Back

Development of a Passenger Coach (Thai Make Trains)

การพัฒนารถไฟโดยสารต้นแบบ (รถไฟไทยทำ)

@คณะวิศวกรรมศาสตร์

#Highlight 2024
#Smart City
การพัฒนารถไฟโดยสารต้นแบบ (รถไฟไทยทำ)

Details

กกก

Objective

จากนโยบาย Thai First ของกระทรวงคมนาคมและนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนส่งเสริมให้ใช้ผลิตภัณฑ์สินค้าที่ผลิตในประเทศโดยเฉพาะกับโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านระบบรางของประเทศ ทำให้เกิดการตื่นตัวของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรม เพื่อร่วมกันผลักดันให้นโยบายดังกล่าวเกิดขึ้นและประสบความสำเร็จอย่างเป็น รูปธรรม ทั้งนี้ตัวรถไฟ (Rolling Stock) จัดเป็นแก่นของเทคโนโลยีที่มีความสำคัญในห่วงโซ่คุณค่าของระบบราง ดังจะเห็นได้จากการนำเข้าสินค้าประเภทตัวรถไฟและส่วนประกอบระหว่างปี พ.ศ. 2558 ถึง 2561 ที่มีมูลค่าสูงถึงกว่าร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับมูลค่ารวมของสินค้าทุกประเภทในระบบราง ดังนั้นรัฐบาลนำโดยกระทรวงคมนาคมจึงต้องการส่งเสริมให้เกิดการผลิตและประกอบ ผลิตภัณฑ์สินค้าเทคโนโลยีของระบบรางขึ้นในประเทศ อย่างไรก็ตาม ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยยังขาดผู้ประกอบการที่ทำหน้าที่ผลิตและประกอบรถไฟเป็นธุรกิจหลัก มีเพียง ผู้ประกอบการที่ทำหน้าที่ซ่อมตัวรถไฟตามวาระเท่านั้น เมื่อไม่นานมานี้ คณะนักวิจัยฯ ได้ร่วมกับบริษัทกิจการร่วมค้า ไซโนเจน-ปิ่นเพชร จำกัด ดำเนินการออกแบบและผลิตโบกี้ไฟฟ้ากำลังปรับอากาศจำนวน 8 คัน ซึ่งผ่านการทดสอบใช้งาน ตามข้อกำหนดของการรถไฟแห่งประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว พบว่า การดำเนินการผลิตรถไฟดังกล่าวในประเทศสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายคิดเป็นมูลค่าประมาณร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับการ นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ จากความสำเร็จของการดำเนินโครงการวิจัยที่ผ่านมา ทำให้คณะนักวิจัยมีแนวความคิดในดำเนินการวิจัยและพัฒนาตู้รถไฟโดยสารต้นแบบ (Passenger Coach Prototype) เพื่อนำร่องในการพัฒนายกระดับอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในประเทศให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีสนองตอบต่อความต้องการของผู้ใช้งานและสอดคล้องกับนโยบายส่งเสริม ของภาครัฐที่ประสงค์ให้มีตัวรถไฟที่จะมีการซื้อ-ขายในอนาคตต้องมีส่วนประกอบหรือชิ้นส่วนผลิตในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ภายในปี พ.ศ. 2565 ภายใต้โครงการวิจัยนี้เน้นการทำงานวิจัยเชิงบูรณาการระหว่างมหาวิทยาลัย (สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยนเรศวร และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ) สถาบันวิจัย (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ) และบริษัทเอกชน (บริษัทกิจการร่วมค้า ไซโนเจน-ปิ่นเพชร จำกัด) เพื่อพัฒนารถไฟโดยสาร ต้นแบบที่เป็นไปตามหลักการวิจัยและพัฒนาทางเทคโนโลยี 5 ขั้นตอนหลัก ประกอบด้วย 1) การศึกษาวิจัยความต้องการของผู้ใช้งานและศักยภาพของผู้ผลิต 2) การวิจัยด้านการออกแบบรถไฟ และการจำลองทางคอมพิวเตอร์ 3) การวิจัยเลือกใช้วัสดุและกระบวนการผลิตรถไฟ 4) การวิจัยเชิงวิศวกรรมเพื่อการประกอบตัวรถไฟต้นแบบ และ 5) การทดสอบและการรับรองรถไฟต้นแบบ นอกจากนี้ โครงการวิจัยนี้ ได้วางแผนสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศ (CRRC Tangshan Co., Ltd.) เพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มีความพร้อม (TRL9) ด้านการออกแบบโบกี้ (Bogie Design) การติดตั้งโบกี้ (Bogie Installation) และการซ่อมบำรุงโบกี้(Bogie Maintenance) ซึ่งมีความสำคัญและประเทศไทยยังขาดแคลนองค์ความรู้สำหรับใช้ในการสร้างรถไฟโดยสารต้นแบบ ทั้งนี้ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คือ การยกระดับศักยภาพและขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมในประเทศให้มีความพร้อมรองรับความต้องการในการพัฒนาระบบรางของประเทศภายใต้ นโยบาย “Thai First” ผ่านการวิจัยและพัฒนา โดยหน่วยงานวิจัย/มหาวิทยาลัย ทำหน้าที่ในการนำองค์ความรู้มาใช้ประโยชน์และสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตรถไฟเพื่อนำไป ถ่ายทอดให้กับอุตสาหกรรม ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมทำหน้าที่นำองค์ความรู้ที่ได้จากการดำเนินงานโครงการวิจัยนี้ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้ารถไฟโดยสารเพื่อการธุรกิจ โดยผลิตภัณฑ์สินค้าจะต้องผ่านการทดสอบและรับรองตามมาตรฐานข้อกำหนดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้ภาคอุตสาหกรรมในระบบรางไทยสามารถพัฒนาต่อยอดสร้างผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีมูลค่าสูงได้ และ นำไปสู่การเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไปในอนาคต

Project Members

Somyot Kaitwanidvilai
Somyot Kaitwanidvilai

#อาจารย์

Member
รัฐภูมิ ปริชาตปรีชา
Rattapoohm Parichatprecha

#อาจารย์

Member
อนรรฆพล แสนทน
Anakkapon Saenthon

#อาจารย์

Member
ภาสุ พูนภักดี
Pasu Poonpakdee

#อาจารย์

Member

Vote for this Innovation!

Loading...