Back
Factors Influencing The Decision to Purchase BYD ATTO 3 Cars and Its Users Satisfaction
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อและความพึงพอใจต่อรถยนต์ไฟฟ้า BYD รุ่น ATTO 3 ของประชากรในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
@คณะบริหารธุรกิจ
#KLLC 2024
#Industry 4.0
Details
The purpose of this research is to study the factors that influence purchasing decisions and satisfaction with the BYD electric car model ATTO 3 among the population in Bangkok and surrounding provinces. By studying demographic factors including gender, age, occupation, educational level. Average monthly income, status, and marketing mix factors (4Ps), including product, price, and distribution channels. and marketing promotion That affects the decision-making behavior of purchasing the BYD ATTO 3 electric car and satisfaction with the BYD ATTO 3 electric car in all 6 factors of the population in Bangkok and surrounding areas. The researcher conducted a survey by using a questionnaire as a data collection tool for a sample of 400 people and screened appropriate sample data for a total of 289 people to analyze the descriptive data using simple statistics. and conduct a comparative analysis between demo graphic and behavioral factors. Factors about satisfaction with the car purchasing decision of users of the BYD electric car model ATTO 3 were also analyzed in ferentially using Two -sample independent t-test, analysis of variance. Kruskal-Wallis (Kruskal-Wallis 1-way ANOVA) and Pearson correlation coefficient analysis.
Objective
ปัจจุบันโลกกำลังประสบปัญหารอบด้านที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต เนื่องจากการขยายตัวของ ประชากร สังคม และเศร ษฐกิจอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการใช้ทรัพยากรเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้ม การใช้เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องทุกปี และก่อให้เกิดผลต่าง ๆ ตามมาอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติพลังงาน เชื้อเพลิงฟอสซิล (น้ำมัน ถ่าน ก๊ซธรรมชาติ มลภาวะทางอากาศ และปัญหาภาวะการเพิ่มขึ้นของก๊าซ เรือนกระจก ซึ่งนำมาสู่ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น เป็นผลให้มนุษย์ต้องเร่งพัฒนานวัตกรรมและทางเลือกใหม่ที่ดีกว่า เพื่อปรับปรุงรูปแบบการดำเนินชีวิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืนแต่ขณะเดียวกันนั้นไม่สามารถหลีกเสี่ยงการเดินทางได้ รถยนต์จึงเป็นพาหนะขับเคลื่อนที่มีความจำอย่างมากในปัจจุบัน เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกและนำพาเราไปสู่จุดหมายปลายทาง รถยนต์มีการออกแบบอย่างชับซ้อนในทางวิศวกรรม โดยใช้น้ำมันช่วยในการขับเคลื่อน ซึ่งน้ำมันเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างหนึ่ง โดยรถยนต์จะมีการเผาไหม้น้ำมันก่อให้เกิดเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หากมีปริมาณมากจะส่งผลให้เกิดภาวะเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อน เพื่อลดปัญหาเหล่านี้ รถยนต์ไฟฟ้าถือเป็นทางเลือกใหม่ที่หลายประเทศเลือกเพื่อเยียวยาปัญหาโลกร้อนและวิกฤติพลังงาน การหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าเป็นการสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกลง เนื่องจากคุณสมบัติของรถยนต์ไฟฟ้าที่ไร้ไอเสียจึงไม่ก่อให้เกิดมลพิษ อีกทั้งมีต้นทุนทางพลังงานต่อหน่วยขับเคลื่อนที่น้อยกว่าการใช้น้ำมัน นอกจากนี้รถยนต์ไฟฟ้ายังมีสมรรถนะ ที่ยอดเยี่ยมจากการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้าที่ทำให้เกิดแรงบิดสูงตั้งแต่เริ่มออกตัวจึงมีความเร่งสูงกว่ารถยนต์ใช้น้ำมัน ในเชิงโครงสร้างนั้นรถยนต์ไฟฟ้ามีส่วนประกอบน้อยชิ้นกว่า มีเพียงแบตเตอรี่ มอเตอร์ไฟฟ้าหน่วยควบคุม และชิ้นส่วนตัวถัง จึงทำให้มีค่าบำรุงรักษาน้อยกว่ารถยนต์ทั่วไป ในปัจจุบันจึงมีผู้หันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประเทศต่าง ๆ มีมาตราการในการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อทดแทนการใช้รถยนต์แบบใช้น้ำมัน มีการคาดการณ์ว่า จำนวนรถยนต์ไฟฟ้า รถบัสไฟฟ้า รถตู้ไฟฟ้า และรถบรรทุกไฟฟ้าบนท้องถนนว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มเป็น 145 ล้านกันภายในปี 2573 แต่หากภาครัฐของประเทศต่าง ๆ ส่งเสริมอย่างจริงจัง ก็อาจเพิ่มขึ้นถึง 230 ล้านกัน ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีหลายประเทศที่ต้องการบรรลุเป้าหมาย เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยลดจำนวนการใช้รถยนต์ที่มีการสันดาปภายในแบบเดิม (สำนักข่าวอินโฟเควสท์. 30 เม.ย: 64) ในประเทศไทยมีการจำหน่ายรถยนต์ระบบไฟฟ้าหลากหลายแบรนด์ และรถยนต์ไฟฟ้าเป็น นวัตกรรมใหม่ล่าสุด ที่ถูกพัฒนามาจากรถยนต์ระบบไฮบริดเพื่อให้สามารถสร้างประโยชน์ได้มากกว่าเพียงแต่ว่าสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ยังไม่สามารถรองรับการใช้งานของรถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างครอบคลุม เช่น จำนวนสถานีชาร์จไฟสำหรับรถยนต์มีไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ราคาของรถยนต์สูงเมื่อเทียบกับรถยนต์ที่ใช้เครื่องสันดาป และการส่งเสริมของภาครัฐยังไม่ ครอบคลุมสำหรับผู้ที่บริ โภครถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งในปัจจุบันการบริ โภครถยนต์ไฟฟ้ามีการเติบโตที่สูงขึ้นรถยนต์ไฟฟ้รุ่นใหม่ ๆ ได้ทยอยเปิดตัวกันมากขึ้น และเนื่องจากที่รถยนต์ไฟฟ้ามีการเติบโตที่มากขึ้น ส่งผลใหมีการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาทางภาครัฐก็สนับสนุนมากขึ้น มีผลต่อการเติบโตของสถานี ชาร์จไฟในประเทศไทยปี 2023 มีการเติบโตขึ้นถึง 1,510 แห่ง และมีอัตราการเติบโตสูงขึ้นเรื่อย ๆ คาด ว่าจะมีเกิน 3,000 สถานีภายใน 4 ปีข้างหน้า เพื่อเป็นการรองรับการใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นของ คนไทย จะเห็นได้ว่าคนไทยเริ่มหันมาสนใจใช้รถยนต์ไฟฟ้มากขึ้น อีกทั้งยังมีแรงสนับสนุนจาก ภาครัฐทำให้ตลาครถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยเติบโตอย่างรวดเร็ว ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในไทยในไตรมาสที่ 3 ของปี พ.ศ. 2565 มียอดขายถึง 59.29 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Global Passenger Electric Vehicle Model Sales Tracker, Counterpoint Research. 2665) โดยรถยนต์ไฟฟ้าจากจีนได้รับความนิยมมากที่สุดเนื่องจากมีราคาไม่แพง รถยนต์ไฟฟ้าจากจีนจึงครองตลาดในไทยมากกว่า 50% (กรมการขนส่ง KKP Research. 2566) บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศจีน BYD สามารถแซงหน้า Tesla โดยยอดขายนั้นขึ้นเป็นอันดับหนึ่งได้เป็นครั้งแรก โดย BYD ขายรถยนต์ไฟฟ้าได้ 641,000 กันในครึ่งแรกของปี 2565 ส่วน Tesla ทำได้ 64,000 คัน ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ BYD แซงหน้า Tesla ได้สำเร็จ สาเหตุมาจากรถยนต์ไฟฟ้า Tesla ผลิตรถยนต์ได้น้อยลงในไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 จากปัญหาซัพพลายเชนและโรงงานที่เซี่ยงไฮ้ประเทศจีนต้องปิดชั่วคราว (ไตรมาส 1 ผลิตได้ 305,407 กัน, ไตรมาส 2 ผลิตได้ 258,580 กัน ลดลง 18%) แต่รถยนต์ไฟฟ้า BYD ก็สามารถเพิ่มยอดขายได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 300% เทียบกับครึ่งแรกของปี 2564 แต่ส่วนใหญ่รถยนต์ไฟฟ้าของ BYD เป็นรถแบบไฮบริดที่มีทั้งไฟฟ้และน้ำมัน เหตุผลหนึ่งที่ BYD ทำได้ดีเนื่องจากมีฐานผลิตอยู่แถบเซินเจิ้น ที่ไม่โดนล็อคคาวน์เหมือนเซี่ยงไฮ้แบบที่ Tesla โดน นอกจากยอดขายรถยนต์ที่มียอดขายพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วแล้ว รถยนต์ไฟฟ้า BYD ยังขึ้นมาเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าอันดับ 2 ของโลก แซงหน้า LG Energy (อันดับหนึ่งคือบริษัทจีน Contemporary Amperex Technology หรือ CATL) (Financial Times, Ars TechnicaX. 2565) ชื่อของ BYD ย่อมาจาก Build Your Dreams เริ่มก่อตั้งธุรกิงในปี พ.ศ. 2538 เมื่อ 27 ปีที่แล้ว โดย Wang Chuanfu ธุรกิจแรกเริ่มของบริษัทคือการผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนให้มือถือแบรนด์ต่าง ๆ อาทิเช่น NOKIA ก่อนจะเข้าสู่ตลาดรถยนต์ในปี พ.ศ. 2546 และเป็นผู้ผลิตรถยนต์ Plug-in Hybrid เจ้าแรก ๆ ในปี พ.ศ. 2551 รวมทั้งก้าวสู่การเป็นผู้ผลิตรถไฟฟ้าระบบราง รถบัสไฟฟ้า รวมถึงรถบรรทุกไฟฟ้าในปี พ.ศ. 2565 BYD ได้ประกาศยกเลิกการผลิตรถยนต์สันดาป และผลิตยานยนต์ไฟฟ้า 100% เป็น "รายแรกของโลก" ขณะที่ในช่วงครึ่งปีแรกของปี พ.ศ. 2565 BYD สามารถทำยอดขายรวมกว่า 640,000 คัน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่รถยนต์สัญชาติจีน แซงหน้า Tesla ขึ้นแท่นอันดับ 1 ของโลกในด้านยอดขายรถยนต์พลังงานใหม่ (New Energy Vehicle) นอกจากนี้ ยังครองความเป็นเจ้าตลาดในจีนด้วยยอดขายอันดับ 1 ถึง 9 ปีช้อน และได้รับกระแสตอบรับจากทั่วโลก ด้วยยอดขายสะสมตั้งแต่ ปี 2562 - 2565 รวม 2,150,859 กัน โดยรถยนต์นั่งรุ่นเรือธงของ BYD ได้แก่ Han EV เริ่มเป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมให้เห็นบนท้องถนนในหลายประเทศและภูมิภาคทั่วโลก ปัจจุบัน BYD ขยายธุรกิจ ไปกว่า 400 เมืองในกว่า 70 ประเทศและภูมิภาค ครอบคลุม 6 ทวีป โดยเป็นองค์กรไฮเทคชั้นนำของโลก ที่มีขอบเขตธุรกิจครอบคลุมด้านอิเล็กทรอนิกส์, พลังงานใหม่. การขนส่งระบบราง และรถยนต์พลังงานใหม่ โดยเป้าหมายของ BYD คือการเปลี่ยนโลกด้วยการสร้าง ระบบนิเวศไร้มลพิษจากพลังงานสะอาด ด้วยวิสัยทัศน์ ที่ว่า "ทำให้โลกเย็นลง 1 องศาเซลเซียส" โดย BYD เป็นผู้นำด้านการคิดค้นแบตเตอรี่แบบใหม่ได้สำเร็จในชื่อ Blade Battery ที่ใช้ Lithium Iron Phosphate (LFP) ซึ่งผ่านการ ทดสอบมาตรฐานด้วยวิธี Nail Penetration Test สามารถ แสดงให้เห็นว่ามีมาตรฐานความปลอดภัยสูงกว่าแบตเตอรี่ ชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะในกรณีที่แบตเตอรี่ ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง ด้วยลักษณะที่คล้ายกับใบมีด ทำให้มีความบาง และรูปทรงที่ยาวกว่าแบตเตอรี่ทั่วไป จึงมีพื้นผิวในการระบายความร้อนได้อย่างรวดเร็วกว่าเซลล์แบตเตอรี่แบบก้อน สี่เหลี่ยม ซึ่งเมื่อเกิดเหตุลัดวงจรภายในเซลล์แบตเตอรี่จะไม่กระทบต่อเซลล์อื่น ๆ ทำให้ไม่เกิดการลัดวงจรไฟฟ้าแบบต่อเนื่อง นอกจากนี้ Blade Battery ยังสามารถใช้เป็นหนึ่งในวัสดุเสริมโครงสร้างเพื่อความแข็งแกร่งให้กับตัวรถอีกด้วย ประเทศไทยได้มีการนำเข้ารถยนต์ BYD รุ่น ATT03 มาจัดจำหน่ายภายในประเทศ ซึ่งเป็นรถยนต์ BYD รุ่น ATTO 3 เป็นรถยนต์แบบยกสูง หรือประเภทรถที่มีความอเนกประสงค์ ประโยชน์ใช้สอยมากกว่ารถยนต์ทั่ว ๆ ไป แต่ยังคงความสปอร์ต และความสวยงาม หรือรถยนต์ประเภท SUV โดยมีขนาดตัวถังอยู่ที่ ความยาว : 4.455 มิลลิเมตร ความกว้าง : 1,87 มิลลิเมตร ความสูง : 1,615 มิลลิเมตร ขับเคลื่อนล้อหน้า ด้วยมอเตอร์ Permanent Magnet Synchronous Motor มีพละกำลังสูงสุด 204 แรงม้า (PS) แรงบิดสูงสุด 310 นิวต้นเมตร พ่วงด้วยแบตเตอรี่ BYD Blade Battery ความจุ 60.48 kWh ขับเคลื่อนล้อหน้า ระยะทางวิ่งสูงสุดต่อการชาร์ อยู่ที่ 48 กิโลเมตรตามมาตรฐานการใช้งานของยุโรป NEDC มีอัตราเร่งจาก 0 - 100kn/h อยู่ที่ 7.3 วินาที แรงบิดสูงสุด 310 นิวตันเมตร ตัวรถชาร์จด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เป็นหัวชาร์จแบบ Type 2 อีกทั้งรองรับการชาร์จด้วยไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ด้วยหัวชาร์จประเภท CCS2 สามารถรองรับการชาร์จได้สูงสุดถึง 80 kw มีระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ (ADAS) คือ ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบแปนผันทุกความเร็ว, ระบบเบรกอัตโนมัติด้านหน้า, ระบบเตือนการ ชนด้านหน้า, ระบบเตือนการ ชนด้านหลัง, ระบบแจ้งเตือนมุมอับสายตาด้านข้าง, ระบบเตือนมีเมื่อรถวิ่งเข้ามาขณะเปิดประตู, ระบบเตือนเมื่อออกนอกเลน, ระบบรักษารถให้อยู่ในเลน, ระบบเตือนเมื่อมีรถวิ่งเข้ามาขณะถอยหลัง, ระบบช่วยเบรกอัตโนมัติเมื่อเสียงต่อการชนด้านหลัง แบบเต็มระบบ เมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์ที่ใช้มันและรถยนต์พลังงานผสม (HYBRID) ในท้องตลาด คือกลุ่ม Crossover SUV เช่น Toyota Corolla Cross, Honda HR-V, Mazda CX-30 เป็นต้น ซึ่งเป็นคู่แข่งที่มีขนาดตัวถังใกล้เคียงกัน อีกทั้งยังจำหน่ายในราคาที่ใกล้เคียงกัน เป็นผลให้ BYD มีการตอบรับที่ดีอย่างยิ่งจากลูกค้าในประเทศไทย จากเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อและความ พึงพอใจรถยนต์ไฟฟ้า BYD รุ่น ATTO 3 ของประชากรในเขตกรุงเทพและปริมณฑล เนื่องจากผู้วิจัยมีความตั้งใจที่จะสนับสนุนรถยนต์ระบบไฟฟ้า (EV ให้มีปริมาณที่เพิ่มขึ้นและลดจำนวนรถยนต์ใช้ เครื่องยนต์สันดาปภายในให้น้อยลง โดยวิวัฒนาการของรถยนต์ได้ปรับพฤติกรรมของคนไปตามลำดับขั้น เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงจากรถยนต์ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในไปเป็นรถยนต์ระบบไฮบริด (HYBRID) และในปัจจุบันรถยนต์ระบบไฟฟ้า (EV) ได้เริ่มเข้ามาเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภค เพื่อลดการปล่อยมลพิษน้อยลงจนถึงไม่ปล่อยมลพิษเลย ทำให้การทำลายสิ่งแวดล้อมลดลงด้วย และตลาดรถยนต์ไฟฟ้าที่เดิบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งนโยบายทางรัฐบาลที่มีการสนับสนุน
Project Members
สุพิชญา บุญทอง
SUPITCHAYA BOONTHONG
#นักศึกษา
Member
ภาณุวิชญ์ แป้นน้อย
PANUWICH PANNOI
#นักศึกษา
Member
ปณีตา ยิ้มมาก
PANEETA YIMMAK
#นักศึกษา
Member
ชลธิชา แก้วหล่อน
CHOLTHICHA KAEWLON
#นักศึกษา
Member
นภัสสร ศิลาลาย
NAPASSORN SILALAI
#นักศึกษา
Member
ภัทรธิรา หมุดธรรม
PHATTHIRA MUDTHAM
#นักศึกษา
Member
เดือนเต็มดวง ณ
deuntemduang na-chiengmai
#อาจารย์
Advisor
ปรเมศร์ อัศวเรืองพิภพ
Poramate Asawaruangpipop
#อาจารย์
Co-advisor
Vote for this Innovation!
Loading...
Powered By KMITL Innovation Project