Back

Development of experimental set and protective relays of transmission line systems

การพัฒนาชุดทดลองและรีเลย์ป้องกันระบบสายส่งไฟฟ้า

@คณะวิศวกรรมศาสตร์

#KLLC 2024
#Industry 4.0
การพัฒนาชุดทดลองและรีเลย์ป้องกันระบบสายส่งไฟฟ้า

Details

This thesis presents the development of an experimental kit and relay protection system for power transmission lines. Ensuring the safety and minimizing risks in the electrical power transmission process is crucial. The transmission of electrical power is often done in a single-circuit, single-conductor configuration, especially in overhead transmission lines. To address the need for a secure system, experiments were conducted using a laboratory setup and computer simulations.

Two specific conditions were simulated in this research: the distance at which faults occur and the types of faults that may occur. The ABB RET615 relay, designed for protective purposes, was employed in the experimental setup to enhance the functionality and efficiency of the developed test kit.

The goal of this thesis is to accurately and effectively model power transmission line conditions, providing a reliable experimental platform for testing and improving relay protection systems. The integration of the ABB RET615 relay ensures that the protective measures are implemented correctly, enhancing the overall safety and reliability of the power transmission system.

Objective

ระบบไฟฟ้าในปัจจุบันมีความสำคัญต่อมนุษย์เราเป็นอย่างมากทั้งในด้านเศรษฐกิจและด้านอุตสาหกรรม ประเทศไทยมีค่าความต้องการพลังงานไฟฟ้ามีแนวโน้วที่จะสูงขึ้นทุกปีจึงจำเป็นต้องสร้างการผลิตและโรงงานไฟฟ้ามากขึ้นเพื่อในเพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งการขยายตัวของระบบไฟฟ้านำปัญหาในการจัดการของระบบไฟฟ้ามีความยุ่งยากและซับซ้อน ด้วยเหตุนี้สายส่งกำลังไฟฟ้าจึงมีความสำคัญต่อระบบส่งกำลังไฟฟ้าเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นระบบไฟฟ้าควรมีความน่าเชื่อถือสูง มีเสถียรภาพในการทำงานและมีการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าในระบบส่งจ่ายไฟฟ้าในอัตราที่ต่ำเหตุขัดข้องในระบบไฟฟ้าซึ่งจะทำให้เกิดไฟฟ้าดับบางส่วนหรือไฟฟ้าดับทั้งระบบเป็นระยะเวลายาวนานหรือเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เป็นเรื่องที่การไฟฟ้าไม่ต้องการให้เกิดขึ้นเพราะทุกครั้งที่ไฟฟ้าดับ ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์กับผู้ใช้ไฟฟ้า และอาจทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าในระบบเกิดความเสียหายได้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาและการวิเคราะห์ความผิดพร่อง (Fault) ประเภทต่างๆที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นในระบบไฟฟ้าได้และเพื่อออกแบบระบบป้องกันปัญหาได้อย่างเหมาะสม  ในการออกแบบและการใช้งานระบบไฟฟ้าแรงดันสูง จึงควรคำนึงถึงความปลอดภัยของอุปกรณ์ทั้งหมดที่ถูกติดตั้งในระบบไฟฟ้าเป็นอย่างดี เพราะทุกครั้งที่เกิดความผิดพร่องในระบบไฟฟ้า จะหมายถึงการเกิดความเสี่ยงที่อุปกรณ์ต่างๆจะเกิดความเสียหายและมีอายุการใช้งานของอุปกรณ์ลดลง โดยความผิดพร่องในระบบส่งกำลังไฟฟ้าเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น การเกิดแรงดันเกิน สายส่งตัวนำพาดกัน เป็นต้น ดังนั้นจึงต้องสร้างชุดทดลองเพื่อทดสอบกระแสลัดวงจร เพื่อศึกษาพฤติกรรมของ กระแสลัดวงจรที่เกิดขึ้น เพื่อหาวิธีป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น และการป้องกันอุปกรณ์ในระบบ เพื่อให้มีความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้น และไม่เกิดความเสียหายแก่อุปกรณ์ การป้องกันอุปกรณ์ในระบบที่ใช้รีเลย์ป้องกันส่วนใดส่วนหนึ่งของสายส่ง ปัจจุบันระบบสายส่งไฟฟ้าแรงดันสูงนั้นมีความสำคัญในการส่งผ่านกำลังไฟฟ้าในระบบและมีความ อันตรายอย่างมาก ซึ่งไม่สามารถศึกษาปัญหาต่าง ๆ ของระบบได้โดยตรงจึงใช้แบบจำลองต่างๆในการจำลองระบบสายส่งไฟฟ้าและการเกิดความผิดพร่องในระบบ
ตัวอย่างโปรแกรมที่มีการใช้งานทั่วไป ได้แก่ 1.PSCAD 2.Typhoon HIL Control Center จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่า การศึกษาและวิเคราะห์ความผิดพร่องในระบบส่งกำลังไฟฟ้า จะใช้ การจำลองจากโปรแกรม (Simulation) เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการจำลองจากโปรแกรม (Simulation) จะเหมือนกับการวิเคราะห์ทางทฤษฎี หรือวิเคราะห์แบบอุดมคติ แต่เมื่อมีการสร้างแบบจำลองระบบส่ง กําลังไฟฟ้าขึ้นมา เพื่อศึกษาการจ่ายโหลดและความผิดพร่องที่เกิดขึ้นในระบบไฟฟ้าจริง ๆ ทำให้ผู้ที่ศึกษามี ความรู้ทั้งทางด้านทฤษฎีและความรู้ทางด้านปฏิบัติ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากระบบการศึกษาหรือการทำงานล้วนแต่ต้องการบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านทฤษฎีและสามารถปฏิบัติงานได้จริง ดังนั้นชุดทดลองการลัดวงจรในระบบส่งกำลังไฟฟ้าจึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ผู้ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของกระแสลัดวงจรเข้าใจ และมองเห็นภาพได้มากขึ้น เพื่อประโยชน์ในการป้องกันระบบกำลังไฟฟ้า, บริภัณฑ์ไฟฟ้า และการพัฒนา ระบบกำลังไฟฟ้าของประเทศให้มีคุณภาพ และมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

Project Members

ภัสวัลย์ อิ่นคำชัยศิริ
PASSAVAN INKUMCHAISIRI

#นักศึกษา

Member
วราลี สิทธิไตรย์
WARALEE SITTITRAI

#นักศึกษา

Member
ศุภโชติ แสงเงิน
SUPPACHOT SANGNGRON

#นักศึกษา

Member
อัจฉริยนันท์ ไวกสิกรณ์
ATCHARIYANAN WAIKASIKORN

#นักศึกษา

Member
อรรถพล เง่าพิทักษ์กุล
ATTHAPOL NGAOPITAKKUL

#อาจารย์

Advisor

Vote for this Innovation!

Loading...