกษา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อโดยใช้เบี้ยประกันเป็นตัวศึกษาว่าผู้เอาประกันภัยที่ทำประกันชกันชนิดนี้ มีตัวแปรอะไรสำคัญที่เชื่อมโยงกันในแต่ละกลุ่มตลาดของลูกค้า
ซึ่งจากความสำคัญและผลประโยชน์ของประกันภัย ชนิดประกันชีวิตควบคู่การลงทุนนี้ มีผลประโยชน์ในระยะยาว อีกทั้งช่วยวางแผนทางการเงิน ซึ่งสินค้าชนิดนี้เป็นสินค้าที่ทำให้ผู้บริโภควางแผนทางการเงินได้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงและหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายส่วนเกินที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตจากโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล นับว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่เราไม่สามารถควบคุมได้ ผู้วิจัยจึงเห็นว่าควรศึกษาปัจจัยต่างๆที่ก่อให้เกิดการตัดสินใจซื้อประกันภัยชนิดนี้ โดยใช้ยอดซื้อเบี้ยประกันภัยเป็นตัวศึกษา โดยแต่ละปัจจัยนั้นมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร

Project Members

อภิสิทธิ์ ชัยวิริยะกิจ
APHISIT CHAIWIRIYAKIT

#นักศึกษา

Member
สิทธิชัย เจริญเศรษฐศิลป์
Sittichai Charoensettasilp

#อาจารย์

Advisor

Vote for this Innovation!

Loading...