Back

Study and Experiment on Blend Refrigerant forof Adsorption Refrigeration System

ศึกษาและทดลองสารทำความเย็นผสมสำหรับระบบทำความเย็นแบบดูดซับ

@คณะวิศวกรรมศาสตร์

#KLLC 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
ศึกษาและทดลองสารทำความเย็นผสมสำหรับระบบทำความเย็นแบบดูดซับ

Details

-

Objective

ปัจจุบันสังคมมีความกังวลเกี่ยวกับทางด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากความต้องการของพลังงานเพิ่มสูงขึ้นในทุกๆ ปี มีการคาดการณ์ว่าการใช้พลังงานสำหรับการทำความเย็นทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นถึง 72% ภายในปี 2100 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ องค์กรพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency : IEA) ได้ประเมิณความต้องการของการใช้อุปกรณ์ทำความเย็นในปี 2023 คิดเป็น 10% ของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั่วโลก และในประเทศที่มีสภาพอากาศร้อนอาจมีความต้องการมากถึง 50% ในช่วงฤดูร้อน ซึ่งอุปกรณ์ทำความเย็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมและครัวเรือนเป็นระบบทำความเย็นแบบอัดไอ (Vapor Compression Refrigeration System) 
         สำหรับระบบทำความเย็นแบบอัดไอในปัจจุบัน เป็นระบบทำความเย็นที่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าจำนวนมากในการขับเคลื่อนระบบ รวมถึงมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่จำนวนมาก ซึ่งเกี่ยวข้องกับสารทำความเย็น คือ สารที่เป็นสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFCs), ไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (HCFCs) และไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) ระบบทำความเย็นแบบดูดซับ เป็นระบบทำความเย็นที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานความร้อน ที่ได้จากพลังงานแสงอาทิตย์หรือความร้อนเหลือทิ้ง ซึ่งพลังงานแสงอาทิตย์มีอยู่มากมาย และหาได้ในช่วงฤดูร้อนที่มีความต้องการความเย็นสูง ซึ่งช่วยลดปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้เมื่อเทียบกับระบบทำความเย็นแบบอัดไอ ระบบทำความเย็นแบบดูดซับได้รับการได้รับความสนใจและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากโครงสร้างการทำงานที่ไม่ซับซ้อน, ต้นทุนการดำเนินงานต่ำ และใช้แหล่งพลังงานความร้อนที่อุณหภูมิต่ำ แต่ค่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะการทําความเย็น (Coefficient of Performance : COP) ของระบบทำความเย็นแบบดูดซับยังคงมีค่าที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับระบบทำความเย็นแบบอัดไอ
         สำหรับการพัฒนาระบบทำความเย็นแบบดูดซับเพื่อเพิ่มค่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะการทําความเย็น (COP) ด้วยการปรับปรุงสารทำความเย็น ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น โดยประเมิณจากคุณสมบัติทางอุณหภพลศาสตร์ เช่น ค่าความร้อนแฝงของการระเหยเป็นไอ, ความดันไอ เป็นต้น และคุณสมบัติการดูดซับ เช่น ความสามารถในการดูดซับ และการคายสารที่ได้รับการดูดซับ เพื่อการทำงานของคู่สารดูดซับและสารทำความเย็นงมีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น

Project Members

ณราวุฒิ ยืนยง
NARAWUT YUENYONG

#นักศึกษา

Member
สุรัตน์ อารีรัตน์
Surat Areerat

#อาจารย์

Advisor

Vote for this Innovation!

Loading...