Back
Smart waste separation learning set
ชุดเรียนรู้การแยกขยะอัจฉริยะ
@คณะวิทยาศาสตร์
#KLLC 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
Details
.
Objective
ปัญหาขยะยังคงเป็นปัญหาซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง โดยคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 มีมติเห็นชอบแผนแม่บทการบริหารจัดการการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 - 2564) เพื่อเป็นกรอบและทิศทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายของประเทศ บูรณาการการดำเนินงานร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม จังหวัด 76 จังหวัด กรุงเทพมหานคร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 - 2564) อย่างไรก็ตามยังพบปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัดในการดำเนินงาน อาทิ สถานที่กำจัดขยะชุมชนของรัฐและเอกชนส่วนใหญ่ดำเนินการไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ไม่มีระบบติดตาม กำกับและควบคุมการดำเนินงานของสถานที่กำจัดขยะ โรงงานกำจัดของเสียอันตรายและกากอุตสาหกรรมที่เป็นอันตรายมีจำนวนไม่เพียงพอ ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก ยังมีปัญหาการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมที่เป็นอันตราย และมูลฝอยติดเชื้อ กฎหมายในการจัดการขยะมูลฝอยในปัจจุบัน ยังไม่สามารถกำกับ ควบคุม ดูแลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการตามอำนาจและหน้าที่ ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะสำหรับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ จากสาเหตุข้างต้นทำให้เกิดปัญหามลพิษต่างๆ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอนามัยของประชาชน ประกอบกับแผนแม่บทการบริหารจัดการการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 - 2564) จะสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2564 กรมควบคุมมลพิษจึงได้จัดทำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ(พ.ศ. 2565 - 2570) เพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการขับเคลื่อนการแก้ไขภาวะมลพิษจากขยะที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความเดือดร้อนและสุขภาพอนามัยของประชาชนได้อย่างจริงจัง ต่อเนื่อง ภายใต้บริบทที่สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายรัฐบาล และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยใช้หลักการจัดการสมัยใหม่ตามหลักสากลที่นานาอารยประเทศช้บริหารจัดการขยะให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด เช่น หลักการด้าน 3R (Reduce Reuse Recycle) หลักการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Resource Efficiency) หลักการขยายขอบเขตความรับผิดชอบผู้ประกอบการ (Extended Producer Responsibility) เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Instruments) การควบคุมป้องกันการเกิดของเสียจากต่างประเทศ (Trans-boundary Movement of Wastes and Recyclables) เป็นต้น เนื่องจากขยะมีจำนวนมากขึ้นก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและประชาชน ดังนั้นการที่ได้เรียนรู้การแยกขยะตั้งแต่ยังเด็กจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เพื่อปลูกฝังให้เด็กสามารถแยะประเภทของขยะได้อย่างถูกต้อง ทำให้ช่วยลดระยะเวลาในการแยกขยะ และสามารถจัดการกับขยะแต่ละประเภทได้ทันที
Project Members
ธนภูมิ ศรีด่าน
THANAPHOOM SRIDAN
#นักศึกษา
Member
ณัฏกฤษ สมดอก
Nuttakrit Somdock
#อาจารย์
Advisor
Vote for this Innovation!
Loading...
Powered By KMITL Innovation Project