Back

The Strength Improvement of Pavement Recycling using fly ash and cement

การปรับปรุงกําลังการรับแรงของการหมุนเวียนวัสดุชั้นทางเดิมมาใช้งานใหม่โดยใช้เถ้าลอยและปูนซีเมนต์

@คณะวิศวกรรมศาสตร์

#KLLC 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
การปรับปรุงกําลังการรับแรงของการหมุนเวียนวัสดุชั้นทางเดิมมาใช้งานใหม่โดยใช้เถ้าลอยและปูนซีเมนต์

Details

A problem that is often encountered when using roads is that they become damaged and dilapidated. Due to the age of use or the reason of carrying a weight exceeding the standard set by law. Resulting in the need for expensive repairs. After that, a process of reusing the old pavement material (Pavement Recycling) occurred. The purpose of this research is to improve the quality of the pavement surface by reusing the hydraulic cement material by using fly ash that is waste from Production process combined with the use of Hydraulic Cement and studying the appropriate ratio of fly ash to improve the quality of the pavement surface in reusing old pavement materials in accordance with the requirements and standards of the Department of Rural Roads. It starts with examining the properties of the materials by testing for the mixed size of aggregates. (Original pavement surface and mixed stone) and testing for the specific gravity of cement and fly ash Then design the ingredient proportions. The proportion of coarse aggregate is the old pavement (70%) and crushed stone (30%). And additional materials were used, Hydraulic Cement (3% of the dry aggregate weight) as well as proportions of fly ash 10%, 20%, and 30%, which can be divided into a total of 8 conditions. Samples tested under each condition were tested for Compaction Test, Unconfined Compressive Strength, Indirect Tension Test and test to determine CBR value. Then the test results of each condition were compared. and find the most suitable ingredients to improve the quality of the pavement by reusing the original pavement materials. Indirect Tension Test and California Bearing Ratio Test, then compare the results of each condition. and find the most suitable ingredients to improve the quality of the pavement by reusing the original pavement materials.

Objective

ระบบการคมนาคมขนส่งในประเทศไทยนั้นมีหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางบก ซึ่งสามารถแบ่งประเภทย่อยได้อีกหลากหลายประเภท เช่น การขนส่งทางรถไฟ การขนส่งทางรถยนต์ การขนส่งทางรถบรรทุกการขนส่งทางจักรยานยนต์นอกจากนี้ยังมีการขนส่งทางน้ำหรือ แม้กระทั่งการขนส่งทางอากาศ ที่สามารถใช้ได้ในปัจจุบัน 
โดยระบบการคมนาคมที่นิยมใช้กันเป็นส่วนใหญ่คือ การคมนาคมทางบกโดยการใช้ถนนเป็นเส้นทางขนส่งหลัก เมื่อถนนถูกใช้งานไปในระยะเวลาหนึ่ง สภาพของถนนก็จะเกิดการชำรุดเสียหายตามระยะเวลาการใช้งานซึ่งอาจเป็นผลเนื่องมาจากการบรรทุกที่เกินมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดไว้และความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้ จำเป็นต้องมีการซ่อมแซมโดยมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมที่ค่อนข้างสูงส่งผลให้เกิดกระบวนการการหมุนเวียนวัสดุชั้นทางเดิมมาใช้ใหม่ (Pavement Recycling)
การหมุนเวียนวัสดุชั้นทางเดิมมาใช้ใหม่ คือ การนำวัสดุชั้นทางเดิมที่ผ่านการใช้งานแล้ว มาทำการปรับปรุงคุณภาพแล้วนำกลับมาใช้ใหม่โดยการปรับปรุงคุณสมบัติของชั้นทางนั้นให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กรมทางหลวงหรือกรมทางหลวงชนบทได้กำหนดไว้ โดยการปรับปรุงชั้นทางนั้นปกติแล้วจะประกอบไปด้วยวัสดุทางเดิม สารผสมเพิ่ม น้ำ วัสดุผสมเพิ่ม เช่น หิน ทราย วัสดุมวลรวม ปูนซีเมนต์ เถ้าลอย แอสฟัลท์ เป็นต้น เป็นองค์ประกอบหลักในการปรับปรุง 
ปัจจุบัน โรงงานผลิตแอสฟัลท์นั้นมีจำนวนมาก เนื่องจากข้อกำหนดของระยะขนส่งจากโรงงานผสมถึงกึ่งกลางของโครงการก่อสร้างต้องมีระยะทางไม่เกิน 80 กิโลเมตร (ทล.-ม. 408/2532) และต้องมีกำลังผลิต (Rated Capacity) ไม่น้อยกว่า 60 ตันต่อชั่วโมง ซึ่งในกระบวนการผสมแอสฟัลท์คอนกรีตนั้นจะมีเถ้าลอยหรือฝุ่นส่วนเกินออกมาเป็นจำนวนมากจากการเผาไหม้ และถูกกักเก็บอยู่ในแบ็คเฮ้าส์ (Baghouse) ซึ่งโดยทั่วไปจะถูกใช้ในการกักเก็บอนุภาคละเอียดขนาดต่างๆ และถูกเก็บอยู่ในเครื่องเก็บฝุ่น (Dust Collector) ส่วนมากแล้วเถ้าลอยนี้ไม่จำเป็นในกระบวนการผสมแอสฟัลท์ ทำให้เถ้าลอยไม่สามารถนำไปใช้ต่อได้ 
คณะผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการนำเถ้าลอยดังกล่าวนี้มาใช้ประโยชน์ในการหมุนเวียนวัสดุชั้นทางเดิมมาใช้ใหม่ โดยควบคุมปริมาณปูนซีเมนต์ในกระบวนการ กำหนดการใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกอยู่ที่ 3% ของน้ำหนักมวลรวม (ผิวทางเก่าผสมหินคลุก) เพื่อเป็นการปรับปรุงคุณภาพชั้นทางเดิมให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น

Project Members

นัทธพงศ์ ธาตุมาศ
NATTHAPONG THATMAS

#นักศึกษา

Member
นิพิฐพนธ์ ครุธเกตุ
NIPHITTHAPHON KRUTKET

#นักศึกษา

Member
จิรกฤต ชูพินิจ
JIRAKIT CHOOPINIT

#นักศึกษา

Member
ศลิษา ไชยพุทธ
Salisa Chaiyaput

#อาจารย์

Advisor
ธนาดล คงสมบูรณ์
THANADOL KONGSOMBOON

#อาจารย์

Co-advisor

Vote for this Innovation!

Loading...