Back

Enhancement of Work Processes in Electronic Printed Circuit Board Assembly Through Application of Lean Thinking Principles

การปรับปรุงวิธีการทำงานในการประกอบแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์โดยการประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีน

@คณะวิศวกรรมศาสตร์

#KLLC 2024
#Industry 4.0
การปรับปรุงวิธีการทำงานในการประกอบแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์โดยการประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีน

Details

-

Objective

ในปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราการแข่งขันทางการค้ามากขึ้นทุกขณะ โดยเฉพาะการเปิดเสรีทางการค้าทำให้มีการแข่งขันที่สูงขึ้น ปัจจัยชี้ขาดหลักของการแข่งขันทางการค้า คือ คุณภาพ ต้นทุน และการตอบสนองความต้องการที่รวดเร็ว นอกเหนือจากการออกแบบอุปกรณ์แล้ว การได้มาซึ่งปัจจัยทั้ง 3 คงหนีไม่พ้นการมีความรู้ความเข้าใจอย่างดีในระบบงานผลิต อันเป็นมูลเหตุที่ก่อให้เกิดคุณภาพดี ต้นทุนการผลิตที่ต่ำ และความคล่องตัวสูงในระบบการผลิต
​องค์กรที่ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวต่างพยายามปรับปรุงพัฒนาระบบการผลิตของตนเองตลอดเวลา โดยเฉพาะการยกระดับความรู้ความเข้าใจระบบการผลิตของบุคลากรให้มีพื้นฐาน และตามทันต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มผลผลิต
​บริษัท ศรีสวัสดิ์วิศวกรรม จำกัด เป็นบริษัทที่รับออกแบบ และผลิตอุปกรณ์ควบคุมระบบแมคคาทรอ-นิกส์ เช่น ชุดสายไฟในรถยนต์ชุดกล่องกระจกไฟฟ้าออโต้ ชุดกล่องควบคุมเก้าอี้ไฟฟ้า ชุดยกทีวีภายในรถตู้  เป็นต้น โดยปัจจุบันมีระบบการผลิตตามใบสั่งซื้อของลูกค้าโดยจำนวนการสั่งซื้อในแต่ละเดือนไม่คงที่ ซึ่งเดือนที่มีจำนวนการสั่งซื้อมากเกินประมาณการที่บริษัทตั้งไว้จะทำให้บริษัทผลิตสินค้าไม่ทัน และพนักงานต้องทำงานล่วงเวลา ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตเพิ่มขึ้น กำไรลดลง จึงจำเป็นต้องทำการปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต โดยโมเดลที่ใช้เป็นกรณีศึกษา คือ ชุดกล่องควบคุม CU-8 เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีการสั่งผลิตจากลูกค้าทุกเดือน และเป็นโมเดลที่ทางบริษัทแนะนำให้ใช้เป็นกรณีศึกษา ซึ่งเป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการรับสัญญาณจากสวิตช์ หรือข้อมูลจากแอปพลิเคชันบนมือถือ และส่งสัญญาณไปยังชุดกล่องควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ส่งสัญญาณไปยังชุดกล่องควบคุมกระจกเพื่อสั่งการให้กระจกยกขึ้น - ลง
​การผลิตชุดกล่องควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ จะต้องมี 8 ขั้นตอน ดังนี้
1. การเตรียมอุปกรณ์สำหรับประกอบ
2. การสกรีนตะกั่ว
3. การประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ด้วยเครื่อง Pick and Place
4. การประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ด้วยมือ
5. อบตะกั่วด้วยเครื่องอบตะกั่วบัดกรี
6. การประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และบัดกรีมือ
7. การลงโปรแกรม
8. ประกอบกล่องคอนโทรล
​โดยขั้นตอนที่ 6 การประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และบัดกรีมือเป็นขั้นตอนที่ใช้ระยะเวลาในการผลิตมากที่สุด เนื่องจากก่อนที่จะทำการบัดกรีต้องมีการใส่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ชนิดต่าง ๆ ลงในแผงวงจรทีละชนิด และมีการพลิกแผงวงจรไป - มาเพื่อทำการบัดกรีซึ่งในขั้นตอนนี้ พนักงานจะต้องทำการกดอุปกรณ์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้พร้อมกับทำการบัดกรีไปด้วยทีละชิ้น ซึ่งจำนวนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีหลายชนิดยากต่อการจดจำและแยกประเภท อีกทั้งมีการหยิบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำมาประกอบผิดชนิด มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลุดออกขณะพลิกแผงวงจร จึงทำให้พนักงานทำงานไม่สะดวกและเกิดความล้าช้า
​ดังนั้น ข้อความแห่งปัญหาของงานวิจัยฉบับนี้ คือ ขั้นตอนบัดกรีแผงวงจรมีรอบเวลาการผลิตที่เป็นคอขวด เนื่องจากขั้นตอนการบัดกรีต้องใส่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายชนิด ทำให้ต้องพลิกแผงวงจรไป – มาและกดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายครั้งเพื่อทำการบัดกรีทำให้มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลุดออกขณะพลิก
​งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการบัดกรีด้วยเครื่องมือทางวิศวกรรมอุตสา-หการ โดยการค้นหาความสูญเปล่า 7 ประการ (Waste) และหลักเศรษฐศาสตร์การเคลื่อนไหว (Principles of Motion Economy) ซึ่งจะแก้ปัญหาโดยการใช้ระบบการผลิตแบบลีน (Lean Manufacturing) และทฤษฎีการแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์คิดค้น (Teoriya Resheniya Izobretatelskikh Zadach, TRIZ)

Project Members

ณัฐพร นาคใหญ่
NATTAPORN NAKYAI

#นักศึกษา

Member
ณัฐพร วาทิตานนทน์
NUTTAPORN VATHITANONTH

#นักศึกษา

Member
ปัทมาพร ฉาไธสง
PATTAMAPORN CHARTHAISONG

#นักศึกษา

Member
กิตติวัฒน์ สิริเกษมสุข
Kittiwat Sirikasemsuk

#อาจารย์

Advisor

Vote for this Innovation!

Loading...