Back

Effect of Film Coating Substance on Fluorescent Efficiency and Quality of Cucumber seed

ผลของสารก่อฟิล์มร่วมกับสารสกัดคลอโรฟิลล์ต่อประสิทธิภาพการเรืองแสงและคุณภาพของเมล็ดพันธ์ุแตงกวา

@คณะเทคโนโลยีการเกษตร

#KLLC 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
ผลของสารก่อฟิล์มร่วมกับสารสกัดคลอโรฟิลล์ต่อประสิทธิภาพการเรืองแสงและคุณภาพของเมล็ดพันธ์ุแตงกวา

Details

        การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของพอลิเมอร์ที่เหมาะสมในการเคลือบร่วมกับสารสกัดคลอโรฟิลล์และศึกษาคุณภาพของเมล็ดพันธุ์แตงกวาหลังจากการเคลือบด้วยพอลิเมอร์ชนิดต่างๆร่วมกับสารสกัดคลอโรฟิลล์ ดำเนินการทดลองระหว่างเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2566 ถึง มีนาคม พ.ศ.2567 ณ ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ อาคารเจ้าคุณทหาร ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 4 ซ้ำ โดยมี 5 กรรมวิธี คือเมล็ดพันธุ์ที่เคลือบด้วย Polyvinylpyrrolidone, Sodium Alginate, Carboxy Methyl Cellulose, Hydroxypropyl methylcellulose ร่วมกับ chlorophyll (เมล็ดพันธุ์ที่ไม่เคลือบสารเป็นกรรมวิธีควบคุม) จากนั้นเตรียมสารเคลือบโดยสกัด Chlorophyll ที่มีคุณสมบัติในการเรืองแสงในห้องปฏิบัติการ และเตรียมสารเคลือบ โดยใช้ PVP-K30 1 เปอร์เซ็นต์, NaAlg 1 เปอร์เซ็นต์, CMC 1 เปอร์เซ็นต์, HPMC 1 เปอร์เซ็นต์ สารเคลือบทุกชนิดใช้ความเข้มข้น 1 เปอร์เซ็นต์ แล้วจึงนำมาตรวจสอบคุณสมบัติของสารเคลือบแต่ละกรรมวิธี ได้แก่ ความหนืดของสารเคลือบ ความเป็นกรดด่างของสารเคลือบ โดยนำสารเคลือบแต่ละกรรมวิธีที่เตรียมขึ้นมาเคลือบเมล็ดพันธุ์แตงกวา ในอัตราสารเคลือบ 980 มิลลิลิตรต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม นำมาลดความชื้นเมล็ดพันธุ์ให้มีระดับความชื้นเท่ากับระดับความชื้นเริ่มต้นด้วยเครื่องเป่าลมร้อน จากนั้นตรวจคุณภาพเมล็ดพันธุ์ในลักษณะต่างๆ ได้แก่ ความชื้นของเมล็ดพันธุ์ ความงอกของเมล็ดพันธุ์ที่เพาะในสภาพห้องปฏิบัติการ ดัชนีการงอก และการเรืองแสงของเมล็ดพันธุ์ภายใต้เครื่องฉายแสงอัลตราไวโอเลตแบบพกพารวมถึงตรวจสเปกตรัมการคายแสงด้วยเครื่อง Spectrophotometer

Objective

มีการแสวงหาผลประโยชน์จากการค้าเมล็ดพันธุ์โดยการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ปลอมและเมล็ดพันธ์ุที่ไม่ได้มาตรฐาน การเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับสารเรืองแสงสามารถแก้ไขปัญหาการปลอมแปลงเมล็ดพันธุ์ได้ เนื่องจากสามารถสร้างเอกลักษณ์และระบุถึงแหล่งที่มาได้

Project Members

พันธิสา แก้วปัญญา
PANTISA KAEWPANYA

#นักศึกษา

Member
ฟารีดา ใบศลสกุณี
FAREEDA BAISONSAGUNEE

#นักศึกษา

Member
พจนา สีขาว
Potjana Sikhao

#อาจารย์

Advisor

Vote for this Innovation!

Loading...