Back

Harvesting of microalgae by chemical flocculation

การเก็บเกี่ยวสาหร่ายขนาดเล็กด้วยวิธีการตกตะกอนทางเคมี

@คณะวิทยาศาสตร์

#KLLC 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
การเก็บเกี่ยวสาหร่ายขนาดเล็กด้วยวิธีการตกตะกอนทางเคมี

Details

Microalgae biomass can be harvested in several methods for biomass energy. This study was investigated the green microalgae Tetraspora sp. CU2551 ,Chlorella sp. KLSc 59 and Micratinium sp. KLsc 62 using chemicals to achieve coagulation and and flocculation processes. Five chemical flocculants (i.e., Aluminium sulfate ,Calcium chloride , Iron(III)chlorid  chloride , Poly(diallyldimethylammonium chloride) solution and Zinc sulfate) by considering the efficiency of flocculation from flocculant concentration and time for flocculation more than 90%.

Objective

สาหร่ายขนาดเล็ก (Microalgae) เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว สามารถพบได้ทั่วไปทั้งบนบกและแหล่งน้ำต่างๆ สาหร่ายขนาดเล็กนั้นมีความสำคัญหลายด้าน ได้แก่ ความสำคัญต่อระบบนิเวศ สาหร่ายดำรงชีวิตแบบโฟโตออโตโทรฟิค (Photoautotrophic Organism) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ผลิตออกซิเจนให้แก่สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้สาหร่ายยังเป็นผู้ผลิตและเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อาหารอันดับต้นของสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตในน้ำ (ยุวดี, 2549) และยังใช้ในกระบวนการบำบัดน้ำเสีย (ศิราภรณ์ และฐปน, 2553) ความสำคัญด้านอาหาร สามารถเป็นได้ทั้งอาหารคนและอาหารสัตว์ รวมถึงมีการนำเอาไปใช้เป็นอาหารเสริมเนื่องจากสาหร่ายขนาดเล็กมี คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และแร่ธาตุหลายชนิดเป็นองค์ประกอบ สาหร่ายขนาดเล็กนิยมนำมาบริโภคเป็นอาหารเสริม เช่น Spirulina sp.และ Chlorella sp. เป็นต้น (วีรนุช, 2548) ความสำคัญทางด้านการเกษตร มีการนำไซยาโนแบคทีเรียมาทำเป็นปุ๋ยชีวภาพ (Biofertilizers) ใช้ปรับปรุงคุณภาพดิน และใช้เป็นแหล่งอาหารแก่พืชโดยเฉพาะข้าว นอกจากนี้ยังมีการใช้สารสกัดจากสาหร่ายในการกำจัดแมลงศัตรูพืชอีกด้วย (พัชรี และคณะ, 2551) และความสำคัญในด้านเชื้อเพลิงชีวภาพ สาหร่ายขนาดเล็กสามารถสังเคราะห์สารชีวเคมีต่าง ๆ ที่นำมาผลิตเป็นพลังงานได้และกำลังอยู่ในความสนใจ เช่น ไบโอดีเซล เอทานอล ไฮโดรเจน การผลิตไบโอดีเซลจากสาหร่ายขนาดเล็กผลิตจากไขมันที่ได้จากสาหร่ายซึ่งจะมีองค์ประกอบทางเคมีเป็นไตรกลีเซอไรด์เช่นเดียวกับน้ำมันพืช (ประยูร, 2553) 
              การผลิตชีวมวลจากสาหร่ายขนาดเล็กเพื่อนำไปใช้ประโยชน์นั้นประกอบไปด้วยกระบวนการที่สำคัญ ได้แก่ การเพาะเลี้ยงสาหร่าย การเก็บเกี่ยวชีวมวลสาหร่าย การทำให้เซลล์แตก และการสกัดสารต่างๆ ออกจากเซลล์สาหร่ายเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป โดยพบว่ากระบวนการเก็บเกี่ยวชีวมวลสาหร่ายนั้นมีค่าใช้จ่ายร้อยละ 20-30 ของกระบวนการผลิตทั้งหมด (Girma et al., 2003) ในปัจจุบันเทคนิคที่นิยมใช้ในการเก็บเกี่ยวชีวมวลสาหร่ายได้แก่ การกรอง (Filtration) การลอยตัว (Flotation) การหมุนเหวี่ยง (Centrifugation) โดยวิธีการที่ใช้ในการเก็บเกี่ยวเซลล์สาหร่ายเหล่านี้ยังมีค่าใช้จ่ายสูง มีความซับซ้อนในการดำเนินการ และนิยมใช้ร่วมกันมากกว่า 1 เทคนิค ฉะนั้นการหาเทคนิคใหม่ที่ช่วยในการเก็บเกี่ยวเซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยาก มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานน้อย และสามารถเก็บเกี่ยวเซลล์สาหร่ายในระดับอุตสาหกรรมได้ จึงเป็น แนวทางในการลดต้นทุนในกระบวนการเก็บเกี่ยว โดยเทคนิคการตกตะกอนสาหร่ายด้วยการตกตะกอนทางเคมีเป็นเทคนิคหนึ่งที่น่าสนใจในการนำมาใช้เก็บเกี่ยวชีวมวลสาหร่าย
              จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าสาหร่ายขนาดเล็กนั้นมีประโยชน์และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ทางเทคโนโลยีชีวภาพทั้งด้านอุตสาหกรรม ด้านการเกษตร ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการแพทย์ แต่การผลิตในระดับอุตสาหกรรมยังประสบปัญหาในกระบวนการเก็บเกี่ยว ดังนั้นเพื่อหาแนวทางในการลดค่าใช้จ่ายของกระบวนการเก็บเกี่ยวชีวมวลสาหร่ายงานวิจัยชิ้นนี้จึงมุ่งศึกษาการเก็บเกี่ยวชีวมวลของสาหร่ายขนาดเล็ก 3 ชนิด คือ Tetraspora sp. CU2551 ,Chlorella sp. KLSc 59 และ Micratinium sp. KLSc 62 ด้วยวิธีการตกตะกอนทางเคมีโดยใช้สารเคมี 5 ชนิด คือ Aluminium sulfate ,Calcium chloride , Iron(III)chlorid , Poly(diallyldimethylammonium chloride) solution และ Zinc sulfate

Project Members

ปิยากร สุวรรณบูรณ์
PIYAKORN SUWANBOON

#นักศึกษา

Member
พิมพ์ลภัส มหาโกลากุล
PIMLAPAT MAHAKOLAKUL

#นักศึกษา

Member
เชิดศักดิ์ มณีรัตนรุ่งโรจน์
CHERDSAK MANEERUTTANARUNGROJ

#อาจารย์

Advisor

Vote for this Innovation!

Loading...